“ผู้หญิง” กับบทบาทการเป็นครูดนตรีไทย (พ.ศ. 2475 - 2500)
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มุ่งศึกษาการเปลี่ยนแปลงบทบาทและสถานภาพของผู้หญิงที่เป็นนักดนตรีไทยตั้งแต่ พ.ศ. 2475 - 2500 จากการศึกษาพบว่า การเปลี่ยนแปลงบทบาทและสถานภาพนักดนตรีผู้หญิงในช่วงนี้มาจากปัจจัย 3 ประการ ประการแรก คือ ความคลี่คลายของระบบอุปถัมภ์แบบจารีตที่ได้รับการสนับสนุนจากชนชั้นนำในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาสู่ระบบอุปถัมภ์ในระบบราชการของระบอบรัฐธรรมนูญ ที่มีภาพลักษณ์ของความเสมอภาค ประการถัดมา คือ ภาพลักษณ์ของผู้หญิงภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองที่แตกต่างจากสังคมจารีตทั้งเรื่องความคาดหวังของสังคมที่มีต่อผู้หญิง ค่านิยมของผู้หญิงโดยเฉพาะเรื่องการประกอบอาชีพ ประการสุดท้ายคือ นโยบายของรัฐบาลซึ่งมุ่งอนุรักษ์วัฒนธรรมซึ่งสืบเนื่องมาตั้งแต่สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ให้เป็นลักษณะประจำชาติผ่านหน่วยงานสำคัญ คือ กรมศิลปากร อย่างไรก็ตาม “ครู” ดนตรีไทยผู้หญิงที่เติบโตในช่วงเวลานี้แม้จะสามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ทางด้านดนตรีไทยในวงกว้างเช่นเดียวกับครูผู้ชายอื่นๆ แต่ก็ไม่สามารถมีบทบาทพ้นจากครูดนตรีผู้ใหญ่ได้ด้วยกรอบวัฒนธรรมการดนตรีที่ดำรงรูปแบบจารีตอย่างเด่นชัด
Article Details
ลิขสิทธิ์บทความเป็นของผู้เขียนและสงวนสิทธิ์ตามกฎหมาย
ข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฏในวารสารนี้เป็นของผู้เขียน คณะกรรมการวารสาร ภาควิชาประวัติศาสตร์ฯ กองบรรณาธิการ ตลอดจนกรรมการกลั่นกรองประจำฉบับ ไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องกับข้อคิดเห็นเหล่านั้น
References
กฎหมายตราสามดวง เล่ม 1. พิมพ์ครั้งที่ 2. พระนคร: คุรุสภา, 2515.
คลอริช, เวลส์. การปกครองและการบริหารของไทยสมัยโบราณ แปลโดย กาญจนี สมเกียรติกุล และ ยุพา ชุมจันทร์. กรุงเทพฯ: สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย, 2519.
เจนดุริยางค์, พระ. 110 ปี ศาสตราจารย์พระเจนดุริยางค์ ผู้วางรากฐานดนตรีสากลของไทย. กรุงเทพฯ: เอราวัณการพิมพ์, 2536.
ชัยธวัช ตุลาธน, บรรณาธิการ. พระพรหมช่วยอำนวยให้ชื่นฉ่ำ เศรษฐกิจการเมืองว่าด้วยทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์หลัง 2475. นนทบุรี: ฟ้าเดียวกัน, 2557.
ณรงค์ เขียนทองกุล. “ความเชื่อกับดนตรีไทย,” วารสารมนุษยศาสตร์. เล่มที่ 6 (2541).
ณัฐวดี ชนะชัย. “สตรีในสังคมสมัยใหม่: ศึกษากรณีสตรีซึ่งประกอบอาชีพพยาบาล (พ.ศ. 2439 - 2485).” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529.
ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระ. ตำนานโรงเลี้ยงเด็กของพระอัครชายาเธอฯ พิมพ์ถวายเจ้าภาพในงานพระศพสนองคุณพระวิมาดาเธอ กรมพระสุทธาสินีนาฎ ปิยมหาราชปดิวรัดา เมื่อพระศพครบศตมาห ณ วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ 2472. พระนคร: โสภณพิพรรฒธนากร, 2472.
ดําารงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอฯ กรมพระยา. ตำนานเครื่องมโหรีปี่พาทย์. กรุงเทพ ฯ: พระจันทร์, 2473.
ธัญรัด จันทร์ปลั่ง. “การศึกษาวิวัฒนาการภารกิจทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมของสถาบันอุดมศึกษาของไทย (พุทธศักราช 2459 - 2549).” วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาอุดมศึกษา ภาควิชานโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา คณะครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550.
นครินทร์ เมฆไตรรัตน์. “ประวัติศาสตร์ภูมิปัญญาของการเปลี่ยนแปลงสยามระหว่าง พ.ศ. 2470 - 2480.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, ภาควิชาประวัติศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528.
นรุตม์, ลําาดับเรื่อง. ในวังแก้ว หม่อมเจ้ามารยาตรกัญญา ดิศกุล. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: แพรวสำนักพิมพ์, 2537.
บุปผา ทิพย์สภาพกุล. “ทัศนะของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรต่อนโยบายวัฒนธรรม ของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม (พ.ศ. 2481 - 2487).” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, ภาควิชาประวัติศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529.
ปัญญา รุ่งเรือง. ประวัติการดนตรีไทย. กรุงเทพฯ: บริษัทโรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิชจำกัด, 2546.
_____. จากมุขปาฐะสู่ลายลักษณ์: การฟื้นฟูโน้ตเพลงไทยฉบับครู ในการประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ครั้งที่ 39 สาขาสังคมศาสตร์สาขาบริหารธุรกิจสาขาเศรษฐศาสตร์สาขาศึกษาศาสตร์สาขาคหกรรมศาสตร์สาขามนุษยศาสตร์ 5 - 7 กุมภาพันธ์ 2544.
ปิยนาถ บุนนาค. การปฏิรูปการปกครองในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกับผลกระทบต่อโลกทัศน์และภูมิปัญญาทางการเมืองของข้าราชการ (พ.ศ. 2435 - 2475) ทุนอุดหนุนเพื่อเพิ่มพูนและพัฒนาประสิทธิภาพทางวิชาการ. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2538.
ปิยวรรณ อัศวราชันย์. “ความคิดของผู้นำและกิจกรรมของหญิงไทยในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ภายใต้เงากองทัพญี่ปุ่น.” JSN Journal. 2, 1 (ตุลาคม 2555).
เปรมสิรี ศักดิ์สูง. “อาชีพครูผู้หญิง ความไม่เสมอภาคทางเพศในวิชาชีพ (พ.ศ. 2456 - 2479).” วารสารประวัติศาสตร์ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประจำปี 2550 (มกราคม - ธันวาคม).
พงษ์ศิลป์ อรุณรัตน์. ปฐมบทดนตรีไทย. นครปฐม: โครงการตำราและหนังสือคณะอักษรศาสตร์มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2550.
พรเพ็ญ ฮั่นตระกูล. “การใช้จ่ายเงินแผ่นดินในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. 2453 - 2468).” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, แผนกวิชาประวัติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2517.
พูนพิศ อมาตยกุล. พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวกับการดนตรี. นครปฐม: วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล, 2554.
_____. นามานุกรมนักดนตรีไทย 200 ปี กรุงรัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2532.
_____. จดหมายเหตุดนตรี 5 รัชกาล พุทธศักราช 2411-2549.กรุงเทพ ฯ: มูลนิธิหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง), 2550.
_____. เหมวดี พิมพ์เนื่องในงานพระราชทานเพลิงพระศพ พระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าเหมวดี วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2516 ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส. กรุงเทพฯ: กรุงสยามการพิมพ์, 2516.
พูนพิศมัย ดิศกุล, ม.จ. สิ่งที่ข้าพเจ้าพบเห็น: ประวัติศาสตร์การเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: มติชน, 2546.
ภัทรวดี ภูชฎาภิรมย์. “สถานภาพของนักดนตรีปี่พาทย์ในสังคมไทย พ.ศ. 2411 - 2468.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, ภาควิชาประวัติศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2536.
_____. วัฒนธรรมบันเทิงในชาติไทย การเปลี่ยนแปลงของวัฒนธรรมความบันเทิงในสังคมกรุงเทพ ฯ พ.ศ. 2491 - 2500. กรุงเทพฯ: มติชน, 2550.
มงเชเญอร์, ปาเลกัวซ์. เล่าเรื่องกรุงสยาม. แปลโดย สันต์ ท. โกมลบุตร. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ก้าวหน้า, 2520.
มยุรี นกยูงทอง. “ปัญหาเศรษฐกิจของไทยในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. 2468 - 2477).” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, แผนกวิชาประวัติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2520.
มูลนิธิหลวงประดิษฐ์ไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง). อนุสรณ์คำนึงในวาระฉลองรอบร้อยปีเกิดหลวงประดิษฐ์ไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง). กรุงเทพฯ: บัวหลวงการพิมพ์, 2524.
ราชกิจจานุเบกษา. “ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยรัฐนิยมฉบับที่ 7 เรื่องชักชวนให้ชาวไทยร่วมกันสร้างชาติ” 56 : 84 (25 มีนาคม 2483).
_____. “ประกาศสำนักนายกรัถมนตรี เรื่อง ระเบียบเครื่องแบบแต่งกายข้าราชการไนเวลาทําางานปกติ” เล่ม 59 (23 เมษายน 2485).
ลาลูแบร์. จดหมายเหตุลาลูแบร์. แปลโดย สันต์ ท. โกมลบุตร. กรุงเทพฯ: รุ่งเรืองรัตน์, 2510.
วันทนีย์ วาสิกะสิน. สังคมสงเคราะห์แนวสตรีนิยม: ทฤษฎีและการปฏิบัติงาน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2546.
วารุณี โอสถารมย์. “การศึกษาในสังคมไทย พ.ศ. 2411 - 2475.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, ภาควิชาประวัติศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2524.
ศิลปากร, กรม. องค์ความรู้เรื่องพิธีไหว้ครูดนตรีไทย. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, 2552.
สิริชัยชาญ ฟักจําารูญ. “วิวัฒนาการและอนาคตของวิทยาลัยนาฏศิลป์ในการพัฒนาศิลปวัฒนธรรมไทย.”วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาพัฒนศึกษา ภาควิชาสารัตถศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539.
สุจิตต์ วงษ์เทศ, บรรณาธิการ. หลวงประดิษฐ์ไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) มหาดุริยกวีลุ่มเจ้าพระยาแห่งอุษาคเนย์. กรุงเทพฯ: มติชน, 2547.
อติภพ ภัทรเดชไพศาล. ดนตรี พื้นที่ เวลา. กรุงเทพฯ: โอเพ่นบุ๊กส์, 2553.
อัญชลี สุสายัณห์. รวมบทความวิชาการของอาจารย์อัญชลี สุสายัณห์. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2545.
มูลนิธิหลวงประดิษฐ์ไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง). มหกรรมดนตรีศรีรัตนโกสินทร์ ฉลอง 120 ปีเกิด หลวงประดิษฐ์ไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) วันที่ 2 - 5 สิงหาคม พ.ศ. 2544 ณ โรงละครแห่งชาติ. https://www.youtube.com/watch?v=j_2rxKIbJWU (สืบค้นเมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2558).
ศูนย์สังคีตศิลป์ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด(มหาชน). “รายการ 100 ปี พระสุจริตสุดา ครั้งที่ 807 วันศุกร์ที่15 ธันวาคม 2538”. https://www.youtube.com/watch?v=Ea2Tu0BSc2I (สืบค้นเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2558).
Barme, Scot. Woman, Man, Bangkok: Love, Sex and Popular Culture in Thailand. Lanham: Rowman&Littlefield, 2002.
Crawfurd, John. Journal of an Embassy to the Courts of Siam and Cochin China. H.L. Oxford University Press, 1967.
Kingbury, Joseph B. Personnel Administration for Thai Students. Second Printing; Bangkok: Institute of Public Administration, Thammasat University, 1963.
Suwadee T. Pattana, “Gender Relations in Thai Society: A Historical Perspective,” in Power, Knowledge and Justice, ed.Suwanna Satha-Anand. Seoul : Ewha Women University Press, 2004.