บอมเบย์: ภาพยนตร์สะท้อนความรุนแรง ของชุมชนมุสลิมในการจลาจลในนครบอมเบย์ (ค.ศ.1992 -1993)?
Main Article Content
บทคัดย่อ
ภาพยนตร์เรื่อง บอมเบย์ (Bombay) ที่ออกฉายในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1995 เป็นภาพยนตร์อินเดียเรื่องแรกที่นำปัญหาการจลาจลทางเชื้อชาติในนครบอมเบย์ (หรือมุมไบในปัจจุบัน) ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงต้นเดือนธันวาคม ค.ศ. 1992 ถึงกลางเดือนมกราคม ค.ศ. 1993 มาเป็นแกนหลักของเรื่อง ภาพยนตร์นี้แม้จะได้รับคำชมเชยว่าสนับสนุนแนวคิดฆราวาสนิยม (secularism) และการสมานฉันท์ปรองดองระหว่างชุมชนฮินดูกับมุสลิม แต่นักวิจารณ์จำนวนหนึ่งทั้งชาวอินเดียและชาวต่างชาติมีความเห็นว่า นำเสนอภาพความรุนแรงของชาวมุสลิมมากกว่าชาวฮินดู ในการพิสูจน์ข้อถกเถียงนี้ ผู้เขียนได้ทดลองให้นักศึกษา 13 คนที่เรียนวิชาประวัติศาสตร์เอเชียใต้สมัยใหม่ในปีการศึกษา 2556 ชมภาพยนตร์ดังกล่าว ได้ข้อสรุปว่า นักศึกษาจำนวน 11 คน มีความเห็นตรงกันว่า ภาพของชาวมุสลิมในเรื่องมีความรุนแรงกว่าในด้านการใช้กำลังทำร้ายผู้คน เผาอาคารสถานที่ต่างๆ ในการจลาจล บางคนยังเสนอว่าภาพยนตร์เรื่องนี้ แสดงนัยยะว่าชุมชนมุสลิมในอินเดียมีแนวโน้มการใช้พฤติกรรมรุนแรงในการแก้ปัญหาในครอบครัวอีกด้วย
Article Details
ลิขสิทธิ์บทความเป็นของผู้เขียนและสงวนสิทธิ์ตามกฎหมาย
ข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฏในวารสารนี้เป็นของผู้เขียน คณะกรรมการวารสาร ภาควิชาประวัติศาสตร์ฯ กองบรรณาธิการ ตลอดจนกรรมการกลั่นกรองประจำฉบับ ไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องกับข้อคิดเห็นเหล่านั้น
References
บทปริทัศน์ภาพยนตร์ เรื่อง Bombay ของนักศึกษาวิชาประวัติศาสตร์เอเชียใต้สมัยใหม่ ปีการศึกษา 2556 13 ฉบับ
จรัญ มะลุลีม. วิกฤตฮินดู-มุสลิม: จากอโยธยาสู่บอมเบย์. กรุงเทพฯ: อิสลามิค อะเคเดมี, 2537.
Akhtar, Javed. “Lifting the Veil: A Daring Film Explores Hindu-Muslim Relations.” Asiaweek Vol. 21, Issue 33 (1995), 30-31.
Berardinelli, James “Bombay” A Film Review by 1996 http://www.reelviews.net/movies/b/bombay.htm (สืบค้นเมื่อวันที่ 3 กันยายน 2556)
Chandra, Bipan et al. India After Independence 1947-2000. Delhi: Penguin Books, 2000.
Dissanayake, Wimal and K. Moti Gokulsing. Indian Popular Cinemaa narrative of cultural change.Stoke on Trent, England: Trentham Books, 2004.
Guha,Ram Chandra. India After Gandhi. London: Macmillan/Pan Books, 2007.
Luce, Edward. In Spite of the Gods The Rise of Modern India. New York: Anchor Books, 2007.
Mallhi, Angie. “The Illusion of Secularism: Mani Ratnam’s Bombay and the Consolidation of Hindu Hegemony.” 2055 CAPI Essay Competition Winner Occasional Paper# 3 February 2006. http://www.uvicca/research/centercapi/assets/docs/Mallhi_-Illusion-of-Secularismpdf. (สืบค้นเมื่อวันที่ 3 กันยายน 2556)
Pendakur, Manjunath. Indian Popular Cinema: Industry, Ideology, and consciousness. Cresskill. New Jersey: Hampton Press, 2003. http://en.wikipedia.org/wiki/Bombay(film) (สืบค้นเมื่อวันที่ 3 กันยายน 2556)
http://en.wikipedia.org/wiki/BombayRiots (สืบค้นเมื่อวันที่ 3 กันยายน 2556)
http://en.wikipedia.org/wiki/Mani_Ratnam#Early-life-and-background (สืบค้นเมื่อวันที่ 3 กันยายน 2556)
http://www.hindustantimes.com/Mumbai-s-festering-wound/Article1-239048.aspx. (สืบค้นเมื่อวันที่ 3 กันยายน 2556)
http://www.mcot.net/site/content?id=4ff671cd0b01dabf3c00f1ee#UiX0mn-E-vA (สืบค้นเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2556)