รามคำแหงนิพนธ์ : การประกอบสร้างประวัติศาสตร์นิพนธ์เรื่องพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ตั้งแต่ พ.ศ. 2376 ถึง พ.ศ. 2535

Main Article Content

อรรถวิทย์ เพชรรัตน์

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้ต้องการศึกษาการประกอบสร้างและการผลิตซ้ำประวัติศาสตร์นิพนธ์เรื่อง พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ตั้งแต่การค้นพบหลักศิลาจารึกหลักที่ 1 ในสมัยปลายรัชกาลที่ 3 จนกลายเป็นส่วนหนึ่งของ “ประวัติศาสตร์ชาติ” ในสมัยรัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นต้นมา โดยมีข้อค้นพบสำคัญ ตั้งแต่ 1) การค้นพบหลักศิลาจารึกหลักที่ 1 เป็นเสมือนการตอบคำถามถึงการมีอยู่ของอดีตที่ชนชั้นนำสยามตามหา สอดรับต่อสำนึกทางประวัติศาสตร์และโลกทัศน์แบบใหม่ของชนชั้นนำสยาม ทั้งยังเป็นอดีตที่มีความสืบเนื่องกับปัจจุบันที่กำลังเปลี่ยนไปสู่สมัยใหม่ เนื่องด้วยบทบาทของพ่อขุนรามคำแหงนั้นสะท้อนภาพลักษณ์ “กษัตริย์สาธารณะ” ซึ่งเป็นรูปแบบกษัตริย์สมัยใหม่ในสมัยรัชกาลที่ 4 จนมีสถานะเป็น “ประวัติศาสตร์” ใน พ.ศ. 2450 2) ด้วยภาพลักษณ์ของพ่อขุนรามคำแหงที่สอดคล้องต่ออุดมการณ์แต่ละยุคสมัย ทำให้ประวัติศาสตร์นิพนธ์เรื่อง พ่อขุนรามคำแหงมหาราช เป็นประวัติศาสตร์นิพนธ์ที่เปลี่ยนผ่านจากประวัติศาสตร์กษัตริย์นิยม ไปสู่ประวัติศาสตร์ชาตินิยมวีรบุรุษ ในฐานะต้นแบบ “ผู้นำแบบไทย” ของรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ก่อนจะกลับมายึดโยงกับประวัติศาสตร์ราชาชาตินิยมอีกครั้ง ในฐานะต้นแบบ “กษัตริย์ผู้เป็นพ่อและนิยมประชาธิปไตย” ของสถาบันกษัตริย์รัชกาลที่ 9 ใน พ.ศ. 2535

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กรมศิลปากร. จดหมายเหตุ ๗๐๐ ปี ลายสือไทย. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, 2526.

กรมศิลปากร. ประมวลข้อมูลเกี่ยวกับจารึกพ่อขุนรามคำแหง. กรุงเทพฯ: สำนักหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร, 2547.

กรมศิลปากร. พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: บริษัท ส. ศิลป์, 2521.

คึกฤทธิ์ ปราโมช, ม.ร.ว. “การปกครองสมัยสุโขทัย.” ใน คำบรรยาย สัมมนาโบราณคดีสมัยสุโขทัย พ.ศ. ๒๕๐๓, รวบรวมโดย กรมศิลปากร, 161-171. พระนครฯ: กรมศิลปากร, 2507.

คึกฤทธิ์ ปราโมช, ม.ร.ว. “สถาบันพระมหากษัตริย์กับการปกครองของไทย.” วารสารสังคมศาสตร์ 25, ฉ. 2 (สิงหาคม 2531): 1-16.

คณะอนุกรรมการจัดหาทุนสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์. บทละครอิงประวัติศาสตร์เรื่อง พ่อขุนรามคำแหงมหาราช. พระนครฯ: มงคลการพิมพ์, 2510.

จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ และ ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา. จดหมายเหตุ เรื่องเสด็จประพาสต้นในรัชกาลที่ 5 ครั้งที่แรกและครั้งที่ 2. พระนคร: โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร, 2477.

ชนิดา ชิตบัณฑิตย์. โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ: การสถาปนาพระราชอำนาจในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: สมมติ, 2566.

ชนาวุฒิ บริรักษ์. ความทรงจำใต้อำนาจ: ราชวงศ์ พลเมืองและการเมืองบนหน้าปฏิทิน. กรุงเทพฯ: มติชน, 2565.

ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา. พระราชพงษาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา. ม.ป.ท.: ม.ป.พ., 2455.

ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา. พระราชพงษาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา. พิมพ์ครั้งที่ 2. ม.ป.ท.: โรงพิมพ์ไทย, 2457.

ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา. ลักษณะการปกครองประเทศสยามแต่โบราณ. ม.ป.ท.: กรมศิลปากร, 2482.

ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา. แสดงบรรยายพงศาวดารสยาม. พระนคร: โรงพิมพ์ประเสริฐสมุด, 2467.

ทักษ์ เฉลิมเตียรณ. การเมืองระบบพ่อขุนอุปถัมภ์แบบเผด็จการ. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำรามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 2561.

ธงชัย วินิจจะกูล. “กุ ลอก ลอบ แต่งแบบไพร่ๆ ความผิดของ ก.ศ.ร. กุหลาบ ที่ตัดสินโดยนักประวัติศาสตร์อำมาตย์.” ใน เจ้าพ่อ ประวัติศาสตร์ จอมขมังเวทย์: รวมบทความเพื่อเป็นเกียรติในโอกาสครบรอบ 60 ปี ฉลอง สุนทรวาณิชย์, บรรณาธิการโดย ธนาพล ลิ่มอภิชาต และ สุวิมล รุ่งเจริญ, 119-160. กรุงเทพฯ: สยามปริทัศน์, 2558.

ธงชัย วินิจจะกูล. โฉมหน้าราชาชาตินิยม: ว่าด้วยประวัติศาสตร์ไทย. กรุงเทพฯ: ฟ้าเดียวกัน, 2559.

ธงชัย วินิจจะกูล. “ยุคสมัยและกษัตริย์อย่างใหม่ ในพระราชพิธีสิบสองเดือน.” ใน ยุคสมัยและกษัตริย์อย่างใหม่ ในพระราชพิธีสิบสองเดือน, บรรณาธิการโดย คงสัจจา สุวรรณเพ็ชร, 3-107. กรุงเทพฯ: อิลลูมิเนชั่น เอดิชั่น, 2566.

ธงชัย วินิจจะกูล. “Hyper-royalism: Its Spells and Its Magic เวทย์มนตร์และความศักดิ์สิทธิ์ (หรือ คาถาและมายากล).” ฟ้าเดียวกัน 10, ฉ. 1 (มกราคม-มิถุนายน 2555): 114-135.

นิธิ เอียวศรีวงศ์. การเมืองไทยสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี. พิมพ์ครั้งที่ 13. กรุงเทพฯ: มติชน, 2561.

นิธิ เอียวศรีวงศ์. ปากไก่และใบเรือ: ว่าด้วยการศึกษาประวัติศาสตร์วรรณกรรมต้นรัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ: แพรว, 2538.

นพปฎล กิจไพบูลทวี. “จากพงศาวดารสู่ประวัติศาสตร์ประเทศไทย: การเดินทางและการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ของชนชั้นนำไทย ทศวรรษ 2370-2460.” วารสารประวัติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ 8, ฉ. 1 (มกราคม-มิถุนายน 2564): 1-15.

เบเคอร์, คริส และ ผาสุก พงษ์ไพจิตร. ประวัติศาสตร์อยุธยา ห้าศตวรรษสู่โลกใหม่. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: มติชน, 2563.

ประจักษ์ ก้องกีรติ. และแล้วความเคลื่อนไหวก็ปรากฏ: การเมืองและวัฒนธรรมของนักศึกษาและปัญญาชนก่อน 14 ตุลาฯ. กรุงเทพฯ: ฟ้าเดียวกัน, 2556.

ประวัติศาสตร์สุโขทัย ภาคที่ 1. ม.ป.ท.: บริษัท ไทยบริการ จำกัด, 2498.

พิชัย สันตภิรมย์. เสี้ยวศตวรรษแห่งงานประกาศพระเกียรติคุณของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช โดยพิมลชัยศึกษากรณ์. กรุงเทพฯ: พิมลชัยศึกษากรณ์, 2530.

พิทยลาภพฤฒิยากร, พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่น. ชุมนุมพระนิพนธ์ของพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์พระจันทร์, 2517.

พิพัฒน์ พสุธารชาติ. คราสและควินิน: รื้อสร้าง ‘ปากไก่และใบเรือ’ ของนิธิ เอียวศรีวงศ์. กรุงเทพฯ: อิลลูมิเนชั่น เอดิชั่น, 2561.

พิริยะ ไกรฤกษ์. จารึกพ่อขุนรามคำแหง: การวิเคราะห์เชิงประวัติศาสตร์ศิลปะ. กรุงเทพฯ: อมรินทร์ พริ้นติ้ง, 2532.

พิเศษ เจียจันทร์พงษ์. พระแก้วมรกต. กรุงเทพฯ: มติชน, 2546.

มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. เที่ยวเมืองพระร่วง. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพฯ: ศรีปัญญา, 2564.

มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. บทละครพูดคำกลอน เรื่อง พระร่วง และแถลงเรื่องพระร่วงตามตำนานและโดยสันนิษฐานโบราณคดี. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์อักษรสัมพันธ์, 2517.

มหาวิทยาลัยรามคำแหง. สำนักงานสาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติต่างประเทศ. “เกี่ยวกับมหาวิทยาลัยรามคำแหง.” สืบค้นเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2566. http://www.oasc.ru.ac.th/index.php?option=com_content&view=article&id=245&Itemid=134.

ไรท, ไมเคิล. ฝรั่งหายคลั่ง(หรือยัง). กรุงเทพฯ: มติชน, 2551.

วิจิตรวาทการ, หลวง. จารึกพ่อขุนรามคำแหง กับคำอธิบายของหลวงวิจิตรวาทการ. ม.ป.ท.: โรงพิมพ์พระจันทร์, 2477.

วิจิตรวาทการ, หลวง. บทละครเรื่อง อานุภาพพ่อขุนรามคำแหง. กรุงเทพฯ: บริษัทการพิมพ์ ไชยวัฒน์, 2508.

วิจิตรวาทการ, หลวง. “วัฒนธรรมสุโขทัย.” ใน อนุสรณ์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช, รวบรวมโดย สาย และสมศรี หินซุย, 1-29, สุโขทัย: ม.ป.พ., 2513.

วริศรา ตั้งค้าวานิช. ประวัติศาสตร์ “สุโขทัย” ที่เพิ่งสร้าง. กรุงเทพฯ: มติชน, 2557.

วริศรา ตั้งค้าวานิช. “ภาพลักษณ์สมเด็จพระนเรศวรของราชสำนักไทยสมัยรัตนโกสินทร์ถึงทศวรรษ 2480.” เอกสารประกอบสัมมนาวิชาการประจำปี 2554 500 ปี ความสัมพันธ์สยามประเทศไทยกับโปรตุเกสและชาติตะวันตกในอุษาคเนย์ 2054-2554, 25-26 มกราคม 2555.

วริศรา ตั้งค้าวานิช. “รุ่งอรุณแห่งความสุข: การสร้างประวัติศาสตร์ “สุโขทัย” พ.ศ. 2450-2534.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555.

สายชล สัตยานุรักษ์. ๑๐ ปัญญาชนสยาม เล่ม ๑ ปัญญาชนแห่งรัฐสมบูรณาสิทธิราชย์.กรุงเทพฯ: โอเพ้นบุ๊คส์, 2557.

สายชล สัตยานุรักษ์. ๑๐ ปัญญาชนสยาม เล่ม ๒ ปัญญาชนหลังการปฏิวัติ ๒๔๗๕. กรุงเทพฯ: โอเพ้นบุ๊คส์, 2557.

สายพิน แก้วงามประเสริฐ. การเมืองในอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี. กรุงเทพฯ: มติชน, 2538.

สำนักงานจังหวัดสุโขทัย. กลุ่มงานข้อมูลสารสนเทศและการสื่อสาร. “ศิลาจารึก.” สืบค้นเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2566. http://www.sukhothai.go.th/history/hist_08.htm.

อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์. การเปลี่ยนแปลงโลกทัศน์ของชนชั้นผู้นำไทย ตั้งแต่รัชกาลที่ 4 ถึงพุทธศักราช 2475. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: สมมติ, 2565.

อาสา คำภา. กว่าจะครองอำนาจนำ: การคลี่คลายขยายตัวของเครือข่ายในหลวงภายใต้ปฏิสัมพันธ์ชนชั้นนำไทย ทศวรรษ 2490-2530. กรุงเทพฯ: ฟ้าเดียวกัน, 2564.

อุทยานประวัติศาสตร์ สุโขทัย. “ประวัติและบทบาทหน้าที่.” สืบค้นเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2566. https://www.finearts.go.th/sukhothaihistoricalpark/categorie/history.

เอนก มากอนันต์. จักรพรรดิราช: คติเบื้องหลังชนชั้นนำไทย. กรุงเทพฯ: มติชน, 2561.

Beemer, Bryce G. “Constructing the Ideal State: The Idea of Sukhothai in Thai History, 1833-1957.” Master’s thesis, University of Hawaii at Manoa, 1999.

Denny, Harold N. “Suffrage for Siams is planned by King to test Democracy.” The New York Times, April 28, 1931.

Dhani Nivat, H.H. Prince. “The Old Siamese Conception of Monarchy.” Journal of the Siam Society 36, no. 2 (1947): 91-106.

Prasert Na Nagara and Alexander B. Griswold. Epigraphic and Historical Studies. Bangkok: The Historical Society, 1992.

Tej Bunnag. “Obituary of: Dr. Prasert Na Nagara (1918 - 2019).” Journal of the Siam Society 107, no. 2 (2019): 167-170.