ประวัติศาสตร์ภูมิปัญญาของลัทธิขงจื่อในญี่ปุ่น สมัยเอโดะ: กรณีศึกษาเบื้องต้นว่าด้วยโอะงีว โซะไร
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้เป็นการวิจัยในทางประวัติศาสตร์ภูมิปัญญา ว่าด้วยโครงการทางปรัชญา (Philosophical project) ลัทธิขงจื่อในประเทศญี่ปุ่นยุคเอโดะ (Edo period, ค.ศ. 1603-1868) ของนักคิดผู้มีชื่อเสียงนามว่า โอะงีว โซะไร (Ogyu Sorai, ค.ศ. 1666-1728) ซึ่งอ้างว่าแนวทางคำสอนของตนนั้นคือ การกลับไปหาวิถีทางดั้งเดิมของลัทธิขงจื่อที่ถูกบิดเบือนไปโดยพวกนักปรัชญาขงจื่อใหม่ในสมัยหลังๆ ผู้วิจัยทำการศึกษาแนวคิดทางปรัชญาของโซะไรโดยมีกรอบการวิจัยตามหลักประวัติศาสตร์ภูมิปัญญาเพื่อชี้ให้เห็นปรัชญาของโซะไรนั้นไม่ได้ดำรงอยู่อย่างลอยๆ เป็นเอกเทศอิสระโดยไม่เกี่ยวข้องกับบริบททางประวัติศาสตร์และสังคมของญี่ปุ่นที่หล่อหลอมและกำกับแนวคิดทางปรัชญาของเขาขึ้นมา ผู้วิจัยพบว่า โครงการทางปรัชญาลัทธิขงจื่อของโซะไรนั้น ไม่ได้เป็นการกลับไปสู่คำสอนของขงจื่อเองอย่างที่โซะไรกล่าวอ้าง หากแต่เป็นการทำให้ปรัชญาขงจื่ออยู่ในฐานะที่รับใช้เป้าหมายทางการเมืองของญี่ปุ่นยุคเอโดะอันเป็นยุคสมัยของโซะไร
Article Details
ลิขสิทธิ์บทความเป็นของผู้เขียนและสงวนสิทธิ์ตามกฎหมาย
ข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฏในวารสารนี้เป็นของผู้เขียน คณะกรรมการวารสาร ภาควิชาประวัติศาสตร์ฯ กองบรรณาธิการ ตลอดจนกรรมการกลั่นกรองประจำฉบับ ไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องกับข้อคิดเห็นเหล่านั้น
References
โกโต-โจนส์, คริสโตเฟอร์. ญี่ปุ่นสมัยใหม่: ความรู้ฉบับพกพา. แปลโดย พลอยแสง เอกญาติ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ openworlds, 2554.
ปกรณ์ ลิมปนุสรณ์. ปรัชญาเกี่ยวกับมนุษย์ของจูซี. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต, ภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2524.
ปกรณ์ ลิมปนุสรณ์. “วิวาทะทางปัญญาและกลวิธีทางวรรณศิลป์ในปรัชญานิพนธ์เมิ่งจื่อ.” วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาวรรณคดีและวรรณคดีเปรียบเทียบ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552.
พิพาดา ยังเจริญ. จักรพรรดิ ขุนนาง นักรบ และพ่อค้าในสังคมญี่ปุ่นก่อนสมัยใหม่. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546.
ศริญญา อรุณขจรศักดิ์. “การศึกษาเบื้องต้นว่าด้วยการขัดเกลาจริยธรรมในปรัชญาของหวังหยังหมิง.” การประชุมทางวิชาการหัวข้อ “เหตุเกิดในราชวงศ์หมิง.” คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 5 กุมภาพันธ์ 2553.
ศริญญา อรุณขจรศักดิ์. “ปรัชญาของของจูซี: การอ่านกับการขัดเกลาจริยธรรม.” การประชุมทางวิชาการหัวข้อ “เหตุเกิดในราชวงศ์ ซ่ง.” คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 28 มิถุนายน 2556.
สุวรรณา สถาอานันท์. หลุนอี่ว์: ขงจื่อสนทนา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551.
Howland, Douglas R. “Samurai Status, Class, and Bureaucracy: A Historiographical Essay.” in The Journal of Asian Studies 60, no. 2 (May, 2001): 353-380.
Kojiro, Yoshikawa. Jinsai Sorai Norinaga: Three Classical Philologists of Mid-Tokugawa Japan. Tokyo: Toho Gakkai, 1983.
Kramers, Robert P. “The Development of the Confucian Schools.” in Cambridge History of China: Volume I: the Ch’in and Han Empires, 221 B.C. – A.D. 220, 747-765. Cambridge: Cambridge University Press, 1986.
Lidin, Olof G. Ogyu Sorai: Distinguishing the Way (Bendo). Tokyo: Sophia University Press, 1970.
Lidin, Olof G. The Life of Ogyu Sorai: A Tokugawa Confucian Philosopher. Lund: Studentlitteratur, 1973.
Masao, Maruyama. Studies in the Intellectual History of Tokugawa Japan. Translated by Mikiso Hane. Tokyo: University of Tokyo Press, 1974.
McEwan, J.R. The Political Writings of Ogyu Sorai. Cambridge: Cambridge University Press, 1962.
Najita, Setsuo., eds. Tokugawa Political Writings. Cambridge: Cambridge University Press, 1998.
Naoaki, Hiraishi. Ogyu Sorai’s Confucianism: An Analysis of Its Modern Nature. (Occasional papers in politics and political thought; no. 1) University of Tokyo, Institute of Social Science, 1987.
Tsunoda, Ryusaku, William Theodore de Bary and Donald Keene, eds. Sources of Japanese Tradition Volume 1. New York: Columbia University Press, 1958.
Tucker, John A. Ogyu Sorai’s Philosophical Masterworks: The Bendo and Benmei. Hawai’i: University of Hawai’i Press, 2006.
Xinzhong, Yao. An Introduction to Confucianism. Cambridge: Cambridge University Press, 2000.