จาก มูลนิธิเอบาเปรอน: เพื่อช่วยสังคมหรือเพื่อสร้างเสริมบารมีตัวเอง ?

Main Article Content

นุชธิดา ราศีวิสุทธิ์

บทคัดย่อ

ตั้งแต่เริ่มดำเนินงานในโรงรถในทำเนียบประธานาธิบดีจนถูกยุบไปในปี ค.ศ. 1955 มูลนิธิเอบาเปรอนมีบทบาทสำคัญอย่างน่าเหลือเชื่อในขบวนการเปรอน บทความนี้ต้องการศึกษาการก่อตัวของมูลนิธิ จุดประสงค์ แหล่งเงินทุนและภารกิจในการช่วยเหลือคนยากจนเพื่อเสนอว่าในทางหนึ่งมูลนิธิเอบาเปรอนก่อตั้งขึ้นเพื่อให้ความช่วยเหลือด้านต่างๆ แก่คนยากจนโดยเฉพาะแรงงานนอกระบบ สตรี เด็ก เยาวชน และคนชรา บุคคลกลุ่มนี้เข้าไม่ถึงสิทธิประโยชน์จากสวัสดิการสังคมที่รัฐมอบให้ผ่านทางสหภาพแรงงาน เนื่องจากรัฐไม่สามารถพัฒนาระบบ สวัสดิการสังคมที่ครอบคลุมทั่วถึงและเป็นธรรม มูลนิธิเอบาเปรอนจึงเข้ารับบทบาทนี้แทน ในอีกทางหนึ่งเปรอนและเอบาใช้ประโยชน์จากมูลนิธิเพื่อผลทางการเมือง กล่าวคือ มูลนิธิช่วยสร้างภาพลักษณ์ให้เอบาดูเป็นคนเข้าถึงง่าย ทำงานหนักเกินกำลัง และอุทิศชีวิตเพื่อช่วยเหลือผู้ยากไร้ เอบิตาซึ่งเป็นชื่อที่กลุ่มผู้สนับสนุนเปรอนใช้เรียกเธอกลายเป็นนางฟ้าของคนยากหรือแม่พระแห่งความหวัง ขณะที่มูลนิธิเอบา เปรอนกลายเป็นผู้วิเศษที่สามารถตอบสนองความต้องการของคนยากจนได้ทันท่วงทีและมีประสิทธิภาพนอกจากนี้ เปรอนและเอบาใช้มูลนิธิเป็นเครื่องมือโกยฐานเสียงกลุ่มใหม่ที่ยังไม่ได้รวมเข้ามา ความช่วยเหลือทุกอย่างในมูลนิธิถูกนำมาเกี่ยวโยงกับการเมืองและถูกนำมาใช้เพื่อส่งผ่านอุดมการณ์ของเปรอน ดังนั้น มูลนิธิเอบาเปรอนจึงเป็นสะพานเชื่อมผู้ที่ได้รับความช่วยเหลือจากมูลนิธิเข้ากับขบวนการเปรอน

Article Details

บท
บทความประจำฉบับ

References

Ballent, Anahi. “Unforgettable Kitsch.” In The New Cultural History of Peronism: Power and Identity in Mid Twentieth-Century Argentina, edited by Matthew B. Karush and Oscar Chamosa.Durham: Duke University Press, 2010.

“¿De dónde venía el dinero?” Fundación de Investigaciones Históricas Eva Perón. http://www.evitaperon.org/recursos_eva_peron.htm (accessed December 20, 2014).

Elena, Eduardo. Dignifying Argentina: Peronism, Citizenship, and Mass Consumption. Pittsburgh, PA: University of Pittsburgh Press, 2011.

Fraser, Nicholas and Marysa Navarro. Evita: The Real Lives of Eva Perón. London: André Deutsch, 1996.

Fundación Eva Perón. Estatuto de la Fundación Eva Perón. Buenos Aires: Biblioteca Escolar de Documentos Digitales,1955. http://archivohistorico.educ.ar/sites/default/files/VI_62.pdf (accessed December 15, 2014).

Golbert, Laura. De la Sociedad de Beneficencia a los Derechos Sociales. Buenos Aires: Ministerio de Trabajo, Empleo y Seguridad Social, 2010.

James, Daniel. Doña María’s Story: Life History, Memory, and Political Identity. Durham: Duke University Press, 2000.

Navarro, Marysa. “The Case of Eva Perón.” Signs 3.1 (1977): 229-240.

Navarro, Marysa. “Wonder Woman Was Argentine and Her Real Name Was Evita.” Canadian Journal of Latin American and Caribbean Studies 24,48 (1999): 133-152.

Patroni, Viviana. “Discourse of Love and Hate: Eva Perón and the Labour Movement (1940s-1950s).” Canadian Journal of Latin American and Caribbean Studies 24, 48 (1999): 153-175.

Perón, Eva.La razón de mi vida, edición digital. Buenos Aires: Ediciones Peuser, 1951.

Plotkin, Mariano Ben. Mañana es San Perón: A Cultural History of Perón’s Argentina. Wilmington. Delaware: Scholarly Resources Inc., 2003.

Rock, David. Argentina 1516-1987: From Spanish Colonization to Alfonsín. Berkeley: University of California Press, 1987.

Ross, Peter. “Justicia Social: Una Evaluación de los Logros del Peronismo Clásico.” Anuario IEHSVIII (1993): 105-124.

Skidmore, Thomas E., Peter H. Smith, and James N. Green. Modern Latin America, 7th ed. New York: Oxford University Press, 2010.

Stawski, Martín Esteban. “Asistencia Social y Buenos Negocios: Política de la Fundación Eva Perón (1948-1955).” Master thesis, Universidad Nacional General Sarmiento, 2008.

Viladrich, Anahí and Andrés A. Thompson. “Women and Philanthropy in Argentina: from the Society of Beneficence to Eva Perón.” International Journal of Voluntary and Nonprofit Organizations 7.4 (December 1996): 336-349.