“วัดเทียนถวาย” : ภูมิทัศน์วัฒนธรรม และแนวทางการพัฒนาพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นเพื่อการเรียนรู้ชุมชนริมแม่น้ำเจ้าพระยา ตำบลบ้านใหม่ อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัดเทียนถวาย และชุมชนใกล้เคียงในตำบลบ้านใหม่ อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี เป็นพื้นที่ที่มีภูมิทัศน์วัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ และสามารถพัฒนาให้เป็นแหล่งเรียนรู้ชุมชนริมแม่น้ำเจ้าพระยาได้ งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์ 3 ประการ ได้แก่ เพื่อศึกษาบริบททั่วไปเชิงพื้นที่ ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น บทบาทหน้าที่ของวัดเทียนถวาย และชุมชนใกล้เคียง เพื่อศึกษาภูมิทัศน์วัฒนธรรม และเพื่อเสนอแนวทางในการพัฒนาวัดเทียนถวาย และพื้นที่ใกล้เคียงในตำบลบ้านใหม่ให้เป็นพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นเพื่อการเรียนรู้ของชุมชนริมแม่น้ำเจ้าพระยา จังหวัดปทุมธานี โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการศึกษาพบว่า วัด และชุมชน มีความสัมพันธ์กับแม่น้ำเจ้าพระยามาตั้งแต่อดีต ผ่านตำนานเรื่องเล่าพระเจ้าอู่ทองหนีโรคห่า ในสมัยพระเจ้าอู่ทอง ด้วยที่ตั้งที่อยู่ติดแม่น้ำเจ้าพระยา ทำให้ปรากฏภูมิทัศน์วัฒนธรรมของการปรับตัว การควบคุม และการต่อสู้กับสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ ดังนั้นวัดเทียนถวายจึงสามารถใช้ภูมิทัศน์วัฒนธรรมให้เป็นพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นเพื่อการเรียนรู้ชุมชนริมแม่น้ำเจ้าพระยาได้
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์บทความเป็นของผู้เขียนและสงวนสิทธิ์ตามกฎหมาย
ข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฏในวารสารนี้เป็นของผู้เขียน คณะกรรมการวารสาร ภาควิชาประวัติศาสตร์ฯ กองบรรณาธิการ ตลอดจนกรรมการกลั่นกรองประจำฉบับ ไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องกับข้อคิดเห็นเหล่านั้น
References
เกรียงไกร เกิดศิริ. ชุมชนกับภูมิทัศน์วัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อุษาคเนย์, 2551.
ชมพูนุท คงพุนพิน. “การพัฒนาพิพิธภัณฑ์มีชีวิตในย่านหน่าทอนเกาะสมุย.” วารสารวิชาการ คณะสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 13, ฉ. 1 (มิถุนายน - พฤศจิกายน 2557): 15-29.
ชีวสิทธิ์ บุณยเกียรติ. การศึกษาพิพิธภัณฑ์ไร้กำแพง บทความจากการประชุมวิชาการด้านพิพิธภัณฑ์. กรุงเทพฯ: สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ, 2561.
แดนชัย ไพรสณฑ์. “การอนุรักษ์ภูมิทัศน์วัฒนธรรม กรณีศึกษา: ชุมชนเกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรี.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, ภาควิชาออกแบบและวางผังชุมชน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2557.
ทวีศิลป์ สืบวัฒนะ. แนวคิดและแนวทางการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อินนิล, 2554.
ธนากร อนุรักษ์ และ ชัยสิทธิ์ ด่านกิตติกุล. “ภูมิทัศน์วัฒนธรรมย่านถนนราชดำเนิน อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา.” ฉบับภาษาไทย มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ 10, ฉ. 1 (มกราคม - เมษายน 2560): 2156-2172.
ธัชมาศ สุเวช, ศุภลักษณ์ แสวงทรัพย์, และ มาลี สบายยิ่ง. ““บวร” บ้าน วัด โรงเรียนกับความเป็น พื้นที่สาธารณะ กรณีศึกษาชุมชนบ้านท่านางหอม ตำบลน้ำน้อย อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา.” วารสารสงขลานครินทร์ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ 24, ฉ. 3 (กันยายน - ธันวาคม 2561): 75-100.
ปณิตา สระวาสี. พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น: คุณูปการ อุปสรรคและทางเลือก ในคนทำพิพิธภัณฑ์. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์, 2557.
ปริตตา เฉลิมเผ่า กออนันตกูล. คำให้การของคนทำพิพิธภัณฑ์. บรรณาธิการโดย ชีวสิทธิ์ บุญยเกียรติ. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์, 2557.
พระมหาสมศักดิ์ ยติสกฺโก. ประวัติวัดเทียนถวาย ที่ระลึกในงานผูกพัธสีมา ฝังลูกนิมิต ยกช่อฟ้าอุโบสถ. ปทุมธานี: วัดเทียนถวาย, 2542.
พระอธิการโสภณ ปิยธมฺโม (กิ่งแก้ว), ละเอียด จงกลนี, และ พระฮอนด้า วาทสทฺโท (เข็มมา). “พลังบวร : พลังหลักของชุมชนคุณธรรม.” วารสารปัญญาปณิธาน 6, ฉ. 1 (มกราคม - มิถุนายน 2564): 69-80.
เมธี พริยการนนท์. “การศึกษาภูมิทัศน์วัฒนธรรมชาวเวียดนามในชุมชน กรณีศึกษา หมู่บ้านนาจอก ตำบลหนองญาติ อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการโรงแรมและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยนเรศวร, 2552.
ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมศัพท์ภูมิศาสตร์. กรุงเทพฯ: ชวนพิมพ์, 2549.
ศรีศักร วัลลิโภดม. สังคมลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา: พัฒนาการ และการเปลี่ยนแปลง, บรรณาธิการโดย วลัย ลักษณ์ ทรงศิริ. กรุงเทพฯ: มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์, 2561.
อนุวัฒน์ การถัก และ ทรงยศ วีระทวีมาศ. “ภูมิทัศน์วัฒนธรรม: ความหมาย พัฒนาการทางแนวคิดและทิศทางการศึกษาวิจัย.” วารสารวิชาการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ฉ. 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2558): 1-12.
Aktürk, Gül, and Ahmadreza Shirvani Dastgerdi. “Cultural Landscapes under the Threat of Climate Change: A Systematic Study of Barriers to Resilience.” Accessed December 20, 2022. https://openarchive.icomos.org/id/eprint/2513/1/sustainability-13-09974%20(4).pdf.
Brabec, Elizabeth. “Cultural Landscapes and their Critical Role in Climate Change.” Accessed December 20, 2022. https://wun.ac.uk/wun/research/view/cultural-landscapes-and-their-critical-role-in-climate-change/.
Pitzl, Gerald R. Encyclopedia of Human Geography. USA: Greenwood press, 2004.
Tolba, Mostafa K., and Osama A. El-Kholy. “Human settlements.” Accessed December 20, 2022. https://link.springer.com/chapter/10.1007/978-94-011-2280-1_17.
Wu, Jianguo. “Landscape of Culture and Culture of Landscape: Does Landscape Ecology Need Culture?” Accessed December 20, 2022. https://link.springer.com/article/10.1007/s10980-010-9524-8.