ผลกระทบจากการปรับตัวต่อการท่องเที่ยวของชุมชนปกาเกอะญอ บ้านแม่ปิง อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน The Effect of Adapting to the Tourism of Pga K’nyau Community Ban Mae Ping, Pai District, Mae Hong Son Province

Main Article Content

ธันยพร นาตัน และคณะ Tanyaporn Natan and Others

Abstract

                  การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบและการปรับตัวของชุมชนปกาเกอะญอบ้านแม่ปิง ภายใต้กระแสการท่องเที่ยวในอำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน กลุ่มตัวอย่าง แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ 1) หัวหน้าครัวเรือนหรือสมาชิกในครัวเรือนที่สามารถสื่อสารได้ด้วยภาษาไทย จำนวน 164 คน โดยใช้แบบสอบถาม จากนั้นคัดเลือก จำนวน 10 คน โดยใช้การสัมภาษณ์ และ 2) ผู้นำชุมชน ได้แก่ ผู้ใหญ่บ้าน และผู้นำทางศาสนา รวมทั้งหมดจำนวน 3 คน โดยใช้การสัมภาษณ์ เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ ประกอบการจดบันทึกข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ค่าร้อยละ และวิเคราะห์เนื้อหาร่วมกับการบรรยายเชิงพรรณนา   


                  ผลการวิจัย พบว่า การเข้ามาของการท่องเที่ยวทำให้ชุมชนเกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านกายภาพ ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม และด้านอัตลักษณ์อย่างเห็นได้ชัด แม้ว่าจะส่งผลดีในด้านเศรษฐกิจจากนโยบายการท่องเที่ยวที่ส่งเสริมสินค้าโอทอปให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น ซึ่งส่งผลให้ชุมชนมีรายได้เพิ่มมากขึ้นจากการทำอาชีพเสริม แต่ในขณะเดียวกันได้ส่งผลกระทบทางด้านลบ โดยเฉพาะด้านกายภาพเป็นอย่างมาก ได้แก่ เกิดการบุกรุกพื้นที่ป่าและพื้นที่ในชุมชน เกิดการลักลอบขายที่ดินให้แก่นายทุน รวมทั้งเกิดผลกระทบด้านสังคมและด้านอัตลักษณ์ถูกลดทอนคุณค่าลง ทั้งความสัมพันธ์ของคนในครอบครัว การแต่งกาย และภาษาปกาเกอะญอที่กำลังจะสูญหายไป  ทั้งนี้ชุมชนได้มีการปรับตัวโดยตั้งกฎและข้อบังคับขึ้นเพื่ออยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขและลดปัญหาจากการท่องเที่ยวที่เข้ามา โดยเสนอแนะให้หน่วยงานรัฐตระหนักถึงผลกระทบ ทำการจัดการกับปัญหาดังกล่าว และให้ความสำคัญด้านการส่งเสริมให้เห็นถึงความเป็นชุมชนชาติพันธุ์ที่แท้จริง เพื่อรักษาอัตลักษณ์ดั้งเดิมของชุมชนท้องถิ่นไว้ไม่ให้เปลี่ยนแปลงหรือสูญหายไปตามความเจริญที่เข้ามา


                Pga K’nyau tribe at Ban Mae Ping is the most unique community in the way of life, dress, and language, compared to other ethnic groups nearby, which is the attraction for tourists to enter the area. Being the important tourist attraction point of Pai and being actively promoted by government agencies for its eco-tourism, the community is affected by tourism. Being affected by tourism, the community’s identity is declining. The main purpose of this research is to study the impact and adaptation of the Pga K’nyau community in Ban Mae Ping under the flow of tourism in Pai, Mae Hong Son Province. This research conducts both qualitative and quantitative research by collecting the data from observations, questionnaire responses of 164 Pga K’nyau household members and interviews with 13 community leaders in Ban Mae Ping, Moo 4, Mae Hi Subdistrict, Pai District, Mae Hong Son Province.


                  The results of the study show that the arrival of tourists has caused environmental, economic and social impacts to the community. Although it is beneficial to the economy from tourism policies that promote OTOP products to be more well-known which results in the community having unearned income from the a side job, there are some negative impacts on the physical aspect including the invasion of forest and the sale of land to the capitalists. There are also some negative impacts on the socio-cultural aspect. These impacts have been diminished the relationship of family members, how they dress and native dialect that leads to the dying of Pga K’nyau language. The community has adapted by setting rules and regulations in order to live together peacefully and reduce the problems of incoming tourism by requesting the government agencies to realize these impacts, to deal with such problems and to promote the true ethnicity in order to preserve the identity of the local community so that it does not change or disappear because of tourism impacts.

Article Details

Section
Dissertations

References

นพคุณ ชูทัน. (2555). ยุทธศาสตร์การพัฒนาชุมชนเมืองน่าอยู่ตามอัตลักษณ์เมืองมรดกโลกจังหวัดกำแพงเพชร. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์, 7(18), 15-26.

ยศ สันตสมบัติ. (2544). การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ความหลากหลายทางวัฒนธรรมและการจัดการทรัพยากร. เชียงใหม่: วิทอินดีไซน์.

วีระพล ทองมา และประเจต อำนาจ. (2547). ผลที่เกิดขึ้นจากการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวต่อประชาชนในพื้นที่ตำบลแม่แรม อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: รายงานผลการวิจัยมหาวิทยาลัยแม่โจ้.

อดิศร เรือลม. (2546). ผลกระทบของการท่องเที่ยวที่มีผลต่อการพัฒนาเมือง: กรณีศึกษาเมืองแม่ฮ่องสอน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

องค์การบริหารส่วนตำบลแม่ฮี้ อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน. (2557). แผนพัฒนาสามปี (พ.ศ.2558 – 2560). สืบค้นเมื่อ 6 เมษายน 2558, จาก https://www.maehee.go.th/assets/uploads/img_news/283d9-plan-3-years.pdf.

Lankford, S. and Howard, D. (1994). Developing a Tourism Impact Attitude Scale. Annals of Tour Research. 21(1), 121-139.

Miles, M. B. and Huberman, A. M. (1994). Qualitative data analysis: An expanded sourcebook. Sage Publications, Inc.

Roy, C., Sr. and Andrews, H. A. 1999. The Roy Adaptation Model. 2 ed. Stamford, Connecticut: Appletion and Lange.

Stranback, M. H. and Pearce, W. B. 1981. Talking to the men: Some communication strategies used by members of subordinate social groups. New York: Quarterly Jourmal of Speech.