การบริหารสถานศึกษาด้วยภาวะผู้นำเชิงจิตวิญญาณ School Administration by Spiritual Leadership

Main Article Content

ลัดดา จุลวงศ์ Ladda Chulawongs
ศักดิ์ชัย นิรัญทวี Sakchai Niranthawee

Abstract

                 ภาวะผู้นำเชิงจิตวิญญาณ (Spiritual Leadership) เป็นคุณลักษณะ พฤติกรรมหรือกระบวนการของผู้นำที่มีความเชื่อมั่นศรัทธาในคุณธรรม ความดีงามอย่างมั่นคงและให้ความสำคัญกับคุณค่าทางจิตใจมากกว่าคุณค่าในเชิงวัตถุหรือเรื่องที่เป็นรูปธรรม เป็นแบบอย่างในการนำความรักความเมตตาสู่การกระทำที่เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น เป็นหนึ่งในภาวะผู้นำที่มุ่งให้ความสำคัญในเรื่องการเห็นคุณค่าที่แท้จริงและศักยภาพของความเป็นมนุษย์ พัฒนามาจากรูปแบบทฤษฏีแรงจูงใจภายใน    เพื่อสร้างศักยภาพในการเปลี่ยนแปลงองค์การเชิงบวกในการทำงานให้เกิดประสิทธิภาพ ภาวะผู้นำเชิงจิตวิญญาณมีองค์ประกอบสำคัญ 3 ประการคือ วิสัยทัศน์ (Vision) ความหวัง/ศรัทธา (Hope/Faith) และความรักที่เห็นแก่ผู้อื่น (Altruistic Love) ส่วนแนวทางการสร้างภาวะผู้นำเชิงจิตวิญญาณของผู้บริหารสถานศึกษามีหลายช่องทางทั้งผ่านการฝึกอบรม ผ่านพฤติกรรมองค์การ ผ่านการกระทำเพื่อสิ่งที่สูงส่ง และผ่านความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับชุมชน นอกจากนี้ผู้บริหารสถานศึกษายังต้องเน้นพัฒนาตนเองจากภายในอันเป็นรากฐานสำคัญ  การมีภาวะผู้นำเชิงจิตวิญญาณของผู้บริหารจะสามารถนำพาบุคลากรในสถานศึกษาให้เกิดความรักและความไว้วางใจกัน เกิดความร่วมมือในการส่งเสริมการเรียนรู้ร่วมกัน เกิดความทุ่มเททั้งแรงกายแรงใจให้กับการดำเนินการต่าง ๆ เพื่อบรรลุผลตามเป้าหมายอันเป็นประโยชน์ต่อสถานศึกษา สังคมและประเทศชาติต่อไป 


             Spiritual leadership is a trait or process for leaders who firmly believe in morality, goodness and pay more attention to mental values than objects or concrete matters. It’s a good role model in bringing love and compassion into action that benefit to others. Spiritual leadership is one of leadership that focusses on the realization of the value and potential of humility. Developed from the theory of internal motivation, to create the potential to change the organization positively in the workplace to be effective. In this case, spiritual leadership has three important elements : Vision, Hope/Faith and Altruistic love. As for the ways of creating spiritual leadership of school administrators, there are many channels which are through training, organizational behavior, action for the noble things and trough close relationships with the community. In additional, school administrators must develop themselves from within which is very important basic element.   Spiritual leadership of executives can lead the people in the school to create love and trust between everybody in the group. There is cooperation in promoting learning together, and help to put forth all the energy and effort into various activities to achieve the goals that benefit the school, society and the nation.

Article Details

Section
Academic Articles

References

กระทรวงศึกษาธิการ กรมวิชาการ. (2544). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ. พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม. (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

เกษม วัฒนชัย. (2560). สืบสานพระราชปณิธาน “การศึกษาไทย”. กรุงเทพฯ: มูลนิธิยุวสถิรคุณ.

คณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, สำนักงาน. (2558). การจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564). สืบค้นเมื่อ 16 สิงหาคม 2562, จาก www.nesdb.go.th

พงศ์เทพ สุธีรวุฒิ. (2552). การจัดการระบบสุขภาวะ. สืบค้นเมื่อ 18 สิงหาคม 2562, จาก http://www.oknation.net/blog/pongtheps/

พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมมจิตโต). (2549). พุทธวิธีบริหาร. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.

พัชนี สมกำลังและยุทธชัย ไชยสิทธิ์. (2555). แนวคิดความเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณ: การประยุกต์ใช้ในวิชาชีพพยาบาล. วารสารสภาการพยาบาล, 27(4), 16-25.

ณัฐณิชา หงส์ชัย. (2559). การพัฒนาภาวะผู้นำเชิงจิตวิญญาณของผู้บริหารโรงเรียนเอกชนระดับประถมศึกษาในกรุงเทพมหานคร.

วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิตสาขาวิชาบริหารการศึกษาภาควิชานโยบายการจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา. คณะครุศาสตร์: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณัฐวุฒิ พงศ์สิริ. (2553). ใครคือผู้นำทางจิตวิญญาณ Spiritual Leadership. บทความ กรุงเทพธุรกิจ วันอังคารที่ 15 มิถุนายน 2553.

รภัศศา พิมพา. (2557). ภาวะผู้นำของนิสิตครูหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต (กศ.บ.5 ปี). ปริญญา นิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต (สาขาวิชาบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

รัตติกรณ์ จงวิศาล. (2556). ภาวะผู้นำ: ทฤษฏี การวิจัย และแนวทางสู่การพัฒนา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งมหาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คพับลิเคชั่น.

ศักดิ์สินี เอมะศิริ. (2557). ผู้นำแห่งอนาคต : คุณธรรม การนำร่วม และการเปลี่ยนแปลงจากภายใน. โครงการผู้นำแห่งอนาคต ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล. นครปฐม: วี.พริ้นท์ (1991).

วิจารณ์ พาณิช. (2556). สถาบันอุดมศึกษากับการเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณ. บทความประกอบ หนังสือการประชุมวิชาการประจำปี จิตตปัญญาศึกษา ครั้งที่ 5 เรื่อง “ภาวะผู้นำ จิตวิญญาณและการพัฒนามนุษย์” มหาวิทยาลัยมหิดล ระหว่างวันที่ 21-22 พ.ย. 2556.

Fry, L.W. (2003). Toward a theory of ethical and spiritual leadership. The leadership Quarterly, 16(5), 619-622.

Fry, L.W. (2003). Spiritual Leadership and Organizational Performance: An Exploratory Study. Tarleton State University, Central Texas.

Klenke, K.(2003). The “s” factor in leadership education, practice, and research. Journal of education for business, 4(7), 56-60.

Yukl, G. (2010). Leadership in Organizations. 7th ed. New Jersey: Prentice Hall.

Zoha, Danah. (2005). Spiritual Intelligent Leadership. (cite Oct, 2019). Available from: URL: https://doi.org/10.1002/ltl. 45-51