แบบทดสอบวินิจฉัยสามลำดับขั้นเพื่อระบุมโนมติที่คลาดเคลื่อน เรื่องสมดุลเคมี Three Tier Diagnostic Test for Identifying Students’ Misconception in a Chemical Equilibrium Topic

Main Article Content

อรรถพล พลอยมีค่า และคณะ Attapon Ploymeekha and Others
จรรยา ดาสา Chanyah Dahsah

Abstract

               มโนมติที่คลาดเคลื่อนทางวิทยาศาสตร์ คือ ความเข้าใจต่อข้อเท็จจริงหรือหลักการทางวิทยาศาสตร์ที่แตกต่างไปจากมโนมติที่นักวิทยาศาสตร์นั้นยอมรับ ซึ่งมโนมติที่คลาดเคลื่อนนี้เป็นอุปสรรคสำคัญในการเรียนรู้ของผู้เรียน ดังนั้นผู้สอนจะต้องทราบมโนมติที่คลาดเคลื่อนของผู้เรียนก่อนที่จะวางแผนการจัดการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในการศึกษามโนมติที่คลาดเคลื่อนที่ผ่านมามักใช้แบบทดสอบมโนมติสองลำดับขั้น อย่างไรก็ตามจากงานวิจัยพบว่าแบบทดสอบวินิจฉัยสองลำดับขั้นไม่สามารถจำแนกกลุ่มมโนมติที่คลาดเคลื่อนกับการขาดมโนมติและมโนมติทางวิทยาศาสตร์กับคำตอบที่ถูกจากการเดาได้ ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงพัฒนาแบบทดสอบมโนมติสามลำดับขั้นเรื่องสมดุลเคมี เพื่อจำแนกผู้เรียนระหว่างกลุ่มดังกล่าว 


               จากการวิจัยได้ข้อสรุปว่า การพัฒนาแบบทดสอบวินิจฉัยมโนมติสามลำดับขั้น มีขั้นตอนและผลดังนี้ 1) ระบุเนื้อหา แนวคิดเชิงประพจน์ และสร้างแผนผังมโนมติ จากนั้นตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ ได้แนวคิดเชิงประพจน์จำนวน 14 แนวคิด 2) สำรวจเอกสารที่เกี่ยวข้องเพื่อหามโนมติคลาดเคลื่อนที่มักพบในเรื่องสมดุลเคมี จากการศึกษาพบมโนมติที่คลาดเคลื่อนทั้งหมด 16 มโนมติ 3) พัฒนาแบบทดสอบมโนมติสามลำดับขั้น โดยส่วนที่ 1 เป็นตัวเลือกคำตอบจำนวน 4 ตัวเลือก ส่วนที่ 2 เป็นการให้เหตุผลของคำตอบโดยการเขียนคำตอบ  และส่วนที่ 3 เป็นตัวเลือกแสดงความมั่นใจในคำตอบ 4) เก็บข้อมูลแบบทดสอบกับผู้เรียนที่ผ่านการเรียนเรื่องสมดุลเคมีมาแล้ว 56 คน และสัมภาษณ์ผู้เรียนเพิ่มเติม 3 กลุ่ม ที่มีระดับมโนมติที่ต่างกัน กลุ่มละ 3 คน เพื่อวิเคราะห์มโนมติคลาดเคลื่อน 5) สร้างตัวเลือกในส่วนการให้เหตุผล 5 ตัวเลือก ทำให้ได้แบบทดสอบวินิจฉัยสามลำดับขั้น เรื่องสมดุลเคมี ที่เป็นแบบเลือกตอบทั้งสามลำดับ 6) ประเมินแบบทดสอบรายข้อโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน พบว่า ทุกข้อมีค่า IOC ตั้งแต่ 0.67 - 1.00  ซึ่งอยู่ในระดับที่ใช้ได้ทุกข้อ 7) เก็บข้อมูลแบบทดสอบกับผู้เรียนจำนวน 120 คนที่ผ่านการเรียนเรื่องสมดุลเคมีมาแล้ว วิเคราะห์คุณภาพของแบบทดสอบ พบว่าแบบทดสอบสามารถวิเคราะห์จำแนกกลุ่มมโนมติระหว่างมโนมติที่คลาดเคลื่อนกับการขาดมโนมติและมโนมติทางวิทยาศาสตร์กับคำตอบที่ถูกจากการเดาได้ ซึ่งแบบทดสอบแต่ละข้อมีค่าความยากง่ายอยู่ในช่วง 0.16–0.65 ค่าอำนาจจำแนกอยู่ในช่วง 0.15-0.47 และมีค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับโดยใช้สูตร KR-20 ของคูเดอร์ริชาร์ดสัน เท่ากับ 0.701 


                Scientific misconception is an understanding of scientific facts or principles that is different from those accepted by scientists. The scientific misconception is a major obstacle to  learning. Thus, the teachers must know students’ misconception before planning their lesson for effective learning. To explore students’ misconceptions, two-tier diagnostic was used, however, it cannot make discrimination of misconceptions from the lack of knowledge and lucky guessing from the scientific concept. Thus, this research aims to develop a three-tier diagnostic test that could discriminate between those groups.


                The results of development process involves several steps as shown follows: 1) Identifying propositional knowledge statements and developing concept map, these were validated by three experts, 2) Examining related literature to explore misconceptions, there were 16 misconceptions found, 3) Developing multiple choice items (tier-1) with free response (tier-2) and confident level (tier-3),  4)  Examining students’ misconceptions from 56 students using the developed items, including focus group interviews of three groups of three students with different conceptual understanding, 5) Creating multiple choice response for the reason tier (tier-2) so now we had three-tier multiple choice items test, 6)  Evaluating the test’s items by three experts, the IOC was in range 0.67-1.00, so all items are at accepted level, 7) Testing the three tier diagnostic test by 120 students whose have learned  chemistry equilibrium, the results indicated that the test could be able to discriminate  students’ misconceptions from the lack of knowledge and lucky guessing from the scientific concept. Each test have an difficulty level at 0.16-0.65 with discrimination level at 0.15-0.47. The total test reliability of KR-20 is 0.701.

Article Details

Section
Dissertations

References

ฉันทนาพร แสงสุทธิเศรษฐ์. (2562). การพัฒนาแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง พันธะไอออนิก ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับแผนผังแนวคิด. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์, 14(3), 107-120.

ชัยยันต์ ศรีเชียงหา. (2554). การพัฒนาแนวคิดเรื่องสมดุลเคมีและเจตคติต่อวิชาเคมีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต (สาขาวิทยาศาสตร์ศึกษา). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

เชษฐา ปัทมสีแก้ว. (2561). การพัฒนาระบบการวินิจฉัยข้อบกพร่องทางการเรียนคณิตศาสตร์เรื่อง สมการของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์, 13(38), 105-118.

เซียดฟ้า แซ่ฉิน. (2536). การสร้างแบบทดสอบวินิจฉัยจุดบกพร่องในการเรียนวิชาเคมีเรื่องปริมาณสารสัมพันธ์ 1 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ (การวัดผลการศึกษา). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

ทัชยา อุดมรักษ์. (2557). ผลการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสังคมที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ และความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์, 9(26), 139-152.

ปราณี หลำเบ็ญสะ. (2559). หลักการวัดและประเมินผลการศึกษา. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 5-29.

มนัสสิริ อินทร์สวาท. (2559). การเปรียบเทียบคุณภาพของแบบสอบวินิจฉัยแบบสามระดับสำหรับมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนทาง คณิตศาสตร์ที่ใช้ระดับความมั่นใจที่แตกต่างกัน. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา, 12(3), 409-424.

เยาวเรศ ใจเย็น, และ นฤมล ยุตาคม. (2550). แนวคิดเรื่องสมดลุเคมี ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย. วารสารสงขลานครินทร์ ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 13(4), 541-553.

วิทยา ภาชื่น. (2553). การศึกษาผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้การเปรียบเทียบเพื่อส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงมโนมติเรื่องสมดุลเคมีของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต (สาขาวิทยาศาสตร์ศึกษา). มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2546). การจัดสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

สุพรรษา หอมฤทธิ์. (2559). การพัฒนาแบบทดสอบวินิจฉัยสี่ลำดับขั้นเพื่อศึกษาแนวคิดที่คลาดเคลื่อนและการขาดความรู้เรื่อง แรงและกฏการเคลื่อนที่ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ (สาขาวิทยาศาสตรศึกษา). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

อัจฉรีรัตน์ ศิริ. (2558). การสำรวจมโนมติทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง สารโคเวเลนต์และไอออนิกโดยใช้เทคนิคแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ร่วมกับบัตรแสดงพันธะเคมี. วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้, 6(2), 198-208.

Caleon, I., & Imelda, S. (2009). Do Students Know What They Know and What They Don’t Know ? Using a Four–Tier Diagnostic Test to Assess the Nature of Students’ Alternative Conceptions. Research science education, 2010(40), 313-337.

Deniz, G. & Etna, G. (2015). Development of Three-Tier Heat, Temperature and Internal Energy Diagnostic Test, Research in Science & Technological Education, 33(2), 197-217.

Kurniawa, Y. (2018). Investigation of The Misconception in Newton II. Jurnal Pena Sains, 5(1), 11-18.

Prodjosantoso, A. K. (2019). The Misconception Diagnosis on Ionic and Covalent Bonds Concepts with Three Tier Diagnostic Test. International Journal of Instruction, 12(1), 1477-1488.

Sulistri E. (2017). Using Three-tier Test to Identify The Quantity of Student That Having Misconception on Newton’s Laws of Motion Concept. Jurnal Ilmu Pendidikan Fisika, 2(1), 4-6.

Treagust, D. E., & Garnett, P. J. (1992). Conceptual Difficulties Experienced by Senior High School Students of Electrochemistry: Electric Circuits (Galvanic) and Electrolytic Cell. Journal of Research in Science Teaching, 29(10), 1079-1099.