ปัจจัยแห่งความสำเร็จของธนาคารกรุงเทพ: พ.ศ. 2487 - 2523

Main Article Content

ปัทวี แดงโกเมน

บทคัดย่อ

ธนาคารกรุงเทพก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2487 ภายหลังการก่อตั้งได้ 4 ปี ธนาคารก็ประสบปัญหาการขาดสภาพคล่องทางการเงิน นายชิน โสภณพนิช ได้รับมอบหมายให้แก้ไขปัญหาโดยอาศัยการสร้างสายสัมพันธ์กับอำนาจทางการเมือง ทำให้ธนาคารกรุงเทพเติบโตอย่างรวดเร็วและกลายเป็นธนาคารที่มีสินทรัพย์รวมมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในปี 2523 อย่างไรก็ตาม นอกจากปัจจัยทางด้านการเมืองแล้ว ยังมีปัจจัยอื่นที่เกื้อหนุนต่อความสำเร็จของธนาคาร เช่น การขยายสาขาทั้งในและต่างประเทศ โดยเฉพาะหลัง พ.ศ. 2504 ภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจของรัฐบาล   จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ธนาคารกรุงเทพขยายสาขาในต่างจังหวัดจนกลายเป็นธนาคารที่มีจำนวนสาขาและระดมเงินฝากได้มากที่สุด และเป็นธนาคารแรกที่อำนวยสินเชื่อให้กับเกษตรกร นอกจากนี้ ธนาคารกรุงเทพยังมีบุคลากรที่มีความสามารถสูง บุคลากรคนสำคัญของธนาคารกรุงเทพหลายคนได้เข้าไปมีบทบาททางการเมืองและเศรษฐกิจไทย ทำให้ธนาคารกรุงเทพสามารถดำรงสถานะความเป็นผู้นำด้านการธนาคารระหว่างประเทศ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

พระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505

เกริกเกียรติ พิพัฒน์เสรีธรรม. วิวัฒนาการของระบบธนาคารพาณิชย์ไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2536.

จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์, “สุนทรพจน์ในพิธีเปิดปฐมนิเทศงานพัฒนาการท้องถิ่น,” 24 ตุลาคม 2503 ใน ประมวลสุนทรพจน์, เล่ม 1.

ชนินทร์ พิทยาวิวิธ. ประวัติและวิวัฒนาการธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: อักษรโสภณ, 2551.

ธนาคารกรุงเทพ จำกัด. ก่อนจะถึง…วันนี้ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (หนังสืออนุสรณ์ในโอกาสเปิดอาคารสำนักงานใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด 16 กุมภาพันธ์ 2525).

ธนาคารกรุงเทพ จำกัด, 50 ปี บัวหลวง (หนังสืออนุสรณ์ในโอกาสครบรอบ 50 ปี ธนาคารกรุงเทพ จำกัด พ.ศ. 2537).

นาวี รังสิวรารักษ์. ฝันและหวังของ บุญชู โรจนเสถียร: ซาร์เศรษฐกิจผู้ยิ่งใหญ่. กรุงเทพฯ: ธารอักษร, 2545.

พรรณี บัวเล็ก. วิเคราะห์นายทุนธนาคารพาณิชย์ของไทย พ.ศ. 2475 - 2516. กรุงเทพฯ: สร้างสรรค์ และสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529.

อภิชาต สถิตนิรามัย. รัฐไทยกับการปฏิรูปเศรษฐกิจ: จากกำเนิดทุนนิยมนายธนาคารถึงวิกฤตเศรษฐกิจ. นนทบุรี: ฟ้าเดียวกัน, 2556.

Paul Sithi-Amnuay. Finance and Banking in Thailand: A Study of the commercial Banking System, 1888 - 1963. Bangkok: Thai Watana Panich, 1964.

Silcock, T. H. Money and Banking, from Thailand Social and Economic Studies in Development. Canberra: Australian National University, 1966.

รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์, “ธนาคารพาณิชย์: ปลิงดูดเลือดสังคมไทย?,” สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ 12, ฉ. 6 (มิถุนายน 2517): 31-56.

จำรอง ศักดิ์ดี. “วิเคราะห์ผลการให้สินเชื่อเพื่อการเกษตรของธนาคารกรุงเทพ จำกัด ในท้องที่อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน ตั้งแต่ พ.ศ. 2507 - 2508.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, คณะเศรษฐศาสตร์สหกรณ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2510.

ไชยเชษฐ์ อดุลยพิเชษฐ์. “วิเคราะห์ผลการให้สินเชื่อการเกษตรของธนาคารกรุงเทพ จำกัด ในท้องที่อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, คณะเศรษฐศาสตร์สหกรณ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2510.

นินนาท สินไชย. “สหรัฐอเมริกากับการเปลี่ยนแปลงแนวนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจของไทย ในสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์: ศึกษาผลกระทบที่มีต่อโครงสร้างความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ ทุนเอกชนในประเทศและทุนเอกชนต่างประเทศ.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545.

ประสิทธิ์ อิฐรัตน์. “ผลการให้สินเชื่อเพื่อการเกษตรของธนาคารกรุงเทพ จำกัด ในอำเภอหนองจอก จังหวัดพระนคร ปี พ.ศ. 2508.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, คณะเศรษฐศาสตร์สหกรณ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2511.

วิภาวี สุวิมลวรรณ. “อุดมคติทางธุรกิจของผู้ประกอบการไทยเชื้อสายจีน: กรณีศึกษากลุ่มผู้นำหอการค้าจีน (พ.ศ. 2488 - 2540).” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2559.