ศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงเกษตรในพื้นที่เชื่อมโยงเป้าหมาย โดยมีศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นจุดศูนย์กลาง Potential of Agrotourism in Area Linking Targeted by Khao Hin Son Royal Development Study Center, Chachoengsao as the Center Point
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสานระหว่างเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริการการท่องเที่ยว และทรัพยากรการท่องเที่ยวของศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ และศึกษาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงเกษตรในพื้นที่เชื่อมโยงเป้าหมาย โดยมีศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นจุดศูนย์กลาง เก็บรวมรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและสัมภาษณ์เชิงลึกกับนักท่องเที่ยวอิสระหรือกลุ่มหน่วยงานจากองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน และเจ้าของสถานที่ท่องเที่ยวเชิงเกษตร สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อน อันเนื่องมาจากพระราชดำริมีองค์ประกอบพื้นฐานของสถานที่ท่องเที่ยวที่เป็นไปตาม 5 องค์ประกอบ โดยองค์ประกอบที่อยู่ในระดับมากที่สุดได้แก่ ด้านสถานที่ท่องเที่ยว และด้านกิจกรรม ส่วนองค์ประกอบที่อยู่ในระดับมากได้แก่ ด้านความสะดวกในการเข้าถึง และด้านด้านสิ่งอำนวยความสะดวก สำหรับสถานที่ท่องเที่ยวเชิงเกษตรในพื้นที่เชื่อมโยงเป้าหมายมีศักยภาพในการรองรับนักท่องเที่ยวครบตามองค์ประกอบหลัก 3 ประการ คือ 1) สิ่งดึงดูดใจที่เกิดจากสถานที่ หรือเหตุการณ์ 2) สิ่งอำนวยความสะดวก และ 3) การเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว
This research is a mixed method between the quantitative research and qualitative research. This research to study agrotourism services and resources of Khao Hin Son Royal Development Study Center, and study on the potential of agrotourism in area linking targeted by Khao Hin Son Royal Development Study Center, Chachoengsao as the center point. The data was collected from questionnaires and in-depth interviews with independent tourists, or group of organizations from both public and private organizations, and owners of agrotourism attractions. Statistics for data analysis are frequency, percentage, average, and standard deviation.
The findings revealed that Khao Hin Son Royal Development Study Center has 5 basic elements of tourist attractions, with the highest level of elements such as attractions and activities. Elements are at a high level such as accessibility and amenities. For agro-tourism in the area linking targeted. There are three main components of the concept that includes 1) attraction from a site or event, 2) Amenities, and 3) Access to tourist attractions.
Article Details
References
กรมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2559). แผนฯ 12 ว่าด้วยภาคและเมืองเรื่องการท่องเที่ยว. สืบค้น 16 กรกฎาคม 2560, จาก http://www.etatjournal.com/web/menu-read-tat/menu-2016/menu-42016/752-42016-plan12
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2544). หลักสถิติ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กรุงศรีกูรูเอสเอ็มอี. (2563). ท่องเที่ยวและบริการ ธุรกิจทำเงินแม้แข่งขันกันสูง. สืบค้น 2 กรกฎาคม 2563, จาก https://www.krungsri.com/bank/th/plearn-plearn/tourism-and-services-businesses.html
ขวัญกมล ดอนขวา และจิตตานันท์ ติกุล. (2557). การพัฒนาคุณภาพการท่องเที่ยวเชิงเกษตรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารเทคโนโลยีสุรนารี, 8(1). สืบค้น 16 กรกฎาคม 2560, จากhttps://www.tci-thaijo.org/index.php/sjss/article/ download/ 19947/17404
งานบริการวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้–ชุมพร. (2562). การท่องเที่ยวโดยชุมชน:โอกาสของชุมชนและตลาดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. สืบค้น 2 กรกฎาคม 2563, จาก http://www.chumphon2. mju.ac.th/Outreach/?p=617
ชัชวาลย์ เรืองประพันธ์. (2539). สถิติพื้นฐาน. ขอนแก่น : โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา.
พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2543). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: สำนักทดสอบทางการศึกษาจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.
รัฐนันท์ พงศ์วิริทธิ์ธร. (2558). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงเกษตรเพื่อความยั่งยืน: โครงการหลวงปางดะ. วารสารเทคโนโลยีสุรนารี, 9(1). สืบค้น 16 กรกฎาคม 2560, จาก http://www.soctech.sut. ac.th/wr/web/journal/ zeWjR0bKGxUL.pdf
สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ. (2559) ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดฉะเชิงเทรา. สืบค้น 16 กรกฎาคม 2560, จาก http://www.rdpb.go.th/th/Studycenter/...0%B8%94%E0%B8%B3-v69
สำนักพัฒนาการท่องเที่ยว. (2557). คู่มือการตรวจประเมินมาตรฐานคุณภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร. กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์กรมการท่องเที่ยว.
Collier, A., & Harraway, S. (1997). The New Zealand tourism industry. (5th ed.). Auckland: Pearson Education New Zealand.
Dickman, S. (1997). Tourism: An Introductory Text. (3rd ed). Rydalmere, New South Wales: Holder Education.