รัฐไทยกับการควบคุมยาจีน พ.ศ. 2493-2518

Main Article Content

วัฒนา กีรติชาญเดชา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยฉบับนี้ต้องการศึกษาบทบาทการควบคุมยาจีนและธุรกิจที่เกี่ยวข้องของรัฐบาลไทยระหว่าง พ.ศ. 2493-2518 ผ่านทางพระราชบัญญัติการขายยา พ.ศ. 2493 และ พระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 และบทบาทและการจัดการของคณะกรรมการควบคุมการขายยา/คณะกรรมการยาในการควบคุมยาจีน มีสมมติฐานว่ายาจีนเป็นสินค้าที่มีตลาดขนาดใหญ่และมีการใช้ที่แพร่หลายในประเทศไทย ทำให้รัฐเข้าควบคุมโดยมีเหตุผลเรื่องการพัฒนาสาธารณสุขสมัยใหม่และความปลอดภัยของผู้บริโภค จากการศึกษาพบว่ายาจีนที่ผลิตในประเทศไทยและนำเข้าจากต่างประเทศมีจำนวนมากจนได้รับการจัดหมวดหมู่เฉพาะให้เป็นยาแผนโบราณต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม การแพทย์แผนจีนกลับไม่เคยได้รับการรับรองจากกระทรวงสาธารณสุข ทำให้ประสบปัญหาการขึ้นทะเบียนยาจีนเพราะกระทรวงสาธารณสุขไม่มีผู้เชี่ยวชาญ และต้องอาศัยที่ปรึกษาจากภายนอก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฤษดา ลิมปนานนท์. “พัฒนาการของกฎหมายที่ใช้ในการกำกับดูแลวัคซีนในประเทศไทย.” วารสารอาหารและยา 22, ฉ. 3 (กันยายน-ธันวาคม 2558): 7-9.

ขจัดภัย บุรุษพัฒน์. “ชาวจีนในประเทศไทยกับปัญหาด้านการเมือง.” สังคมศาสตร์ 7, ฉ.1 (มกราคม 2513): 95-126.

จรัน เกรันพงษ์, บรรณาธิการ. ประวัติการแพทย์ สมัยกรุงรัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ: ศิริราช, 2525.

ชวลิต สันติกิจรุ่งเรือง. “การแพทย์แผนจีนในประเทศไทย: อดีต ปัจจุบัน อนาคต.” วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก 4, ฉ. 2 (กุมภาพันธ์-พฤษภาคม 2549): 99-121.

ทวีศักดิ์ เผือกสม. เชื้อโรค ร่างกาย และรัฐเวชกรรม: ประวัติศาสตร์การแพทย์สมัยใหม่ในสังคมไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550.

ธันวา วงศ์เสงี่ยม. “รัฐไทยกับสุขภาพพลเมือง พ.ศ. 2475-2500.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สาขาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553.

ปรารถนา โกเมน. “สมาคมชาวจีนในกรุงเทพฯ พ.ศ. 2440-2488.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2533.

พรรณี บัวเล็ก. การศึกษาประวัติศาสตร์เศรษฐกิจไทย: บทสำรวจสถานะความรู้. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ศยาม, 2555.

พูนเกศ จันทกานนท์. “ประวัติความเป็นมาและการขยายตัวการค้าของชาวจีนในกรุงเทพมหานคร ระหว่าง พ.ศ. 2398-2475.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528.

มงเซเญอร์ ปาลเลกัวซ์. เล่าเรื่องกรุงสยาม. แปลโดย สันต์ ท. โกมลบุตร. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ก้าวหน้า, 2520.

ยุวดี จอมพิทักษ์. การแพทย์การสาธารณสุขเมืองไทย: วิวัฒนาการความเป็นมาจากอดีต. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์, 2545.

วีรวัลย์ งามสันติกุล. “ชาวจีนกับกิจกรรมสังคมสงเคราะห์ในประเทศไทย พ.ศ. 2420-2513.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2543.

สุมาลี โฆษิตนิธิกุล. การก่อเกิดและพัฒนาการของมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2538.

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. เอกสารกระทรวงสาธารณสุข (2) สธ 1.2.1/11 เรื่องการประชุมคณะกรรมการวิจัยการแพทย์ครั้งที่ 78/2505 (9 สิงหาคม 2505)

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. เอกสารกระทรวงสาธารณสุข (2) สธ 2.1.1/6 เรื่องการประชุมคณะกรรมการควบคุมการขายยา ครั้งที่ 1/2500 - ครั้งที่ 5/2500 (8 เมษายน - 23 ธันวาคม 2500)

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. เอกสารกระทรวงสาธารณสุข (2) สธ 3.1.1/22 เรื่องการประชุมคณะกรรมการควบคุมการขายยา ครั้งที่ 9/2506 (16 เมษายน 2506)

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. เอกสารกระทรวงสาธารณสุข (2) สธ 3.1.1/27 เรื่องการประชุมคณะกรรมการควบคุมการขายยา ครั้งที่ 5/2507 (2 เมษายน 2507)

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. เอกสารกระทรวงสาธารณสุข (2) สธ 3.1.1/33 เรื่องการประชุมคณะกรรมการควบคุมการขายยาครั้งที่ 14/2507 (1 ตุลาคม 2507)

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. เอกสารกระทรวงสาธารณสุข (2) สธ 3.1.1/39 เรื่องการประชุมคณะกรรมการควบคุมการขายยา ครั้งที่ 1/2509 (31 มกราคม 2509)

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. เอกสารกระทรวงสาธารณสุข (2) สธ 3.1.1/40 เรื่องการประชุมคณะกรรมการยา ครั้งที่ 2/2512-ครั้งที่ 3/2512 (10 มกราคม-6 พฤษภาคม 2512)

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. เอกสารสภากาชาดไทย สกท.1/13 เรื่องผู้อำนวยการกองพยาบาลนำส่งพระราชบัญญัติการแพทย์ พ.ศ. 2464 กระทรวงมหาดไทยได้นำกราบบังคมทูลพระกรุณาและพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้นำออกใช้แล้ว กับการตั้งสภาการแพทย์ขึ้นในกรุงสยาม สภาได้ตั้งพระยาดำรงแพทยาคุณเป็นผู้แทนโดยตำแหน่งกรรมการเจ้าหน้าที่แห่งสภาการแพทย์กับการตั้งหม่อมเจ้าวัลลภากรขึ้นแทนชั่วคราว (30 กันยายน 2464 - 3 พฤศจิกายน 2480)

อิทธิพร ขำประเสริฐ. เรื่องเล่าจากร้านเอี้ยะเล่งฮึ้ง: ความเป็นมา และการให้บริการทางการแพทย์แผนจีนโบราณแห่งหนึ่งในอำเภอดำเนินสะดวก. ม.ป.ท.: ม.ป.พ., 2559.

Croizier, Ralph C. Traditional Medicine in Modern China: Science, Nationalism, and the Tensions of Cultural Change. Cambridge, MA: Harvard University Press, 1968.

Culin, Stewart. Chinese Drug Stores in America. n.p.: n.p., 1889, HathiTrust.

Go, Simon. The Hong Kong Apothecary: A Visual History of Chinese Medicine Packaging. New York, NY: Princeton Architectural Press, 2003.

Huang Jin. International Chinese Business Directory of the World for the Year 1913. San Francisco, CA: International Chinese Business Directory Co., 1913, HathiTrust.

Kornphanat Tungkeunkunt. “The Urban Culture of Chinese Society in Bangkok: Cinemas, Broadcast and Literature, 1950S-1970s.” PhD Diss., National University of Singapore, 2012.

Liu, Haiming. The Transnational History of a Chinese Family: Immigrant Letters, Family Business, and Reverse Migration. Piscataway, NJ: Rutgers University Press, 2005.

Schrock, Joann L., Irene Crowe, Marilou Fromme, Dennis E. Gosier, Virginia S. McKenzie, Raymond W. Myers, and Patricia L. Stegeman. Minority in Thailand. Washington, DC: Department of Army, 1970, HathiTrust.

Skinner, G. William. Report on the Chinese in Southeast Asia. Ithaca, NY: Southeast Asia Program, Department of Far Eastern Studies, 1950.

Smith, Harvey H., Bernier, Donald W. Bernier, Frederica M. Bunge, Frances Chadwick Rintz, Rinn-Sup Shinn, and Suzanne Teleki. DA Pam No.550-53 Area Handbook for Thailand September 1968. Washington, DC: U.S. Government Printing Office, 1968, HathiTrust.

Wit, Daniel. Thailand: Another Vietnam?. New York: Charles Scribner's Sons, 1968.