อุบลวัณณา : ผู้หญิงในประวัติศาสตร์เปลี่ยนผ่านของยุคสมัย

Main Article Content

วราภรณ์ เรืองศรี

บทคัดย่อ

การศึกษาชีวประวัติของอุบลวัณณา ผู้หญิงที่มีชีวิตอยู่ในห้วงเวลาสำคัญทางประวัติศาสตร์ มีจุดประสงค์ที่จะอธิบายความเปลี่ยนแปลงประวัติศาสตร์ ในช่วงที่สยามขยายอำนาจเข้าสู่ล้านนา ผ่านเรื่องราวของบุคคล โดยอาศัยจุลประวัติศาสตร์เป็นวิธีวิทยาในการทำความเข้าใจเรื่องนี้ และใช้ชีวประวัติเป็นหลักฐานสำคัญเพื่อแสดงให้เห็นว่า ความทรงจำและเรื่องราวที่ผู้คนเขียนถึงบุคคลในประวัติศาสตร์นั้น สามารถขยายขอบเขตการทำความเข้าใจประวัติศาสตร์ออกไปได้อย่างกว้างขวาง และไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับคำอธิบายที่มีอยู่ก่อนหน้า ชีวประวัติของอุบลวัณณาก็ประกอบสร้างขึ้นจากบุคคลที่มีชีวิตร่วมสมัย บ้างมีโอกาสพบปะ สนทนา แลกเปลี่ยนความคิดในเรื่องต่าง ๆ พ้นไปจากบันทึกและความสัมพันธ์ส่วนตัว ประวัติของเธอยังปรากฏในเอกสารราชการของสยาม ซ่อนตัวอยู่ในหมวดหมู่หัวข้อต่าง ๆ ของหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ผลการศึกษาทำให้พบว่าบุคคลซึ่งมีชีวิตอยู่ในห้วงเวลาสำคัญทางประวัติศาสตร์ ได้ปฏิสัมพันธ์อยู่กับบริบทที่ล้านนาติดต่อกับชาวต่างชาติและสนใจเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของระบบเศรษฐกิจอาณานิคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านพม่าภายใต้การจัดการปกครองของอังกฤษ ขณะเดียวกันก็อยู่ในช่วงที่สยามกำลังเร่งเข้ามาปรับเปลี่ยนโครงสร้างการเมืองภายในของล้านนา เพื่อแสดงให้อังกฤษเห็นว่าล้านนาเป็นส่วนหนึ่งของสยาม ภายใต้บริบทของการกำหนดกติกาอย่างใหม่ การเมืองวัฒนธรรมได้ทำงานอย่างเข้มข้น ทั้งผ่านพิธีกรรม ความเชื่อ การรักษาพยาบาล การต่อสู้กันของความรู้ใหม่เก่า การซุบซิบนินทา ไปจนถึงระบบราชการที่สยามนำเข้ามาใช้และปะทะขัดแย้งกับการเมืองวัฒนธรรมถิ่น อุบลวัณณาคือผู้หญิงคนหนึ่งที่มีชีวิตอยู่ท่ามกลางความไม่เข้ารูปเข้ารอยเหล่านี้จนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต และเรื่องราวของเธอได้กลายเป็นภาพแทนของตัวตนที่สร้างความไม่สบายใจให้กับทั้งเครือญาติและสยาม กระทั่งเมื่อความตายมาปิดฉากความกระอักกระอ่วนนี้ลงและคล้ายเป็นสัญญาณให้สยามเร่งปฏิรูปการเมืองการปกครองให้สำเร็จลงได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กราบอฟสกี้, ฟอลเกอร์. “เจ้าอุบลวรรณา.” ใน ขัตติยานีศรีล้านนา, บรรณาธิการโดย วงศ์สักก์ ณ เชียงใหม่, 268-278. เชียงใหม่: วิทอินดีไซน์, 2547.

เพ็ญสุภา สุขคตะ. “‘เจ้าอุบลวรรณา’ Working Woman แห่งล้านนา เมื่อคิดจะรัก ต้องกล้าหักด่านฐานันดร.” มติชนสุดสัปดาห์, 8 มีนาคม 2566. https://www.matichonweekly.com/culture/article_16910?fbclid=IwAR0g9Kb7s8TMZQqgDC1iZ6NnkrRV5lXArAO8tsQaVomyKmSeZB24nB_ptco.

เพอร์คินส์, เอส.ซี. สยามและลาวในสายตามิชชันนารีชาวอเมริกัน. แปลโดย รัตติกาล สร้อย และ สำเนียง ศรีเกตุ. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, 2557.

แมคกิลวารี ดี.ดี, เดเนียล. คนดีศรีเชียงใหม่และกึ่งศตวรรษในหมู่คนไทยและคนลาว: อัตชีวประวัติของศาสนาจารย์เดเนียล แมคกิลวารี ดี.ดี. แปลโดย จิตราภรณ์ ตันรัตนกุล. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: บริษัท อินเตอร์ พับลิชชิ่ง เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด, 2560.

วราภรณ์ เรืองศรี. คาราวานและพ่อค้าทางไกล: การก่อเกิดรัฐสมัยใหม่ในภาคเหนือของไทยและดินแดนตอนในของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ศูนย์อาเซียนศึกษา, 2557.

วราภรณ์ เรืองศรี. “ละครชีวิตของมาร์แต็ง แกร์: การเขียนประวัติศาสตร์คนสามัญของนาตาลี ซีโมน เดวิส.” ใน วิธีวิทยาในการศึกษาประวัติศาสตร์. บรรณาธิการโดย ชนิดา พรหมพยัคฆ์ และ ณัฎฐพงษ์ สกุลเลี่ยว. กรุงเทพฯ: สยามปริทัศน์, 2563, 373-416.

วราภรณ์ เรืองศรี. กาดก่อเมือง: ชาติพันธุ์และคาราวานการค้าล้านนา. กรุงเทพฯ: มติชน, 2564.

วิลสัน, โจนาธาน. สยามและลาวในสายตามิชชันนารีชาวอเมริกัน. แปลโดย รัตติกาล สร้อย และสำเนียง ศรีเกตุ. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, 2557.

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. เอกสารกรมราชเลขาธิการ รัชกาลที่ 5 กระทรวงมหาดไทย ม ร.5ม2.12ก. เรื่องผู้ร้ายฆ่ามองโปงยะตาย เชียงใหม่ (พฤศจิกายน - มีนาคม 2424)

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. เอกสารกรมราชเลขาธิการ รัชกาลที่ 5 กระทรวงมหาดไทย ม ร.5ม/42/1.1 การรักษาป่าไม้ พระราชบัญญัติสงวนป่า เรื่อง มองกุนถ่อฟ้องพระเจ้าเชียงใหม่ เรื่องป่าไม้เมืองยวม (2425-2429)

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. เอกสารกรมราชเลขาธิการ รัชกาลที่ 5 กระทรวงมหาดไทย ม ร.5 ม.1.3 ประกาศและพระราชบัญญัติ (2442)

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. เอกสารกรมราชเลขาธิการ รัชกาลที่ 5 แผนกปกครอง กระทรวง มหาดไทย ม ร.5ม/25 เรื่อง ใบบอกเมืองต่าง ๆ ฝาง เชียงแสน แถน เชียงราย เชียงใหม่ (มกราคม 2431 - 9 สิงหาคม 2433)

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. เอกสารกรมราชเลขาธิการ รัชกาลที่ 5 แผนกปกครอง กระทรวง มหาดไทย ม ร.5ม พิเศษ/1 เรื่อง ใบบอกเมืองเชียงใหม่ (มิถุนายน 2417 - 20 เมษายน 2434)

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. เอกสารกรมราชเลขาธิการ รัชกาลที่ 5 แผนกปกครอง กระทรวง มหาดไทย ม ร.5ม พิเศษ/2 เรื่อง บอกพระยาราชเสนาที่หลวงเชียงใหม่ (มีนาคม 2423 - เมษายน 2425) และเรื่อง บอกพระยาราชสัมภาราการข้าหลวง (สิงหาคม 2426 - 2430)

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. เอกสารกรมราชเลขาธิการ รัชกาลที่ 5 เอกสารชุดเล่มที่ 6 ม ร.5ม.58 ล.6 มณฑลลาวเฉียง เรื่องเจ้าเทพไกรษรมรณภาพ (2427-2433)

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. เอกสารกรมราชเลขาธิการ รัชกาลที่ 5 เบ็ดเตล็ดพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้า พระราชหัตถเลขา เล่มที่ 9 ม ร.5บ.1.2 เรื่องความขัดแย้งกับอังกฤษเมืองเชียงใหม่ (2427) และเรื่องข้อราชการเมืองเชียงใหม่ (2427)

ฮาลเลตต์, โฮลต์ ซามูเอล. ท่องล้านนาบนหลังช้างของโฮลต์ ซามูเอล ฮาลเลตต์ พ.ศ.2427. แปลโดย สุทธิศักดิ์ ปาลโพธิ์. กรุงเทพฯ: ริเวอร์ บุ๊คส์, 2565.

Grabowsky, Volker, and Andrew Turton. The Gold and Silver Road of Trade and Friendship. Chiang Mai: Silkworm Books, 2003.

Hallett, Holt Samuel. A Thousand Miles on an Elephant in the Shan States. Bangkok: White Lotus Press, 1988.

Robisheaux, Thomas. “Microhistory and Historical Imagination: New Frontiers.” The Journal of Medieval and Early Modern Studies 47, no. 1 (2017): 1-6. https://doi.org/10.1215/108296363716554.