หมอลำต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย (ปลายทศวรรษ 2490 ถึงต้นทศวรรษ 2520)

Main Article Content

สุรศักดิ์ สาระจิตร์

บทคัดย่อ

“หมอลำ” เป็นศิลปะพื้นบ้านที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย โดยในช่วงสงครามเย็น รัฐบาลได้ใช้ประโยชน์จากศิลปะพื้นบ้านดังกล่าวนี้เป็นเครื่องมือปฏิบัติการด้านจิตวิทยาในการต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์ในภาคอีสาน สำนักข่าวสารอเมริกัน (United State Information Service - USIS) มีบทบาทสำคัญอย่างมากในการสนับสนุนให้รัฐบาลไทยใช้หมอลำในการต่อต้านคอมมิวนิสต์ ระหว่างปลายทศวรรษ 2490 - ต้นทศวรรษ 2520 รัฐบาลมีวิธีการดำเนินงานที่แตกต่างกันตามแต่ละสมัย โดยมีโลกทัศน์ที่สะท้อนผ่านกลอนลำของรัฐบาลได้แสดงให้เห็นว่า ชาวอีสานรับรู้เกี่ยวกับประชาธิปไตยในทางบวก ซึ่งแตกต่างกับคอมมิวนิสต์ที่เป็นไปในทางลบ อย่างไรก็ตาม โลกทัศน์ในกลอนลำของกลุ่มคอมมิวนิสต์กลับเข้ากันได้กับวิถีชีวิตที่แท้จริงของชาวอีสานได้มากกว่ากลอนลำของรัฐบาล

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

เอกสารชั้นต้น

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. มท0201.2.1.24/14 เรื่องการอบรมวิทยาการว่าด้วยสงครามจิตวิทยาเป็นพิเศษในภาค 1-9 พ.ศ. 2498-2499.

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. มท0201.2.1.43/227 เรื่องอบรมวิทยาการว่าด้วยสงครามจิตวิทยา. พ.ศ. 2499.

สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. สร.0403/4993. เรื่องการดำเนินงานด้านข่าวสารอันเกี่ยวกับความช่วยเหลือจากยูซิส (23 เมษายน พ.ศ. 2513).

หนังสือและบทความในหนังสือ

กองวรรณคดีประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. การละเล่นพื้นเมืองภาคอีสาน (หมอลำ-หมอแคน). กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, 2521.

ขุนพรมประศาสน์. คำกลอนพากย์อีสาน บรรยายรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม. พระนคร: โรงพิมพ์ไทยเขษม, 2478.

จุมพล รอดคำดีและคณะ. รายงานผลการวิจัยเรื่องการสำรวจสื่อพื้นเมืองในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. กรุงเทพฯ: ภาควิชาสื่อสารมวลชน คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527.

จารุวรรณ ธรรมวัตร. รายงานการวิจัยเรื่องบทบาทของหมอลำต่อสังคมอีสานในช่วงกึ่งศตวรรษ. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสานมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2528.

ชิต วิภาสธวัส. เผ่าสารภาพ (บุรุษเหล็กแห่งเอเชีย). พระนคร: แพร่พิทยา, 2503.

ณัฐพล ใจจริง. ขุนศึก ศักดินา และพญาอินทรี : การเมืองไทยภายใต้ระเบียบโลกของสหรัฐอเมริกา 2491-2500. นนทบุรี: ฟ้าเดียวกัน, 2563.

ณัฐพล ใจจริง. ขอฝันใฝ่ในฝันอันเหลือเชื่อ: ความเคลื่อนไหวของขบวนการปฏิปักษ์ปฏิวัติสยาม (พ.ศ. 2475 – 2500). นนทบุรี: ฟ้าเดียวกัน, 2556.

บุษกร บิณฑสันต์ และขำคม พรประสิทธิ์. หมอลำ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย, 2553.

ไพบูลย์ แพงเงิน. กลอนลำภูมิปัญญาของอีสาน. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์, 2534.

สุริยา สมุทคุปติ์และคณะ. คนซิ่งอีสาน : ร่างกาย กามารมณ์ อัตลักษณ์ และเสียงสะท้อนของคนทุกข์ในหมอลำซิ่ง. นครราชสีมา: ห้องไทยศึกษานิทัศน์ สาขาวิชาศึกษาทั่วไป สำนักวิชาเทคโนโลยีสังคม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี, 2544.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. สรุปรายงานผลการสำรวจวิทยุและโทรทัศน์: ทั่วราชอาณาจักร พ.ศ. 2511-2512. กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี, 2512.

Business Research Limited. USIS-USOM Communication Evaluation. Bangkok: Research Division USIS, 1959.

Francis Cripps. The Far Province. London: Hutchinson, 1965.

James R. Brandon. Theatre in Southeast Asia. United State: Harvard University Press, 1967.

Radio Listening in Northeast Thailand. Bangkok: USIS Business Research, 1968.

Summary Report: Survey of Radio Listeners in Four Towns in Northeast Thailand. Bangkok: RRO-USIS, 1962.

Terry E. Miller. Traditional Music of the Lao: Kean playing and Mawlum singing in Northeast Thailand. United State: Greenwood, 1985. Print.

The Research Office of the United State Information Service. Northeast Media Survey 1964. Bangkok: USIS/Research Division, 1965.

The Agency for International Development USOM/Thailand. USIS–Thailand. Bangkok: Thai-American Audiovisual Service. 1964.

USIS Program in Thailand. Bangkok: USIS, 1966.

บทความวารสาร

คณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านจิตวิทยา, อัญชลี มณีโรจน์ (แปล). “แผนยุทธศาสตร์ด้านจิตวิทยาของสหรัฐอเมริกาต่อชาวไทยในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้.” ฟ้าเดียวกัน 9, ฉ 2 (เมษายน-มิถุนายน 2554): 134-166.

คำหอม จัณฑาล์. “คณะหมอลำ ทปท.” เอกราช 9 (กรกฎาคม 2523): 7-75.

ณรงค์ฤทธิ์ ศักดารณรงค์. “หมอลำหมู่สัจธรรมแห่งชีวิต.” ศิลปวัฒนธรรม 4, ฉ 11 (2526): 80-92.

ดารารัตน์ เมตตาริกานนท์. “การเข้ามาครั้งแรกของคอมมิวนิสต์ในภาคอีสาน.” มนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 17, ฉ 2 (มกราคม-มีนาคม 2543): 62-70.

พิศนุภงศ์ ศรีศากยวรางกูร, และ อลงกรณ์ อรรคแสง. “จิตวิญญาณหมอลำกลอนสู่ความเชื่อทางการเมืองของท้องถิ่นอีสาน.” วารสารการเมืองการปกครอง 8, ฉ. 2 (พฤษภาคม-สิงหาคม 2561): 71-84.

ภาณุพงศ์ ธงศรี. “หมอลำพื้นบ้าน วิจารณ์การเมือง.” ศิลปวัฒนธรรม 40, ฉ.5 (มีนาคม 2562): 42-46.

วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์. “หมอลำ วิญญาณอันยิ่งใหญ่ของชาวอีสาน.” สารคดี 60 (2533): 55-71.

สุชาติ แสงทอง. “หมอลำการเมือง สุทธิสมพงษ์ สท้านอาจ.” ว.เพลงดนตรี 11, ฉ 2. (ธันวาคม 2547): 61-63.

วิทยานิพนธ์

ธงชัย พึ่งกันไทย. “ลัทธิคอมมิวนิสต์ และนโยบายต่อต้านรัฐบาลไทย พ.ศ. 2468 - 2500.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สาขาวิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2521.

บัญชา สุมา. “การเคลื่อนไหวของพวกคอมมิวนิสต์กับนโยบายป้องกันและปราบปรามของรัฐบาล พ.ศ. 2500 - 2523.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สาขาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528.

นิทราพร ทิพา. “การวิเคราะห์เนื้อหาเพลงพื้นบ้านหมอลำเพื่อการถ่ายทอดทางวัฒนธรรม.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการประชาสัมพันธ์ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539.

ปฐมพร ศรีมันตะ. “สหายชาวบ้านกับขบวนการคอมมิวนิสต์ในภาคอีสานของประเทศไทย.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สาขาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2559.

พยุงศาสตร์ อุทโท. “นโยบายของรัฐบาลในการป้องกันและปราบปรามพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือระหว่าง พ.ศ. 2508-2523.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สาขาวิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2536.

มุทิตา เจริญสุข. “แนวร่วมพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2515 - 2525.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สาขาวิชาประวัติศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2526.

สิทธิศักดิ์ จำปาแดง. “บทบาทของหมอลำในการแก้ปัญหาสังคม.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สาขาวิชาไทยคดีศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2548.

สนอง พระคลังศรี. “หมอลำซิ่ง: กระบวนการปรับเปลี่ยนทางวัฒนธรรมดนตรีของหมอลำในภาคอีสาน.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สาขาวิชาวัฒนธรรมศึกษา สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล, 2541.

เสงี่ยม บึงไสย์. “บทบาทของลำกลอนในด้านการเมือง.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, วิชาเอกไทยคดีศึกษา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีครินทรวิโรฒ,

สื่ออิเล็กทรอนิกส์

โต้ง อนุรักษ์. “ลำเต้ยไฟเย็น-กลอนลำต่อต้านคอมมิวนิสต์[2508].” สืบค้นเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2564. https://www.youtube.com/watch?v=vMNNQHerXSg.