การพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรตามแนวทางมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนที่มีผลต่อพฤติกรรมความตั้งใจซื้อของผู้บริโภค: กรณีศึกษากลุ่มนวดเพื่อสุขภาพ วัดคลองคาง อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ The Development of Herbal Products following the Community Product Standard affecting Willingness to Pay Behavior: A Case Study of Massage for Health Group of Wat Klong Kang, Amphur Muang, Nakhon Sawan Province
Main Article Content
Abstract
งานวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบริบทการดำเนินงาน และศักยภาพของกลุ่มนวดเพื่อสุขภาพวัดคลองคาง อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพร 2) เพื่อพัฒนาแนวความคิดผลิตภัณฑ์สมุนไพรของกลุ่มนวดเพื่อสุขภาพวัดคลองคาง อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ ตามแนวทางของมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน 3) เพื่อศึกษาความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์สมุนไพรผู้บริโภคในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ กลุ่มที่หนึ่ง เจ้าอาวาสวัดคลองคาง และสมาชิกกลุ่มนวดเพื่อสุขภาพวัดคลองคาง จำนวน 11 คน กลุ่มที่สอง ผู้บริโภคในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ ที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี จำนวน 395 ตัวอย่าง เครื่องมือหรือวิธีการที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามกึ่งโครงสร้าง การประชุมกลุ่มระดมความเห็น และแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลแบบเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์ด้วยการใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มนวดเพื่อสุขภาพวัดคลองคาง มีแนวคิดในการพัฒนาสมุนไพรว่านสาวหลง ซึ่งมีสรรพคุณมีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรียที่ก่อโรคทางผิวหนังได้ดีที่สุด นำไปพัฒนาเป็นแนวคิดผลิตภัณฑ์ได้ จำนวน 3 แนวความคิด ได้แก่ น้ำมันหอมระเหยว่านสาวหลง หมอนรองคอลูกประคุบ และสบู่สมุนไพรว่านสาวหลง ผู้ตอบแบบสอบถามโดยส่วนใหญ่มีความตั้งใจซื้อน้ำมันหอมระเหยว่านสาวหลง เป็นอันดับแรก อยู่ในระดับมาก รองลงมาอันดับที่สอง คือ หมอนรองคอลูกประคบ และรองลงมาอันดับที่สาม คือ สบู่สมุนไพรว่านสาวหลง
This research aims to: 1) study the operational context and the potential of the health massage group in the development of herbal products at Wat Klong Kang, Mueang district, Nakhon Sawan province
2) develope the herbal products concept of health massage group, Wat Klong Kang, Mueang district, Nakhon Sawan province according to the guidelines of community product standards 3) to study the intention to buy herbal products for consumers in Mueang district, Nakhon Sawan province. The sample group used in this research consists of two main groups. The first group consist of Abbot of Wat Klong Kang and members of the Health Massage Group, Wat Klong Kang, totally 11 samples. The second group was consumers in Mueang District Nakhon Sawan Province with age over 18 years olds, totally 395 samples. Tools or methods used for collecting data are semi-structured questionnaires, brainstorming in order to exchange opinions and questionnaires. Data were analysed by writing in a sort explain the nature of the study, Chemical testing of Wan Sao Long, and analysis by using descriptive statistics such as percentage and standard deviation.
The results of the study showed that the health massage group at Wat Klong Kang has a product concept for the development of Wan Sao Long which has the best anti-bacterial properties causing skin diseases. Wan Sao Long was developed into 3 product concepts, including essential oils, Wan Sao Long Neck pillow and herbal soap Wan Sao Long. Most respondents were willing to buy essential oils from Wan Sao Long in a high level. Secondly, respondents were willing to buy neck compress pillow. Thirdly, respondents were willing to buy the herbal soap Wan Sao Long.
Article Details
References
กรุงเทพฯธุรกิจ. (2559). เผยตลาดสบู่ยังไปได้สวยยืนยันลูกค้าทั้งไทยและเทศปลื้ม. สืบค้นเมื่อ วันที่ 20 มกราคม 2562. (ออนไลน์) https://www.bangkokbiznews.com/pr/detail/19779
คณาจารย์สาขาจุลชีววิทยา. (2557). คู่มือปฏิบัติการจุลชีววิทยา. เชียงใหม่: ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
นงเยาว์ เทพยา. (2549). ความมหัศจรรย์ของสบู่สมุนไพร. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, 1(2):156-164.
ธารารัตน์ อินสว่าง และสิริลักษณ์ เจริญเขตร. (2558). เครื่องนวดลูกประคบสมุนไพร Herbal ball. เอกสารรายงานการวิจัยสิ่งประดิษฐ์ นวัตกรรม การแข่งขันทักษะวิชาชีพครั้งที่ 29 ปี การศึกษา 2558 ประเภทที่ 7 สิ่งประดิษฐ์ด้านการแพทย์และอาชีวอนามัย. กรุงเทพฯ: สำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนและสมาคมวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย.
ธิติยา ทองเกิน. (2561). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการวางแผนกลยุทธ์การตลาดเพื่อส่งเสริมการดำเนินงานของกลุ่มนวดเพื่อสุขภาพ กรณีศึกษา กลุ่มนวดเพื่อสุขภาพ วัดคลองคาง จังหวัด นครสวรรค์. วารสารวิชาการเครือข่ายบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภาค เหนือ, 8(4): 41-56.
ประพัสสร วรรณทอง. (2560). ความพึงพอใจของการใช้หมอนหลอดการแฟลดอาการปวดกล้ามเนื้อต้นคอในผู้มารับบริการศูนย์การแพทย์แผนไทย โรงพยาบาลขุนหาญ. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2561. (ออนไลน์) 203.157.165.4/ssko_presents/file.../ 3330800341696-9-4839.doc
พิมพร ลีลาพรพิสิฐ. (2553). ว่านสาวหลง” เสน่ห์พืชหอมล้านนา สู่งานวิจัยต้นแบบผลิตภัณฑ์. คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2562. (ออนไลน์) https://www.pharmacy.cmu.ac.th/web2553/n03.php
Taro Yamane. (1973 ). Statistics: An Introductory Analysis. 3rdEd. New York. Harper and Row Publications.
Thaiherbmedicine. (2559). สมุนไพร. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2561. (ออนไลน์) https://thaiherbmedicine.wordpress.com/