การคลี่คลายมุมมองของชนชั้นนำสยามในช่วงต้นรัตนโกสินทร์ต่อ อินเดีย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความชิ้นนี้มุ่งศึกษาการคลี่คลายมุมมองของชนชั้นนำสยามต่ออินเดียในช่วงก่อนรัชกาลที่ 5 คือช่วงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ซึ่งแตกต่างจากงานศึกษาทั่วไปที่มักเริ่มด้วยการเสนอมุมมองของชนชั้นนำสยามต่ออินเดียช่วงรัชกาลที่ 5 เป็นส่วนใหญ่จากกรณีเสด็จประพาสอินเดียในปี พ.ศ. 2415 จนทำให้ไม่เห็นพลวัตของการเปลี่ยนแปลงทางประวัติศาสตร์ก่อนหน้านั้นเท่าใดนัก บทความนี้มุ่งอธิบายการคลี่คลายมุมมองต่ออินเดีย ผ่านการเปลี่ยนแปลงความคิดของชนชั้นนำสยามช่วงต้นรัตนโกสินทร์ เพื่อชี้ให้เห็นว่ามุมมองต่ออินเดียที่เปลี่ยนแปลงไปเป็นทั้งผลผลิตและภาพสะท้อนของวิธีการมองโลกภายในและภายนอกสยามอย่างมีพลวัต ผลการศึกษาพบว่าการเปลี่ยนแปลงของระบบเศรษฐกิจภายในสยามและบริบทที่มีการติดต่อกับโลกตะวันตกมากขึ้น มีผลสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงความคิดของชนชั้นนำสยามช่วงต้นรัตนโกสินทร์ต่ออินเดีย ที่เริ่มเปลี่ยนจากดินแดนทางศาสนา มาสู่ดินแดนทางการค้ามากขึ้น ซึ่งสะท้อนให้เห็นจากการเปลี่ยนแปลงการเขียนคัมภีร์ทางศาสนาและวรรณกรรมในช่วงต้นรัตนโกสินทร์ ความเปลี่ยนแปลงนี้เผยให้เห็นว่ามุมมองของชนชั้นนำสยามต่ออินเดียไม่ได้เพิ่งเปลี่ยนไปในสมัยรัชกาลที่ 5 หากแต่เริ่มคลี่คลายมาก่อนแล้วในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ บทความนี้จึงช่วยขยายกรอบความรู้เกี่ยวกับภาพอินเดียในสยาม ทั้งยังคลี่คลายให้เห็นพลวัตทางความคิดอันซับซ้อนของชนชั้นนำสยามต่ออินเดียในช่วงรอยต่อสู่ยุคสมัยใหม่
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์บทความเป็นของผู้เขียนและสงวนสิทธิ์ตามกฎหมาย
ข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฏในวารสารนี้เป็นของผู้เขียน คณะกรรมการวารสาร ภาควิชาประวัติศาสตร์ฯ กองบรรณาธิการ ตลอดจนกรรมการกลั่นกรองประจำฉบับ ไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องกับข้อคิดเห็นเหล่านั้น
References
กรมศิลปากร. ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ผ่านฟ้าวิทยา, 2510.
กรมศิลปากร. กองวรรณคดีและประวัติศาสตร์. วรรณกรรมสมัยรัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ: กองวรรณคดีและประวัติศาสตร์, 2536.
โกวิท วงศ์สุรวัฒน์. “การปฏิรูปการปกครองในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว: ประสบการณ์จากสิงคโปร์ ชวา และอินเดีย พ.ศ. 2413-2415.” วารสารการบริหารปกครอง 6, ฉ. 1 (มกราคม-มิถุนายน 2560): 1-30.
โจรี, แพทริค. ทฤษฎีกษัตริย์โพธิสัตว์ เวสสันดรชาดกในประวัติศาสตร์ไทย. บรรณาธิการโดย ปาสุกา ศิริพฤกษ์. แปลโดย ฑิตฐิตา ซิ้มเจริญ. กรุงเทพฯ: อิลลูมิเนชันส์ เอดิชันส์, 2563.
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ, และ อรอนงค์ ทิพย์พิมล, บรรณาธิการ. รัชกาลที่5: สยามกับอุษาคเนย์และชมพูทวีป. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 2547.
นิธิ เอียวศรีวงศ์. ปากไก่และใบเรือ: รวมความเรียงว่าด้วยวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ต้นรัตนโกสินทร์. พิมพ์ครั้งที่ 4. นนทบุรี: ฟ้าเดียวกัน, 2555.
ปรีดี พิศภูมิวิถี. ประชุมจดหมายเหตุออกพระวิสุทสุนทร (โกษาปาน ). กรุงเทพฯ: สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ, 2555.
พระธรรมปรีชา (แก้ว). ไตรภูมิโลกวินิจฉยกถา สำนวนที่ 1. บรรณาธิการโดย นิยะดา เหล่าสุนทร. กรุงเทพฯ: ลายคำ, 2555.
มหาวงศ์ พงศาวดารตัมพปัณณิทวีป เล่มที่1. กรุงเทพฯ: ม.ป.พ., 2551.
มูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล. พิมพ์ครั้งที่ 3. นครปฐม: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2552.
รวี สิริอิสสระนันท์, บรรณาธิการ. พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา: ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และพระราชวงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับหลวงประเสริฐมคำให้การชาวกรุงเก่า, คำให้การขุนหลวงหาวัด. นนทบุรี: ศรีปัญญา, 2559.
วราภรณ์ ทินานนท์. “การค้าสำเภาของไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, ภาควิชาประวัติศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2522.
สมิทธ์ ถนอมศาสนะ. “การเปลี่ยนความหมายของการสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ 8 ในสมัยรัชกาลที่1 ถึงรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์.” วารสารวิจิตรศิลป์ 4, ฉ. 1 (มกราคม-มิถุนายน 2556): 325-363.
สายชล สัตยานุรักษ์. พุทธศาสนากับแนวคิดทางการเมืองในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (พ.ศ. 2325- 2352). กรุงเทพฯ: มติชน, 2546.
สหาย, สาคชิดอนันท. ร.5 เสด็จอินเดีย. บรรณาธิการโดย ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์. แปลโดย กัณฐิกา ศรีอุดม. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโตโยต้าประเทศไทย, 2546.
อุษณีย์ ธงไชย. ประวัติศาสตร์สยามจากสมัยสุโขทัยถึงการปฏิรูปสมัยรัชกาลที่ 5. เชียงใหม่: คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2557.
เอนก นาวิกมูล. นักเดินทางชาวสยาม. กรุงเทพฯ: แสงดาว, 2562.
Chakrabonse, Narisa, Henry Ginsburg, Santanee Phasuk, and Dawn Rooney. Siam in Trade and War: Royal Maps of the Nineteenth Century. Edited by Oraphan Chaivorarat and Henry Ginsburg. Bangkok, Thailand: River Books, 2006.