บทบาทของประชาชนในประวัติศาสตร์การพัฒนาเมือง กรณีศึกษา อำเภอบางขุนเทียนระหว่างทศวรรษ 2480-2520
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มุ่งเน้นศึกษาบทบาทของประชาชนในประวัติศาสตร์การพัฒนาเมือง กรณีศึกษาอำเภอบางขุนเทียนระหว่างทศวรรษ 2480-2520 โดยการพัฒนาเมืองที่เกิดขึ้นก่อนทศวรรษ 2480 ล้วนมาจากนโยบายหรือผลประโยชน์ของภาคราชการและรัฐบาลเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นการพัฒนาที่ขาดการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ ทำให้การพัฒนาที่เกิดขึ้นไม่สอดคล้องกับความต้องการของคนในพื้นที่และสภาพแวดล้อม จากการศึกษาพบว่า ประชาชนในอำเภอบางขุนเทียนเริ่มมีส่วนร่วมในการพัฒนาเมืองตั้งแต่หลัง พ.ศ. 2475 จากการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ได้รับการศึกษาสมัยใหม่ ทำให้ประชาชนในท้องที่อำเภอบางขุนเทียนเริ่มสนใจการพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง ต่อมาเมื่อล่วงเข้าทศวรรษ 2500 ยุคสมัยแห่งการพัฒนาประเทศไทย ประชาชนบางขุนเทียนก็ตอบสนองเข้ากับยุคสมัย ด้วยการพัฒนาบ้านเกิดของตนผ่านการสร้างถนน การสร้างสถานที่ราชการใหม่ เพื่อยกระดับชีวิตและโอกาสทางเศรษฐกิจมากขึ้น
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์บทความเป็นของผู้เขียนและสงวนสิทธิ์ตามกฎหมาย
ข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฏในวารสารนี้เป็นของผู้เขียน คณะกรรมการวารสาร ภาควิชาประวัติศาสตร์ฯ กองบรรณาธิการ ตลอดจนกรรมการกลั่นกรองประจำฉบับ ไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องกับข้อคิดเห็นเหล่านั้น
References
จิรวัฒน์ แสงทอง. “ชีวิตประจำวันของชาวสยามในกรุงเทพฯ พ.ศ. 2426-2475.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สาขาวิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546.
ฉัตราภรณ์ พิรุณรัตน์. “พัฒนาการของบางกอกฝั่งตะวันตก พ.ศ. 2325-2369.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2535.
จังหวัดธนบุรี. การบริหารงานจังหวัดธนบุรี พ.ศ. 2505 - 2506. ม.ป.ท.: ม.ป.พ., 2506.
ถนอม ทองสิมา. ม.ป.ท.: ม.ป.พ., 2546.น.
น. ณ ปากน้ำ. ศิลปกรรมในบางกอก. กรุงเทพฯ: เลิฟแอนด์ลิพเพรส, 2542.
ประกาศให้ทราบทั่วกัน. ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 27 (27 พฤศจิกายน 129).
ปิยนาถ บุนนาค, ดวงพร นพคุณ, และ สุวัฒนา ธาดานิติ. คลองในกรุงเทพฯ: ความเปลี่ยนแปลง และผลกระทบต่อกรุงเทพฯ ในรอบ 200 ปี (พ.ศ.2325-2525). กรุงเทพฯ: ฝ่ายวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2525.
พระราชบัญญัติจัดตั้งเทศบาลนครกรุงธนบุรี พุทธศักราช 2479. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 53 (29 พฤศจิกายน 2479).
พอพันธ์ อุยยานนท์. ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจแห่งประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564.
ภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณย์. “การผลิตความหมาย “พื้นที่ประเทศไทย” ในยุคพัฒนา (พ.ศ.2500 - 2509).” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สาขาวิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2552.
วงเดือน เกษสุภะ. “การขยายตัวของหมู่บ้านจัดสรรกับปัญหาการขยายเมือง.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, ภาควิชาผังเมือง คณะสถาปัตยกรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528.
สุจิตต์ วงษ์เทศ. แม่น้ำลำคลองสายประวัติศาสตร์. กรุงเทพฯ: เรือนแก้วการพิมพ์, 2551.
สุพร แซ่ตั้ง. ““กลุ่มทองสิมา” เร่งเครื่อง ขยายบิ๊กโปรเจกต์พระราม 2.” ผู้จัดการ. 27 เมษายน 2561. http://gotomanager.com/content/104495/.
หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. เอกสารกระทรวงการต่างประเทศ กต 5.7/1 เรื่องร่างสัญญารถไฟท่าจีน
หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. เอกสารกระทรวงมหาดไทย มท.5.3.9/182 เรื่องสร้างถนนสาธารณประโยชน์ในตำบลแสมดำ
หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. เอกสารกระทรวงอุตสาหกรรม อก.0201.2.2.6/1 เรื่องอนุกรรมการพิจารณาผังเมืองนครหลวงกรุงเทพฯ (พ.ศ. 2509-2511)
หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. เอกสารกรุงเทพมหานคร กทม.4.2.1.6/52 เรื่องนายปลิว ม่วงศิริ กำนันแขวงบางบอน ร้องเรียนเรื่องการปรับปรุงถนนสายบางบอนไปสู่ทะเล (6 สิงหาคม - 20 ตุลาคม พ.ศ. 2518)
หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. เอกสารกรุงเทพมหานคร กทม.4.2.1/98 เรื่องรายงานสถานการณ์การสร้างทำนบชั่วคราวปิดกั้นน้ำเค็มเพื่อช่วยเหลือชาวเกษตรกรของเขตราษฎร์บูรณะและเขตบางขุนเทียน (13 - 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2523)
หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. เอกสารกรุงเทพมหานคร กทม 4.2.1.6/156 เรื่องการพิจารณาคำร้องเรียนของนางสาวจงจิตต์ เพียรพร้อม เรื่องการรังวัดตรวจสอบโฉนดที่ดินเขตบางขุนเทียน (17 มีนาคม - 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2523)
หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. เอกสารสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ม-(3) สร0201/277 เรื่องกรรมการปรับปรุงไฟฟ้าและประปากรุงเทพ-ธนบุรี (12 สิงหาคม - 31 ตุลาคม พ.ศ. 2495)
หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. เอกสารสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ม(3) สร0201/279/1 เรื่องนายเจือ ไทยรัตน์ ในนามบริษัท ประชานิยม จำกัด ขอสัมปทานตั้งโรงไฟฟ้า อำเภอบางขุนเทียน (19 กุมภาพันธ์ - 12 เมษายน พ.ศ. 2492)
หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. เอกสารสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ม-(3) สร0201/368 เรื่อง สร้างถนนดาวคะนอง-จอมทอง และตลาดพลู-นางนอง (15 ตุลาคม พ.ศ. 2499 - 21 มิถุนายน พ.ศ. 2500)
อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ นายมาก จันทสุทธิ. ม.ป.ท.: ม.ป.พ., ม.ป.ป.
อำพล ม่วงศิริ. จากซัวเถาสู่เจ้าพระยา ประวัติตระกูลม่วงศิริ. ม.ป.ท.: ม.ป.พ., 2561.
อำพัน รุ่งวรรธนวงศ์. “การศึกษาเพื่อประกอบการวางแผนการใช้ที่ดินในพื้นที่ชานเมือง ทางด้าน ตะวันตกของ กรุงเทพมหานคร: กรณีศึกษาเขตบางขุนเทียน.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, ภาควิชาผังเมือง คณะสถาปัตยกรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2526.
อำพิกา สวัสดิ์วงศ์. “ถนนสุขุมวิทกับพัฒนาการทางเศรษฐกิจในภาคตะวันออกของประเทศไทย พ.ศ. 2477-2539.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สาขาวิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2545.