ประวัติศาสตร์นิพนธ์เมืองศรีสะเกษตั้งแต่ทศวรรษ 2370 จนถึงปัจจุบัน
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้ต้องการศึกษาประวัติศาสตร์นิพนธ์เมืองศรีสะเกษตั้งแต่ทศวรรษ 2370 จนถึงปัจจุบัน จากข้อมูลและข้อเท็จจริงของเหตุการณ์ที่ถูกนำเสนอในงานเขียนของนักประวัติศาสตร์ โดยมีวัตถุประสงค์ของการศึกษาที่สำคัญสามประการ คือ ประการแรก ปัญหาในงานเขียนประวัติศาสตร์เมืองศรีสะเกษ ประการที่สอง สถานภาพองค์ความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์เมืองศรีสะเกษตั้งแต่ทศวรรษ 2370 จนถึงปัจจุบัน และประการสุดท้าย โครงเรื่องและเรื่องเล่าหลักที่ถูกนำเสนอในงานเขียนของนักประวัติศาสตร์ จากการศึกษาพบว่า ประวัติศาสตร์เมืองศรีสะเกษใช้ข้อมูลและข้อเท็จจริงจากหลักฐาน พงษาวดารมณฑลหัวเมืองอิสาณ ของหม่อมอมรวงศ์วิจิตรที่ตีพิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2458 เป็นแม่แบบของการเรียบเรียงเนื้อหาและอธิบายเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ นอกจากนี้ ยังนิยมผูกโยงเรื่องเล่าของตนเองกับประวัติศาสตร์กระแสหลัก และความเจริญทางวัฒนธรรมที่เหนือกว่า โดยเฉพาะวัฒนธรรมเขมรโบราณ อำนาจรัฐบรรณาการของกษัตริย์สมัยกรุงศรีอยุธยา และอำนาจทางการเมืองของรัฐไทยสมัยรัตนโกสินทร์ ข้อค้นพบเหล่านี้ยืนยันปัญหาของการศึกษาประวัติศาสตร์เมืองศรีสะเกษที่ยังผูกพันอยู่กับการศึกษาประวัติศาสตร์แบบชาตินิยม อันเป็นผลมาจากการรับอิทธิพลแนวความคิดท้องถิ่นนิยมและความเป็นไทยที่มีพลังต่อการอธิบายประวัติศาสตร์ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 24 เป็นต้นมา
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์บทความเป็นของผู้เขียนและสงวนสิทธิ์ตามกฎหมาย
ข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฏในวารสารนี้เป็นของผู้เขียน คณะกรรมการวารสาร ภาควิชาประวัติศาสตร์ฯ กองบรรณาธิการ ตลอดจนกรรมการกลั่นกรองประจำฉบับ ไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องกับข้อคิดเห็นเหล่านั้น
References
กรมศิลปากร. จดหมายเหตุรัชกาลที่ 3 เล่ม 5. บรรณาธิการโดย ทรงวิทย์ แก้วศรี. กรุงเทพฯ: สามัญนิติบุคคลสหประชาพาณิชย์, 2530.
กระทรวงวัฒนธรรม, กรมศิลปากร, สำนักหอสมุดแห่งชาติ. จดหมายเหตุรัชกาลที่ 2 จุลศักราช 1171-1174. บรรณาธิการโดย ก่องแก้ว วีระประจักษ์ และคณะ. กรุงเทพฯ: อมรินทร์ พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง), 2562.
คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ. วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญาจังหวัดศรีสะเกษ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, 2544.
จิตร ภูมิศักดิ์. ความเป็นมาของคำสยาม ไทย ลาว และขอม และลักษณะทางสังคมของชื่อชนชาติ. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: ชนนิยม, 2556.
โจรี, แพทริค. “สงครามประวัติศาสตร์นิพนธ์ไทย: การต่อสู้ของสถาบันกษัตริย์ในประวัติศาสตร์สมัยใหม่.” แปลโดย จิรวัฒน์ แสงทอง. วารสารฟ้าเดียวกัน 8, ฉ. 1 (มกราคม-กันยายน, 2553): 100-124.
ฉลอง สุนทราวาณิชย์. “วิวัฒนาการการเขียนประวัติศาสตร์ไทยจากเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ถึงสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ: ศึกษาเปรียบเทียบพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 2.” ใน ประวัติศาสตร์และนักประวัติศาสตร์ไทย, บรรณาธิการโดย ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และสุชาติ สวัสดิ์ศรี, 62-94. กรุงเทพฯ: ประพันธ์สาส์น, 2519.
ฉลอง สุนทราวาณิชย์. “สถานะของการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่น.” เศรษฐศาสตร์การเมือง 5, ฉ. 3-4 (เมษายน-กันยายน 2529): 53-63.
ชนิดา พรหมพยัคฆ์. “ดังที่เกิดขึ้นจริงนั้นเป็นเช่นไร: ปรัชญาประวัติศาสตร์ของรังเคอ.” ใน วิธีวิทยาการศึกษาประวัติศาสตร์, บรรณาธิการโดย ชนิดา พรหมพยัคฆ์ และ ณัฏฐพงษ์ สกุลเลี่ยว, 139-181. กรุงเทพฯ: สยามปริทัศน์, 2563.
ชัชวาล คำงาม. “ลูกหลานเจ้าเมืองศรีสะเกษ.” สืบค้นเมื่อวันที่ 4 เมษายน 2567. https://sites.google.com/view/heir-of-sisaket.
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ, บรรณาธิการ. เขตแดนสยามประเทศไทยกับลาวและกัมพูชา. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 2556.
ณัฏฐพงษ์ สกุลเลี่ยว. วิธีวิทยาของการศึกษาประวัติศาสตร์ไทย: ศึกษาจากวิทยานิพนธ์สาขาประวัติศาสตร์ในประเทศไทย ทศวรรษ 2520-2550. พิษณุโลก: ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 2564.
ดารารัตน์ เมตตาริกานนท์. ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น. ขอนแก่น: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2548.
ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จฯ กรมพระยา. “คำนำ.” ใน ประชุมพงษาวดารภาค 4. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร, 2458.
ตามไท ดิลกวิทยรัตน์. “ทฤษฎีการเขียนประวัติศาสตร์ของเฮย์เดน ไวต์.” วารสารประวัติศาสตร์ 6, ฉ. 1 (มกราคม-มิถุนายน, 2562): 129-166.
เติม วิภาคย์พจนกิจ. ประวัติศาสตร์อีสาน. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2557.
ทวีศิลป์ สืบวัฒนะ. แนวคิดและแนวทางการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: อินทนิล, 2554.
ทองดี ทองผาย. “การเสนอผลการสัมมนากลุ่มย่อยทั้ง 4 กลุ่มต่อที่ประชุมใหญ่.” ใน รายงานการสัมมนาประวัติศาสตร์ศรีสะเกษในโอกาสย้ายศาลากลางครบ 100 ปี, บรรณาธิการโดย ประดิษฐ์ ศิลาบุตร, 123-152. ศรีสะเกษ: มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, 2548.
ธงชัย วินิจจะกูล. โฉมหน้าราชาชาตินิยม: ว่าด้วยประวัติศาสตร์ไทย. บรรณาธิการโดย อัญชลี มณีโรจน์. นนทบุรี: ฟ้าเดียวกัน, 2559.
ธงชัย วินิจจะกูล. คนไทย/คนอื่น: ว่าด้วยคนอื่นของความเป็นไทย. บรรณาธิการโดย อัญชลี มณีโรจน์. นนทบุรี: ฟ้าเดียวกัน, 2560.
ธงชัย วินิจจะกูล. ออกนอกขนบประวัติศาสตร์ไทย: ว่าด้วยประวัติศาสตร์นอกขนบและวิธีวิทยาทางเลือก. นนทบุรี: ฟ้าเดียวกัน, 2562.
ธนาพล ลิ่มอภิชาต. “พหุวัฒนธรรมกับวาทกรรม “วัฒนธรรม”: ประวัติศาสตร์แนวคิด.” รัฐศาสตร์สาร 37, ฉ. 3 (กันยายน-ธันวาคม, 2559): 200-266.
ธันยพงศ์ สารรัตน์. ประวัติศาสตร์ศรีสะเกษ. ศรีสะเกษ: สถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, 2564.
ธิดา สาระยา. ตำนานและตำนานประวัติศาสตร์กับการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ, 2525.
ธิดา สาระยา. ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น: ประวัติศาสตร์ที่สัมพันธ์กับสังคมมนุษย์. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2529.
นิติภูมิ ขุขันธิน. เอกสารประกอบการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่น เรื่อง: เมืองขุขันธ์: จังหวัดขุขันธ์: จังหวัดศรีสะเกษ. ศรีสะเกษ: สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตศรีสะเกษ, 2552.
นิธิ เอียวศรีวงศ์. ประวัติศาสตร์แห่งชาติ “ซ่อม” ฉบับเก่า “สร้าง” ฉบับใหม่. บรรณาธิการโดย สุจิตต์ วงษ์เทศ. กรุงเทพฯ: สุวรรณภูมิพิพิธภัณฑ์, 2549.
นิธิ เอียวศรีวงศ์. ปากไก่และใบเรือ: รวมความเรียงว่าด้วยวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ต้นรัตนโกสินทร์. พิมพ์ครั้งที่ 4. นนทบุรี: ฟ้าเดียวกัน, 2555.
นิธิ เอียวศรีวงศ์. กรุงแตก, พระเจ้าตากฯ และประวัติศาสตร์ไทย: ว่าด้วยประวัติศาสตร์และประวัติศาสตร์นิพนธ์. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพฯ: มติชน, 2557.
นิธิ เอียวศรีวงศ์. ชาติไทย, เมืองไทย, แบบเรียนและอนุสาวรีย์: ว่าด้วยวัฒนธรรม, รัฐ และรูปการจิตสำนึก. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: มติชน, 2557.
บุญช่วย อัตถากร. “ประวัติศาสตร์ภาคอิสาณ” ใน ประวัติศาสตร์อิสาณและเมืองมหาสารคามและผลงานต่างๆ. เนื่องในงานพระราชทานเพลิงศพนายบุญช่วย อัตถากร ทช.,ทม. ณ วัดมกุฏกษัตริยาราม จันทร์ที่ 3 กันยายน 2522.
ปราชญ์ ชาวสวน. “ศรีสะเกษ: เมืองศรีนครลำดวน.” ใน รวมเรื่องเกี่ยวกับลำดวน. งานพระราชทานเพลิงศพเป็นกรณีพิเศษนางลมูล อันตระการ ณ เมรุวัดธาตุทองวรวิหาร 30 กันยายน 2533.
พระเทพวรมุนี. “พิธีเปิดการสัมมนาประวัติศาสตร์ศรีสะเกษ.” ใน รายงานการสัมมนาประวัติศาสตร์ศรีสะเกษในโอกาสย้ายศาลากลางครบ 100 ปี, บรรณาธิการโดย ประดิษฐ์ ศิลาบุตร, 1-13. ศรีสะเกษ: มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, 2548.
ยงยุทธ ชูแว่น. ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ยิปซี กรุ๊ป, 2565.
เรย์โนลด์ส, เครก เจ. “โครงเรื่องของประวัติศาสตร์ไทย: ทฤษฎีและการปฏิบัติ.” ใน เจ้าสัว ขุนศึก ศักดินา ปัญญาชน และคนสามัญ รวมบทความประวัติศาสตร์: แนวคิดและวิธีการศึกษาของเครก เจ. เรย์โนลด์ส. บรรณาธิการแปลโดย วารุณี โอสถารมย์ และคณะ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 2556.
สภาวัฒนธรรมเมืองขุขันธ์. “เรื่องราวเกี่ยวกับเมืองขุขันธ์อดีต-ปัจจุบัน.” สืบค้นเมื่อวันที่ 4 เมษายน 2567. https://www.mueangkhukhanculturalcouncil.org/2011/07/blog-post.html.
สมเกียรติ วันทะนะ. “สองศตวรรษของรัฐและประวัติศาสตร์นิพนธ์ไทย.” วารสารธรรมศาสตร์ 13, ฉ. 3 (กันยายน, 2527): 152-171.
สมหมาย ชินนาค. “ปลา” กับ “เกลือ” วิถีวัฒนธรรมสายสัมพันธ์สองฟากฝั่งพนมดองแร็ก (อีสานใต้-กัมพูชา): กรณีศึกษา “สุรินทร์-อุดรมีชัย-พระตะบอง” ในมิติเชิงมานุษยวิทยาและประวัติศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 2. อุบลราชธานี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 2552.
สายชล สัตยานุรักษ์. “ประวัติศาสตร์การสร้างความเป็นไทยกระแสหลัก.” ใน จินตนาการความเป็นไทย, บรรณาธิการโดย กฤตยา อาชวนิชกุล, 61-82. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม และศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี มหาวิทยาลัยมหิดล, 2551.
สำนักงานจังหวัดศรีสะเกษ. ประวัติศาสตร์มหาดไทยส่วนภูมิภาคจังหวัดศรีสะเกษ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เทพนิมิตการพิมพ์, 2529.
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดศรีสะเกษ. หนังสือที่ระลึกงานเฉลิมฉลอง 238 ปี จังหวัดศรีสะเกษ. ศรีสะเกษ: ม.ป.พ., 2564.
หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. เอกสารกรมศิลปากร (4) ศธ 2.2.2/62 เรื่อง ขอทราบประวัติและขอให้พิจารณารูปตราจังหวัด (9 กรกฎาคม 2512)
หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. เอกสารกรมศิลปากร ศธ 0701.42.2/2 เรื่อง เครื่องหมายประจำจังหวัด (19 กันยายน 2483)
อมรวงศ์วิจิตร, ม.ร.ว. “พงศาวดารหัวเมืองมณฑลอิสาณ.” ใน ประชุมพงษาวดารภาค 4. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร, 2458.
อานันท์ กาญจนพันธุ์. มิติชุมชน: วิธีคิดท้องถิ่นว่าด้วยสิทธิ อำนาจ และการจัดการทรัพยากร. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, 2544.
อาร์โนลด์, จอห์น เอช. ประวัติศาสตร์ของประวัติศาสตร์. แปลโดย ไชยันต์ รัชชกูล. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: อ่าน, 2560.
แอมอนิเยร์, เอเจียน. บันทึกการเดินทางในลาว ภาคสอง พ.ศ.2540. แปลโดย ทองสมุทร โดเร และสมหมาย เปรมจิตต์. เชียงใหม่: สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2541.
Smail, John R. W. “On the Possibility of an Autonomous History of Modern Southeast Asia.” Journal of Southeast Asian History 2, no. 1 (1961): 72-102.
White, Hayden. Metahistory: The Historical Imagination in Nineteenth Century Europe. Baltimore, Baltimore, MD: The Johns Hopkins University Press, 1973.
Wolters, O. W. History, Culture, and Region in Southeast Asian Perspectives. Singapore: Southeast Asia Program Publications, 1999.