การพัฒนาหลักสูตรการเตรียมความพร้อมด้านสุขภาพกาย สำหรับวัยกลางคนเพื่อเข้าสู่วัยชรายุค 4.0 The Development of Curriculum in Physical Health Preparation for the Middle Age into Becoming Elderly Age 4.0

Main Article Content

ปริญญภาษ สีทอง Parinyapast Seethong
สุธาสินี ยันตรวัฒนา Suthasinee Yantrawatthana

Abstract

               การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เ 1) เพื่อสร้างและตรวจสอบคุณภาพหลักสูตรการเตรียมความพร้อมด้านสุขภาพกายสำหรับวัยกลางคนเพื่อเข้าสู่วัยชรายุค 4.0 2) เพื่อทดลองใช้หลักสูตรการเตรียมความพร้อมด้านสุขภาพกายสำหรับวัยกลางคนเพื่อเข้าสู่วัยชรายุค 4.0 และ 3)เพื่อประเมินหลักสูตรการเตรียมความพร้อมด้านสุขภาพกายสำหรับวัยกลางคนเพื่อเข้าสู่วัยชรายุค 4.0 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ วัยกลางคนที่อาศัยอยู่ในตำบลทุ่งฝาย อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง จำนวน 30 คน โดยเลือกจากวัยกลางคนที่สนใจและเต็มใจเข้าร่วมโครงการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบบันทึกการจัดสนทนากลุ่ม หลักสูตรการเตรียมความพร้อมด้านสุขภาพกายสำหรับวัยกลางคนเพื่อเข้าสู่วัยชรายุค 4.0 คู่มือการใช้หลักสูตร แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบประเมินหลักสูตรการเตรียมความพร้อมด้านสุขภาพกายสำหรับวัยกลางคนเพื่อเข้าสู่วัยชรายุค 4.0 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบ t-test แบบ One Sample


ผลการวิจัยพบว่า


  1. หลักสูตรการเตรียมความพร้อมด้านสุขภาพกายสำหรับวัยกลางคนเพื่อเข้าสู่วัยชรายุค 4.0 มี 9 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ปัญหาและความจำเป็น 2) หลักการของหลักสูตร 3) จุดมุ่งหมายของหลักสูตร 4) ระยะเวลาในการศึกษา 5) คุณสมบัติของผู้เรียน 6) โครงสร้างและเนื้อหาหลักสูตร 7) กิจกรรมการเรียนการสอน 8) สื่อ ทรัพยากรและแหล่งเรียนรู้ 9) การวัดและประเมินผล ผลการตรวจสอบคุณภาพหลักสูตรโดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า หลักสูตรการเตรียมความพร้อมด้านสุขภาพกายสำหรับวัยกลางคนเพื่อเข้าสู่วัยชรา    ยุค 4.0 มีความเหมาะสมในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x}=4.37 , S.D. =0.31)

  2. วัยกลางคนที่เรียนด้วยหลักสูตรการเตรียมความพร้อมด้านสุขภาพกายสำหรับวัยกลางคนเพื่อเข้าสู่วัยชรายุค 4.0 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยเท่ากับ 32.67 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 82.42 และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

  3. ผลการประเมินหลักสูตรการเตรียมความพร้อมด้านสุขภาพกายสำหรับวัยกลางคนเพื่อเข้าสู่วัยชรายุค 4.0 ทั้ง 3 มิติในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x}= 4.25, S.D. = 0.26)

 


              The purpose of this research were 1) to develop and verify quality of the Curriculum in Physical Health Preparation for the Middle Age into Becoming Elderly Age 4.0. 2) to implement the Curriculum in Physical Health Preparation for the Middle Age into Becoming Elderly Age 4.0. and 3) to assess the quality of the Curriculum in Physical Health Preparation for the Middle Age into Becoming Elderly Age 4.0. The samples used for the experiment were 30 middle age who live in Thungfai Subdistrict, Muang Lampang
District, Lampang province and who were interested in willing to participate in research project by voluntary sampling. The research tools consisted of a focus group form, the Curriculum in Physical Health Preparation for the Middle Age into Becoming Elderly Age 4.0, the text use in the curriculum, an achievement test and the assessment Curriculum in Physical Health Preparation for the Middle Age into Becoming Elderly Age 4.0. The obtained data were analyzed into means, standard deviations and one sample t-test.


The results of the research were as follows:


  1. The Curriculum in Physical Health Preparation for the Middle Age into Becoming Elderly Age 4.0 consisted of 9 elements; Problem statement, Principle of curriculum, Aims of curriculum, Qualification, Period of time, Content structures, Activity, Materials Resources and Learning sources, Measurement and evaluation. The Curriculum in Physical Health Preparation for the Middle Age into Becoming Elderly Age 4.0 was then verified by experts found that the curriculum was the high level.

  2. The middle age studied with the Curriculum in Physical Health Preparation for the Middle Age into Becoming Elderly Age 4.0 had average achievement scores of 32.67 accounted for 82.42 % and had achievement after taking learning the curriculum higher than criteria 70% at a statistically significance difference at the .01 level.

  3. The three dimensions evaluated for the Curriculum in Physical Health Preparation for the Middle Age into Becoming Elderly Age 4.0 were in high levels.

 

Article Details

Section
Research Articles

References

กิ่งแก้ว อารีรักษ์และคณะ. (2548). การจัดการความรู้โดยใช้รูปแบบหลากหลาย. กรุงเทพฯ: เมธีทิปส์.

ใจทิพย์ เชื้อรัตนพงษ์. (2539). การพัฒนาหลักสูตร: หลักการแนวปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: อสีนเพรส.

ธํารง บัวศรี. (2542). ทฤษฎีหลักสูตร: การออกแบบหลักสูตรและพัฒนา. กรุงเทพฯ: ธนรัช.

นิภาพร ยอดแก้ว. (2553). การประเมินหลักสูตรลดระยะเวลาเรียนและหลักสูตรเพิ่มพูนประสบการณ์สำหรับนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษด้านคณิตศาสตร์ ช่วงชั้นที่ 4 เขตการศึกษาภาคใต้. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต (สาขาการวิจัยและประมิน). มหาวิทยาลัยทักษิณ, สงขลา.

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2556). รายงานประจำปีสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2555. กรุงเทพฯ: ทีคิวพีจํากัด.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2557). รายงานประจำปีสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ.2556. กรุงเทพฯ: ทีคิวพีจํากัด.

วรรณรา ชื่นวัฒนา. (2556). การเตรียมตัวเข้าสู่วัยสูงอายุ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี, 6(1), 197-202.

วันทนี น้อยถนอม. (2557). การพัฒนาหลักสูตรบูรณาการรายวิชาวิทยาศาสตร์และภาษาไทย เรื่อง การดำรงชีวิตของพืชสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านเขาทอง จังหวัดจันทบุรี. วารสารการศึกษาและการพัฒนาสังคม, 10(1), 175-185.

วิชัย วงษ์ใหญ่. (2537). กระบวนการพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอน: ภาคปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

วิชัย วงษ์ใหญ่. (2542). กระบวนทัศน์ใหม่: การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาศักยภาพของบุคคล. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ศิริรัตน์ จำปาเรือง. (2556). การพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามกระบวนการสุนทรียสนทนาสำหรับนักศึกษาพยาบาล. วารสารศึกษาศาสตร์, 15(3), 5-15.

สงัด อุทรานันท์. (2532). พื้นฐานและหลักการพัฒนาหลักสูตร. กรุงเทพฯ: มิตรสยาม.

สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย. (2554). ก้าวย่างต่อไปของ กศน. กรุงเทพฯ: ชุมพร พรินท์ แอนด์ ดีไซน์.

Cucinotta, D. (2018). Preparing for the Decade of Healthy Aging (2020–2030): prevention plus therapy? Acta bio-medica: Atenei Parmensis, 89(2), 145–147.

Saylor, J.G. & Alexander, W.M. (1974). Planning Curriculum for School. New York: Holt.

Taba, H. 1962. Curriculum development: theory and practice. New York, NY: Harcourt, Brace & World.

Tyler, R. W. (1969). Basic Principles of Curriculum and Instruction. Chicago: The University of Chicago Press.