รูปแบบการเสริมสร้างจิตสาธารณะของนักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา Model to Enhance Public Mind of Prince of Songkla University Students, Hat Yai Campus, Songkhla Province

Main Article Content

เจตน์สฤษฎิ์ สังขพันธ์ และคณะ Jedsarid Sangkapan and Others

Abstract

                   บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อจิตสาธารณะของนักศึกษา และ (2) รูปแบบการเสริมสร้างจิตสาธารณะของนักศึกษา ใช้วิธีการเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามตัวแปรปัจจัยภายนอก ปัจจัยภายใน  และจิตสาธารณะ เป็นลักษณะมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จากกลุ่มตัวอย่าง 400 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ เพื่อหาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อจิตสาธารณะ วิเคราะห์ข้อมูลถดถอยพหุคูณ  ส่วนวิธีเชิงคุณภาพสนทนากลุ่มจากผู้ให้ข้อมูล 2 ครั้ง เพื่อหารูปแบบการเสริมสร้างจิตสาธารณะ นำข้อมูลมาจำแนกประเด็น ตีความ สร้างข้อสรุป นำเสนอเชิงพรรณนาวิเคราะห์ 


                  ผลการวิจัยพบว่า (1) ปัจจัยภายในด้านการรับรู้ความสามารถของตนเอง ด้านการคล้อยตามผู้อื่น  ปัจจัยภายนอกด้านการสนับสนุนจากสถาบันการศึกษา และด้านการสนับสนุนจากเพื่อนมีอิทธิพลต่อการสร้างจิตสาธารณะของนักศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01  ในขณะที่ปัจจัยภายในด้านการรับรู้ด้านคุณธรรมจริยธรรมมีอิทธิพลต่อการสร้างจิตสาธารณะของนักศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01  ส่วนปัจจัยภายนอกด้านการสนับสนุนจากครอบครัวมีอิทธิพลต่อการสร้างจิตสาธารณะของนักศึกษาอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05   โดยปัจจัยสามารถร่วมกันทำนายพยากรณ์ได้ร้อยละ 95.10 (2) รูปแบบการเสริมสร้างจิตสาธารณะเป็นลักษณะเชื่อมร้อยปัจจัยภายในกับกับปัจจัยภายนอกเข้าด้วยกันโดยแบ่งเป็น 4 รูปแบบคือ 1) เข้าร่วมชมรมจัดกิจกรรมเพื่อสาธารณะประโยชน์อย่างต่อเนื่อง 2) สอดแทรกในกิจกรรมการเรียนการสอน 3) จัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อมที่ดีในการเรียนการสอน การทำกิจกรรมในมหาวิทยาลัย  4) ใช้ตัวแบบที่ดีจากอาจารย์ รุ่นพี่ และเพื่อน ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีเพื่อนำไปสู่เป้าหมายการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของนักศึกษาให้มีจิตสาธารณะเพิ่มมากขึ้น


                 The objective of this article is to study (1) the factors which influence the public mind of the students and (2) the model of the public mind enhancement of the students. The research methodology used quantitative and qualitative methods to collect data by using questionnaires, variables, external factors, internal factors, and public minds as a 5-level estimation scale from 400 samples using accidental sampling methods to find factors that have Influence on the public mind. Analyzing multiple regression data. Qualitative methods used focus group from data providers twice in order to find ways to enhance public mind. Data were used to classify, interpret, create conclusions and present descriptive analysis.  


             The results showed that: (1) Internal factors in perceived self-efficacy with regard to others, external factors, support from educational institutions and the support from friends influenced the public mind building of students with statistical significance at .001 level, while the internal factors in terms of perception of morality, ethics have an influence on the public mind building of students with statistical significance at .01 level. The external factors of family support influenced the public mind building of students with no statistical significance at the level of .05. The factors can predict 95.10 percent. (2) The model of the promotion of public mind is a form of connecting internal and external factors by dividing into 4 forms 1) Joining the club to organize activities for public benefits continuously 2) Insert in educational activities teaching 3) Setting up a good atmosphere for teaching and learning and activities in the university. 4) Using good models from teachers, seniors, and friends to behave as models. It aims to contribute to changing the behavior of students in the public mind with the increase.

Article Details

How to Cite
Jedsarid Sangkapan and Others เ. . ส. แ. (2020). รูปแบบการเสริมสร้างจิตสาธารณะของนักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา: Model to Enhance Public Mind of Prince of Songkla University Students, Hat Yai Campus, Songkhla Province. SOCIAL SCIENCES RESEARCH AND ACADEMIC JOURNAL, 14(3), 63–78. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/JSSRA/article/view/192160
Section
Research Articles

References

โกศล มีความดี. (2547). ปัจจัยทางจิตสังคมที่เกี่ยวข้องกับการมีจิตสาธารณะของข้าราชการตํารวจ. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์). สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร, กรุงเทพฯ.

เจตน์สฤษฎิ์ สังขพันธ์. (2554). โมเดลเชิงสาเหตุผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในภาวะรอพินิจของนักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาพัฒนามนุษย์และสังคม). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา.

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2553). สอนเด็กให้มีจิตสาธารณะ. กรุงเทพฯ: วี พรินท์ (1991).

เจียมจิตต์ ไชยลังกา. (2554). การวิเคราะหอ์งคป์ระกอบคุณลักษณะที่พึงประสงคด์ด้านจิตสาธารณะของนักเรียนชั้นประถมศึกษาโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงราย เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาวิจัยและประเมินผลการศึกษา). มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, เชียงราย.

ดลฤดี จันทร์แก้ว. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อจิตสาธารณะของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์, 9(1), 122-133.

ทวนทอง เชาวกีรติพงศ์, และสมชัย วงษ์นายะ. (2560). แนวทางการพัฒนาจิตสาธารณะของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. สักทอง: วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (สทมส.), 23(2), 51-61.

นฤมล ช่องชนิล, สลักจิต นพคุณ, และจิราภรณ์ โภชกปริภัณฑ์. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีจิตสาธารณะของนักศึกษาวิทยาลัยเซนต์หลุยส์. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 8, 198-207.

บุญเรือง กันกรด, เทียมจันทร์ พานิชย์ผลินไชย, สมบัติ นพรัก, สำราญ มีแจ้ง. (2556). รูปแบบการบริหารกิจกรรมจิตสาธารณะในโรงเรียนเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 15(ฉบับพิเศษ), 103-112.

ปรีชา คำมาดี, และประสพชัย พสุนนท์. (2558). มูลเหตุจูงใจในการมีจิตสาธารณะของนักศึกษาระะดับอุดมศึกษาในจังหวัดระยอง. ใน การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 6 วันที่ 26 มิถุนายน 2558 มหาวิทยาลัยหาดใหญ่, (หน้า 93-94). สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม, และสังคม สัญจร. (2543). สำนึกไทยที่พึงปรารถนา. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

ภัทรภร สีทองดี. (2559). การพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมจิตสาธารณะของนิสิตในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ: กรณีศึกษามหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ดุษฎีนิพนธ์หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.

ศิริสุข นาคะเสนีย์, ชุลี ปัญจะผลินกุล และศศิวิมล โมอ่อน. (2557). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมจิตสาธารณะของนักศึกษาคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.

สมปอง ช่วยพรม, และวารีรัตน์ แก้วอุไร. (2559). การพัฒนารูปแบบกิจกรรมเสริมสร้างจิตสาธารณะตามหลักการเรียนรู้แบบรับใช้สังคม สําหรบนักเรียนระดับประถมศึกษา. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลําปาง, 5(2), 133-146.

สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่สิบเอ็ด พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

สุพจน์ ทรายแก้ว. (2546). จิตสำนึกสาธารณะการก่อรูปและกระบวนการเสริมสร้าง. วารสารเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์, 4(1), 45.

สุรีย์พร แซ่เอี๊ยบ, และพลพจน์ เชาว์วิวัฒน์. (2561). การเสริมสร้างพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านจิตสาธารณะในสังคมไทยด้วยหลักสังคหวัตถุ 4. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์, 13(38), 1-14.

เสริมศ ไชยศร, วารุณี บุญ-ทอง และอุตินันท์ สมุทร์ทัย. (2559). ความมีจิตสาธารณะของนักศึกษา ครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงรายที่เรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ด้วยการรับใช้สังคม. วารสารวิชาการเครือข่ายบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ, 6(11), 81-96.

Burns, N., & Grove, S. K. (1997). The Practice of Nursing Research: Conduct Critique and Utilization. (3rd ed.) Chicago: Rand Mcnally.

Cronbach, L. J. (1951). Coefficient Alpha and The Internal Structure of Tests. Psychometrika, 16(3), 297-334.

Hair, J., Blak, W. C., Barbin, B.J., Anderson, R.E., & Tatham, R.L. (2010). Multivariate data analysis. New Jersey: Upper Sandle River, Prentice Hall.

Nunnally, J., & Bernstein, I. (1994). Psychometric theory. New York:McGraw-Hill.