การปะทะกันของแนวคิดอุดมการณ์สมัยใหม่ ในงานประวัติศาสตร์นิพนธ์ทาสยุคโบราณ
Main Article Content
บทคัดย่อ
ในแวดวงวิชาการประวัติศาสตร์โบราณ ประเด็นการศึกษาเรื่องทาสและการบังคับใช้แรงงานมนุษย์ (Slavery and Servile Systems) เป็นกรณีศึกษาที่มีข้อขัดแย้งถกเถียงค่อนข้างสูง (Polemical Field) อันเป็นผลมาจากทรรศนะวิธีคิดทางศีลธรรมสมัยใหม่ที่ให้คุณค่ากับเสรีภาพ และชีวิตมนุษย์ที่มุ่งเขียนประวัติศาสตร์ด้วยน้ำเสียงและการนำเสนอกล่าวโทษความโหดร้ายทารุณของระบบทาสในยุคโบราณ ซึ่งสวนทางกับกรอบการอธิบายแบบบริบทยุคโบราณ (Antiquarianism) หรือ “โบราณนิยม” (ผู้เขียน) ว่าระบบกำลังคนในรูปของแรงงานทาสนั้น มีความสำคัญยิ่งต่อพัฒนาการและการสร้างสรรค์อารยธรรมมนุษย์ในยุคโบราณโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มอารยธรรมกรีก-โรมัน (Greco-Roman Civilization) อันเป็นทั้งอัตลักษณ์และพื้นฐานความเจริญของอารยธรรมตะวันตก จากการปะทะกันทางทัศนคติและศีลธรรมนี้ ยังผลให้เกิดระเบียบวิธีการศึกษาตลอดจนการนิพนธ์ประวัติศาสตร์ทาสโบราณ บนพื้นฐานของค่านิยมทางศีลธรรมอุดมการณ์ที่หลากหลายเรื่อยมา บทความชิ้นนี้จะทำการศึกษาพัฒนาการและปัจจัยแวดล้อมขององค์ความรู้ประวัติศาสตร์โบราณกลุ่มนี้ เพื่อให้เห็นถึงภาพรวมของการโต้แย้งทางประวัติศาสตร์ยุคโบราณในประเด็นการศึกษาที่มีความขัดแย้งสูงในหมู่นักประวัติศาสตร์สมัยใหม่
Article Details
ลิขสิทธิ์บทความเป็นของผู้เขียนและสงวนสิทธิ์ตามกฎหมาย
ข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฏในวารสารนี้เป็นของผู้เขียน คณะกรรมการวารสาร ภาควิชาประวัติศาสตร์ฯ กองบรรณาธิการ ตลอดจนกรรมการกลั่นกรองประจำฉบับ ไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องกับข้อคิดเห็นเหล่านั้น
References
Bradley, Keith. Slavery and Society at Rome. Cambridge: Cambridge University Press, 1994.
Burrow, John. A History of Histories. New York: Alfred A. Knopf, 2008.
Ciccotti, Ettore. Il tramonto della schiavitù nel mondo antico. Torino: F. Bocca, 1899.
Engels, Frederick. The Origin of the Family, Private Property and the State, 1884. Retrieved December 24, 2011, from http://www.marxists.org/archive/marx/works/1884/origin-family/
Finley, M.I. Ancient Slavery and Modern Ideology. New York: Penguin Books, 1983.
Heeren, Arnold H.L. Reflections on the politics of Ancient Greece. Translated by Bancroft, George. Boston: Cummings, Hilliard, 1824.
Marx, Karl. The German Ideology including Theses on Feuer bachand Introduction to the Critique of Political Economy. New York: Prometheus Books, 1998.
Meyer, E. ‘Die Sklaverei im Altertum’, Kleine Schriften. Halle (Saale): M. Niemeyer, 1910.
McKeown., Niall. The Invention of Ancient Slavery?. London: Duckworth, 2007.
Patterson, Orlando. Slavery. The Annual Review of Sociology 3 (1977): 407-449.
Slavery and Social Death: A Comparative Study. Massachusetts: Harvard University Press, 1982.
Vogt, Joseph. Sklaverei und Humanitat. Translated by Wiede mann, Thomas. Ancient Slavery and the Ideal of Man. (1974) Oxford: Basil Blackwell, 1965.
Wallon, Henri. Histoire de l’esclavage dans l’antiquit ́e; 1st edn. 1847, 2nd edn1879. Paris, 1988.
Westermann, William. L. The Slave Systems of Greek and Roman Antiquity. Philadelphia: The American Philosophical Society, 1955.