แนวคิดและวิธีการศึกษาประวัติศาสตร์ของ ฉลอง สุนทราวาณิชย์
Main Article Content
บทคัดย่อ
ฉลอง สุนทราวาณิชย์ เป็นส่วนหนึ่งในการเคลื่อนไหวของนักวิชาการรุ่นหลังทศวรรษ 2510 ที่ร่วมกันตั้งคำถามต่อประวัติศาสตร์ชาตินิยมไทย การเติบโตมาพร้อมกับกระแสการศึกษาในเชิงประวัติศาสตร์นิพนธ์ ทำให้เขาเห็นว่าการศึกษาทางประวัติศาสตร์มิได้เป็นการมุ่งค้นหาความจริงในอดีตเพียงมิติเดียว หากแต่จะต้องตระหนักถึงความสำคัญของบริบทเงื่อนไขต่าง ๆ ที่มีอิทธิพลต่อการกระทำและความคิดของมนุษย์ในแต่ละช่วงเวลาด้วย หน้าที่สำคัญอย่างหนึ่งของนักประวัติศาสตร์ก็คือ การแกะรอยเบื้องหลังทางความคิดที่ซ่อนอยู่ในงานเขียนหรือหลักฐานทางประวัติศาสตร์ด้วยมุมมอง ที่มีต่อการศึกษาวิชาประวัติศาสตร์ดังกล่าว ทำให้ ฉลอง สุนทราวาณิชย์ ให้ความสำคัญกับการวิพากษ์หลักฐาน โดยเน้นว่าผู้ศึกษาประวัติศาสตร์จะต้องค้นหาหลักฐานที่หลากหลายและกว้างขวาง ระมัดระวังต่ออคติของผู้บันทึกหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ประเมินคุณค่า ตรวจสอบ และเปรียบเทียบหลักฐานจากหลายแหล่ง เพื่อที่จะทำให้ผู้ศึกษาประวัติศาสตร์ได้ภาพที่ใกล้เคียงความเป็นจริงที่สุด ส่วนความสนใจของฉลอง สุนทราวาณิชย์ ได้แก่การวิพากษ์วิจารณ์เพื่อทำลายความศักดิ์สิทธิ์ชอบธรรมของการเขียนประวัติศาสตร์กระแสหลัก พร้อม ๆ ไปกับผลักดันให้เกิดศึกษาประวัติศาสตร์ของสังคม ที่เน้นการแสดงให้เห็นความเปลี่ยนแปลงในวิถีชีวิตประจำวันของสามัญชน แต่ทั้งนี้ก็ไม่ได้ปฏิเสธแนวทางการศึกษาแบบหลังสมัยใหม่ ที่มุ่งรื้อสร้างการสถาปนาอำนาจครอบงำผ่านกระบวนการสร้างวาทกรรมแบบต่าง ๆ แต่อย่างใด
Article Details
ลิขสิทธิ์บทความเป็นของผู้เขียนและสงวนสิทธิ์ตามกฎหมาย
ข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฏในวารสารนี้เป็นของผู้เขียน คณะกรรมการวารสาร ภาควิชาประวัติศาสตร์ฯ กองบรรณาธิการ ตลอดจนกรรมการกลั่นกรองประจำฉบับ ไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องกับข้อคิดเห็นเหล่านั้น
References
กอบเกื้อ สุวรรณทัต-เพียร. “การศึกษาประวัติศาสตร์ของสกุลดำรงราชานุภาพ.” ใน ประวัติศาสตร์และนักประวัติศาสตร์ไทย, บรรณาธิการโดย ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และสุชาติ สวัสดิ์ศรี, 27-61. กรุงเทพฯ: สังคมศาสตร์ปริทัศน์, 2519.
ฉลอง สุนทราวาณิชย์. “วิวัฒนาการการเขียนประวัติศาสตร์ไทย จากเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ ถึง สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ: ศึกษาเปรียบเทียบพระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 2.” ใน ประวัติศาสตร์และนักประวัติศาสตร์ไทย, บรรณาธิการโดย ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และสุชาติ สวัสดิ์ศรี, 62-94. กรุงเทพฯ: สังคมศาสตร์ปริทัศน์, 2519.
________. “ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศรุสเซียและประเทศไทยตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สาขาวิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2516.
________. รุสเซีย-ไทย สมัยรัชกาลที่ 5-6. กรุงเทพฯ: สร้างสรรค์, 2518.
________. “ความเชื่อเรื่องพระศรีอาริย์และกบฏผู้มีบุญในภาคอีสาน: ข้อสังเกตเบื้องต้นว่าด้วยอุดมการณ์และผู้นำ.” ใน ความเชื่อพระศรีอาริย์และกบฏผู้มีบุญในสังคมไทย, บรรณาธิการโดย พรเพ็ญ ฮั่นตระกูล และอัจฉราพร กมุทพิสมัย, 22-32. กรุงเทพฯ: สร้างสรรค์, 2527.
________. “บทวิจารณ์บทความ “ฝรั่งเศสและคลองกระ.” เอกสารประกอบการประชุมวิชาการเรื่อง 300 ปี ความสัมพันธ์ไทย-ฝรั่งเศส” การประชุมวิชาการเรื่อง 300 ปี ความสัมพันธ์ไทย-ฝรั่งเศส, ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 14-15 ธันวาคม 2527.
________. “สถานะของการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่น.” วารสารเศรษฐศาสตร์การเมือง 5, ฉ.3-4 (เมษายน-กันยายน 2529): 53-63.
________. “สัมพันธภาพไทย-ลาวเชิงประวัติศาสตร์ก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 20.” ศิลปวัฒนธรรม 8, ฉ.1 (พฤศจิกายน 2529): 142-155.
________. “การศึกษาเปรียบเทียบในทางประวัติศาสตร์.” รัฐศาสตร์สาร 15, ฉ.1 (2532): 1-21
________. “งานเขียนประวัติศาสตร์ของคนพื้นเมืองเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคน้ำสมัยจารีต: “หน้าที่” ของอดีตและ “การรับรู้อดีต” ของคนพื้นเมือง.” ใน “เอกสารประกอบการประชุมสัมมนาทางวิชาการเรื่อง “เอเชียตะวันออกเฉียงใต้: คาบสมุทรและกลุ่มเกาะ.” การประชุมสัมมนาทางวิชาการเรื่อง “เอเชียตะวันออกเฉียงใต้: คาบสมุทรและกลุ่มเกาะ”, ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ, 23-28 มิถุนายน 2535.
________. “สถานภาพการศึกษาด้านประวัติศาสตร์: รายงานการสำรวจเบื้องต้นจากวิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ พ.ศ.2515-2534.” วารสารอักษรศาสตร์ 24, ฉ.2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2535): 1-15.
________. “การศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่น.” วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 4, ฉบับพิเศษ. (2536): 18-24.
________. “สถานภาพความรู้ทางประวัติศาสตร์ของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไทย.” รายงานการวิจัยเสนอต่อสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.). 2541, 90.
________. “บทวิจารณ์อานันท์ กาญจนพันธุ์ “สังคมไทยตามความคิดและความใฝ่ฝัน ในงานของอาจารย์ฉัตรทิพย์ นาถสุภา.” ใน 60 ปี ฉัตรทิพย์ นาถสุภา, บรรณาธิการโดย ผาสุก พงษ์ไพจิตร. 229-245. กรุงเทพฯ: ศูนย์ศึกษาเศรษฐศาสตร์การเมือง, 2544.
________. “พงสาวะดานลาว ของ มหาสิลา วีระวงศ์.” ใน จักรวาลวิทยา: บทความเพื่อเป็นเกียรติแก่ นิธิ เอียวศรีวงศ์, บรรณาธิการโดย ธเนศ วงศ์ยานนาวา, 6-7. กรุงเทพฯ: มติชน, 2549.
________. ไร้สาระ: บางส่วนของบันทึกและงานเขียนอันปราศจากคุณค่าและไม่สมควรรำลึกจดจำในช่วงชีวิต 43 ปีเศษๆ ในจุฬาฯ. กรุงเทพฯ: ศอฉ.ศูนย์อำนวยการการเกษียณอายุการทำงานของอาจารย์ฉลอง, 2553.
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ, และ สุชาติ สวัสดิ์ศรี, บรรณาธิการ. ประวัติศาสตร์และนักประวัติศาสตร์ไทย. กรุงเทพฯ: สังคมศาสตร์ปริทัศน์, 2519.
ธงชัย วินิจจะกูล. “กุ ลอบ ลอก แต่งแบบไพร่ๆ: ความผิดของ ก.ศ.ร.กุหลาบที่ตัดสินโดยนักประวัติศาสตร์อำมาตย์.” ใน เจ้าพ่อ ประวัติศาสตร์ จอมขมังเวทย์, บรรณาธิการโดย ธนาพล ลิ่มอภิชาต และสุวิมล รุ่งเจริญ. 119. กรุงเทพฯ: สยามปริทัศน์, 2558.
ธนาพล ลิ่มอภิชาต, และ สุวิมล รุ่งเจริญ, บรรณาธิการ. เจ้าพ่อ ประวัติศาสตร์ จอมขมังเวทย์. กรุงเทพฯ: สยามปริทัศน์, 2558.
นิธิ เอียวศรีวงศ์. “สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพกับอาร์โนลด์ ทอยน์บี.” ใน ประวัติศาสตร์และนักประวัติศาสตร์ไทย, บรรณาธิการโดย ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และ สุชาติ สวัสดิ์ศรี. 208-244. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ประพันธ์สาส์น, 2519.
นินิเมียนต์. พม่ากับการต่อต้านจักรวรรดินิยมอังกฤษ ค.ศ.1885-1895. แปลโดย ฉลอง สุนทราวาณิชย์. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 2543.
พรเพ็ญ ฮั่นตระกูล, และ อัจฉราพร กมุทพิสมัย, บรรณาธิการ. ความเชื่อพระศรีอาริย์และกบฏผู้มีบุญในสังคมไทย. กรุงเทพฯ: สร้างสรรค์. 2527.
สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ. “แกะรอยประวัติศาสตร์นิพนธ์ของฉลอง สุนทราวาณิชย์.” ใน เจ้าพ่อ ประวัติศาสตร์ จอมขมังเวทย์. บรรณาธิการโดย ธนาพล ลิ่มอภิชาต และสุวิมล รุ่งเจริญ. 15-40. กรุงเทพฯ: สยามปริทัศน์. 2558.
ฉลอง สุนทราวาณิชย์, สัมภาษณ์โดย ณัฐพงษ์ สกุลเลี่ยว, ม.ป.ท, 3 มีนาคม 2563.
________. สัมภาษณ์โดย ณัฐพงษ์ สกุลเลี่ยว, ม.ป.ท, 2559.
Chalong Soontravanich. “Small Arms, Romance, Crime and Violence in Post WW II Thai Society.” Southeast Asian Studies 43, No. 1 (2005): 26-46.
________. “The Regionalization of Local Buddhist Saints: Amulets, Crime and Violence in Post-World War II Thai Society,” SOJOURN: Journal of Social Issues in Southeast Asia 28, No. 2 (2013): 179-215.