ผลของการให้การปรึกษาแบบกลุ่มด้วยการสัมภาษณ์เพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจต่อความรับผิดชอบในการเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 The Results of Group Advisement on Motivational Interviewing to Responsibility for Learning of Secondary 1

Main Article Content

ธัญญาภรณ์ คำแก้ว และคณะ Tanyaporn Kamkaew and Others

Abstract

                   การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบความรับผิดชอบในการเรียนก่อนและหลังเข้าร่วมทดลอง    2) เพื่อเปรียบเทียบความรับผิดชอบในการเรียนระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม และ 3) เพื่อเปรียบเทียบความรับผิดชอบในการเรียนระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผลของกลุ่มทดลอง  ตัวอย่าง  คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวัดชัยมงคล (เขตปทุมวัน)  ที่ได้คะแนนความรับผิดชอบในการเรียนระดับน้อยและสมัครใจเข้าร่วมการทดลอง จำนวน 16 คน โดยใช้เครื่องมือวิจัย ประกอบด้วย โปรแกรมการให้การปรึกษาแบบกลุ่มด้วยการสัมภาษณ์เพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจต่อความรับผิดชอบในการเรียน  และแบบวัดความรับผิดชอบในการเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ Wilcoxon Sign-Rank Test  Mann-Whitney U test ค่าเฉลี่ยเลขคณิต และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


                ผลการวิจัย พบว่า


                1. นักเรียนกลุ่มทดลองหลังเข้าร่วมการให้การปรึกษาแบบกลุ่มด้วยการสัมภาษณ์เพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจมีคะแนนความรับผิดชอบในการเรียนสูงกว่าก่อนเข้าร่วมการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มด้วยการสัมภาษณ์เพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจ 


                2. นักเรียนกลุ่มทดลองที่เข้าร่วมการให้การปรึกษาแบบกลุ่มด้วยการสัมภาษณ์เพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจมีคะแนนความรับผิดชอบในการเรียนสูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุม 


                3. นักเรียนกลุ่มทดลองที่เข้าร่วมการให้การปรึกษาแบบกลุ่มด้วยการสัมภาษณ์เพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจต่อความรับผิดชอบในการเรียนในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผลมีคะแนนความรับผิดชอบไม่แตกต่างกัน


                 The objectives of the study were 1) to compare the responsibility of learning before and after participating in the experiment, 2) to compare the responsibility of learning between the experimental group and the control group, and 3) to compare responsibility for post-experiment study and follow up period of the experimental group. The samples were secondary 1 at Wat Chai Mongkhon School (Pathumwan District) who received low level of responsibility for learning and voluntarily participated in the experiment by using 16 people. The research tool consists of group counseling programs with interviews to strengthen motivation for study responsibility and the study responsibility test. Data analysis was performed using the Wilcoxon Sign-Rank Test, Mann-Whitney U test and standard deviation.


                The results of the research showed that:


               1. Students in experimental group after participating in group counseling by motivation interview had higher education responsibility scores before joining group counseling by reinforcing interview motivation. 


                2. The students in the experimental group that participated in group counseling by motivation interview were higher than those of the control group. 


                3. The students in the experimental group that participated in group counseling by interview for motivation to study responsibility in the post-experiment and follow up periods had no different responsibility scores.

Article Details

Section
Dissertations

References

กิดานันท์ ชำนาญเวช. (2551). การปรึกษาเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม.

คณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2545). สํานักพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 2545-2549: กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

ชัญญา บุญรักษ. (2556). ผลการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อเสริมสร้างจิตสำนึกและความรับผิดชอบต่อการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนพรตพิทยพยัต กรุงเทพมหานคร. ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต แขนงวิชาการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา (สาขาวิชาศึกษาศาสตร์). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี.

ชีวัน เขียวจิตร. (2551). การศึกษารายกรณีนักเรียนที่มีพฤติกรรมหนีเรียน. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

พิชัย แสงชาญชัย. (2549). ตำราจิตเวชศาสตร์การติดสารเสพติด. กรุงเทพฯ: สํานักงานงบประมาณความช่วยเหลือด้านการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด.

ภรณ์ทิพย์ ศิริกุลวิเชฐ, ศรีสมร สุริยาศศิน และอุมาภรณ์ สุขารมณ์. (2562). ผลการให้การปรึกษาแบบกลุ่มตามทฤษฎีการเรียนรู้ทางปัญญาสังคมต่อการมีวินัยในตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 14(1), 76-90.

มงคล ศัยยกุล. (2557). รูปแบบการปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการเพื่อพัฒนาแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏ. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์, 9(25), 79-94.

รัชนี อุทัยพันธ์. (2555). ผลของการสัมภาษณ์เพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจแบบกลุ่มต่อความร่วมมือในการรักษาด้วยยาของผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตร์บัณฑิต (สาขาวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

รำเพียร แช่มชื่น. (2549). ผลการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มตามทฤษฎีเผชิญความจริงที่มีต่อความรับผิดชอบในการเรียนนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. โรงเรียนอนุกูลนารี อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต (สาขาวิชาจิตวิทยาการให้คำปรึกษา). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.

เลขาธิการสภาการศึกษา. (2552). ข้อเสนอปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ 2 (พ.ศ. 2552-2561). กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต. (2556). ทฤษฎีและเทคนิคการปรับพฤติกรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักผู้ตรวจราชการประจำเขตตรวจราชการที่ 3 จังหวัดลพบุรี. (2550). รายงานการวิจัย : การจัดการพฤติกรรมที่เป็นปัญหาของนักเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เขตตรวจราชการที่ 5. ลพบุรี: สำนักผู้ตรวจราชการประจำเขตตรวจราชการที่ 3.

สุขุมาภรณ์ เอี่ยมสําอาง. (2551). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยบางประการที่ส่งผลต่อความรับผิดชอบของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

องค์อร ประจันเขตต์. (2551). ผลของการให้การปรึกษาโดยการสัมภาษณ์เพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจต่อความสม่ำเสมอในการรับประทานยาต้านไวรัส. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล, กรุงเทพฯ.

อัญชิสา สุรีย์แสง. (2553). การใช้กิจกรรมพัฒนาความมีวินัยในตนเองของนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 โรงเรียนอรุณประดิษฐ จังหวัดเพชรบุรี. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาจิตวิทยาชุมชน). มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพฯ.

อัศนีย์ ณ คีรี. (2558). ผลของการให้คำปรึกษากลุ่มเพื่อเสริมสร้างอัตลักษณ์แห่งตนของวัยรุ่นชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยง. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต (สาขาวิจัยและพัฒนาศักยภาพมนุษย์). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

Corey, G. (2012). Theory and ptactice of group counseling (8th ed.). Belmont, CA: Brooks/Cole, Cengage Learning.

Miller, W.R., & Rollnick, S. (1991). Motivational interviewing: Preparing people to change addictive behavior. New York: Guilford Press.

Prochaska, J. O., & DiClemente, C. C. (1983). Stages and processes of self-change of smoking: Toward an integrative model of change. Journal of Counseling and Clinical Psychology, 51, 390-395.