การพัฒนากิจกรรมเสริมสร้างจิตสาธารณะของนักเรียนโดยใช้ตัวแบบ Developing Public Mind Activities for Students by using Modelling

Main Article Content

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์ Chaiwat Sutthirat

Abstract

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากิจกรรมเสริมสร้างจิตสาธารณะของนักเรียนโดยใช้ตัวแบบและศึกษาระดับจิตสาธารณะของนักเรียนหลังการจัดกิจกรรมเสริมสร้างจิตสาธารณะโดยใช้ตัวแบบ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดกิจกรรมพัฒนาจิตสาธารณะ และแบบสังเกตพฤติกรรมด้านจิตสาธารณะของนักเรียน สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัยพบว่า


          1. กิจกรรมเสริมสร้างจิตสาธารณะของนักเรียนโดยใช้ตัวแบบ มี 7 องค์ประกอบ คือ หลักการและเหตุผล แนวคิดพื้นฐาน วัตถุประสงค์ โครงสร้างกิจกรรม วิธีการจัดการเรียนรู้ เนื้อหา และการวัดผลประเมินผล โดยกิจกรรมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x} = 4.66)


           2. นักเรียนมีจิตสาธารณะหลังการจัดกิจกรรมเสริมสร้างจิตสาธารณะโดยใช้ตัวแบบโดยรวม อยู่ในระดับขั้นการพัฒนาเป็นลักษณะนิสัย (gif.latex?\bar{x} = 4.55) และมีพัฒนาการจิตสาธารณะโดยรวมสูงขึ้นตามลำดับ คือ หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 มีจิตสาธารณะอยู่ในระดับขั้นการเห็นคุณค่า ( gif.latex?\bar{x} = 3.45) หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 มีจิตสาธารณะอยู่ในระดับขั้นการจัดระบบ ( gif.latex?\bar{x} = 3.97) และหน่วยการเรียนรู้ที่ 3  มีจิตสาธารณะอยู่ในระดับขั้นการพัฒนาเป็นลักษณะนิสัย (gif.latex?\bar{x}  = 4.55)


          This research aims to develop public mind activities as well as to investigate students’ achievement after participated in public mind activities. In the study, 30 students from grade 7 will be examined. The research too consisting of public mind activity plans and observation tools will be utilized, meanwhile mean and standard deviation will be used to conduct statistic.


                The results are as follows:


          1. The components of public mind activities have 7 elements comprising of principle and reason, concepts, objective, learning process, structure, content, and evaluation. The quality of public mind activities was at the highest level ( gif.latex?\bar{x}= 4.66).


          2.The post-test activities revealed that students have the public mind in characteristic level ( gif.latex?\bar{x} = 4.55). And all 3 public mind levels of the students have been improved respectively; valuing level (gif.latex?\bar{x}  = 3.45),  organizing level (gif.latex?\bar{x}  = 3.97) and characteristic level ( gif.latex?\bar{x} = 4.55).

Article Details

How to Cite
Chaiwat Sutthirat ช. ส. (2019). การพัฒนากิจกรรมเสริมสร้างจิตสาธารณะของนักเรียนโดยใช้ตัวแบบ: Developing Public Mind Activities for Students by using Modelling. SOCIAL SCIENCES RESEARCH AND ACADEMIC JOURNAL, 14(1), 41–50. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/JSSRA/article/view/170906
Section
Research Articles

References

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2555). สอนเด็กให้มีจิตสาธารณะ (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: วีพรินท์.

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2561). สอนเด็กให้มีจิตสาธารณะ (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: วีพรินท์.

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ : บริษัทสุวีริยาสาส์น จำกัด.

ประเวศ วะสี. (2541). ปฏิรูปการศึกษายกเครื่องทางปัญญาทางรอดจากความหายนะ. กรุงเทพฯ: มูลนิธิศรีสฤษดิ์วงศ์.

พรทรัพย์ ชื่นในเมือง. (2554). ผลของการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวตามแนวคิดพฤติกรรมนิยมที่มีต่อการพัฒนาพฤติกรรมการมีจิตสาธารณะของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสตรีราชินูทิศจังหวัดอุดรธานี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาการแนะแนว). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, กรุงเทพฯ.

พรทิพย์ มนตรีวงษ์. (2554). การพัฒนาจิตสาธารณะในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ด้วยการให้การศึกษากลุ่ม แบบพิจารณาเหตุผล อารมณ์และพฤติกรรม. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาจิตวิทยาการให้คำปรึกษา). มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.

สุชาดา จักรพิสุทธิ์. (2547). ชุมชนกับการมีส่วนร่วมจัดการศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 27, 18-23.

อรนิตย์ ภูเขียว. (2560). การพัฒนากิจกรรมเพื่อเสริมสร้างจิตสาธารณะสำหรับนักเรียนระดับชั้น มัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (สาขาการวิจัยและพัฒนาทางการศึกษา). มหาวิทยาลัยราชภัฏ พิบูลสงคราม, พิษณุโลก.

Bandura, A. (1977). Social Learning Theory. England Cliffs, New Jersey: Prentice-Hall.

Bloom, B. S., G. F. Madaus and J. T. Hastings. (1981). Evaluation to Improve Learning. Handbook II: Affective Domain. New York : Mckey Company.