การพัฒนาสื่อมัลติมีเดียภาษาญี่ปุ่นเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในพื้นที่ชุมชนตำบลป่าตึง อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย The Development of Japanese Multimedia to Promote Tourism in Pa Teung Sub-district Community, Mae Chan District, Chiang Rai
Main Article Content
Abstract
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาสื่อมัลติมีเดียภาษาญี่ปุ่นเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในพื้นที่ชุมชนตำบลป่าตึงอำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางด้านการใช้ภาษาญี่ปุ่นและสื่อมัลติมีเดียภาษาญี่ปุ่นของผู้นำเที่ยวในชุมชน และ 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจที่มีต่อสื่อมัลติมีเดียภาษาญี่ปุ่น โดยกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยในครั้งนี้คือผู้นำเที่ยวในชุมชนจำนวน 20 คน
ผลการวิจัยพบว่า 1) สื่อมัลติมีเดียภาษาญี่ปุ่นที่พัฒนาเป็นรูปแบบแผ่นป้าย QR-Code 2 รูปแบบ คือ QR-Code แนะนำกิจกรรมในสถานที่ท่องเที่ยว และ QR-Code เรียนภาษาญี่ปุ่นสำหรับผู้นำเที่ยวในชุมชนโดยตรวจสอบคุณภาพความเหมาะสมจากผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน ได้ค่าเฉลี่ยดัชนีความสอดคล้อง (IOC) เท่ากับ 1.00 มีค่าความเหมาะสมใช้ได้ 2) ผลสัมฤทธิ์ของผู้เข้ารับการฝึกอบรมก่อนและหลังฝึกอบรมการใช้ภาษาญี่ปุ่นและการใช้สื่อมัลติมีเดียภาษาญี่ปุ่น พบว่าคะแนนหลังการอบรมสูงกว่าก่อนการอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5 และ 3) ผลประเมินความพึงพอใจที่มีต่อสื่อมัลติมีเดียภาษาญี่ปุ่น อยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.47 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.50
This research aimed 1) to develop Japanese multimedia to promote tourism in Pa Teung Sub-district Community, Mae Chan District, Chiang Rai, 2) to compare pretest and posttest learning achievement of Japanese language and Japanese multimedia skills of local tour guides, and 3) to evaluate the satisfaction toward the Japanese multimedia. The participant of this research was 20 local tour guides in the study area.
The finding found that 1) Japanese multimedia in the QR-Code format of two separate forms;
QR-Code for introducing the local visiting area, and QR-Code for studying Japanese for local tour guides, examining by three specialists with the Index of Consistency (IOC) equaled 1.00 considering as suitable for use; 2) the achievement of using Japanese multimedia showed that the post-result was higher than the pre-result with statistically significance equaled 0.5; and 3) the satisfaction toward the Japanese multimedia was at “very satisfied” level, with the average (x̄=4.47, S.D.= 0.50).
Article Details
References
กรวรรณ สังขกร, และศันสนีย์ กระจ่างโฉม. (2562). Wellness Tourism เจาะลึกพฤติกรรมและความต้องการนักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ในพื้นที่ล้านนา 8 จังหวัดภายใต้โครงการหน้าต่างการท่องเที่ยวสู่ล้านนา (รายงานการวิจัย). เชียงใหม่: ศูนย์วิจัยและพัฒนาการท่องเที่ยว สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ณัฐกร สงคราม. (2554). การออกแบบพัฒนามัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทวีศักดิ์ กาญจนสุวรรณ. (2546). Multimedia ฉบับพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: ไทยเจริญการพิมพ์.
บุษบา ไพสิฐสิริรักษา. (2554). การพัฒนาสื่อมัลติมีเดียด้านการฟังและการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยวเชิงศิลปวัฒนธรรมสำหรับมัคคุเทศก์น้อย โรงเรียนปงรัชดาภิเษก อำเภอปง จังหวัดพะเยา. (วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสื่อและการสื่อสาร). มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
ปฏิพันธ์ อุทยานุกุล และคณะ. (2562). การพัฒนาคู่มือมัคคุเทศก์ท้องถิ่นและโมบายแอพพลิเคชั่นเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชน โดยใช้องค์ความรู้ทางภาษา วัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นฐานะ กรณีศึกษาตำบลป่าตึง อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย. วารสารการวิจัยกาสะลองคำ, ปีที่ 13 (ฉบับที่ 1), หน้า83-93.
ปทุมพร แก้วคำ และคณะ. (2561). การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านฮ่องแฮ่. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, ปีที่ 12 (ฉบับที่3), หน้า 133-149.
ประกาศิต เชอมือกู่. สัมภาษณ์. 4 กรกฎาคม 2563.
พิมพ์ชนก สุวรรณศรี. (2563). การพัฒนาสื่อมัลติมีเดียในการนำเสนอข้อมูลเชิงประวัติศาสตร์ของแหล่งท่องเที่ยวในเมืองเชียงใหม่. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร. ปีที่ 40 (ฉบับที่ 2), หน้า 23-33.
สภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยงแห่งประเทศไทย. (2561). ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบธุรกิจ การท่องเที่ยวในประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 2 กรกฎาคม 2563, จากเวปไซต์: http://www.thailandtourismcouncil.org/wp-content/uploads/2018/06/AW-TTCI-Q2-2018.pdf.
สํานักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2560). รายงานสถิติการท่องเที่ยวประเทศไทย ประจําปี พ.ศ. 2560. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2563. จากเวปไซต์: https://www.mots.go.th/more_news.php?cid=411.
สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย. (2559). หัวข้อนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติเดินทางมาท่องเที่ยวจังหวัดเชียงรายเพิ่มมากขึ้น. สืบค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2563. จากเวปไซต์: 2562http://prcr.prdnorth.in.th/news-detail.php type=1&id=37&fbclid=IwAR1IxmNDZXUsUAhLKI5EzXdZ6lwM0nbO9s5aN4xBQuoWGa-8YGRdebGJqm8.
Nindum, K. et al. (2018). The youth development guideline as a communicator forethnic tourism promotion in Mae Chan District, Chiang Rai Province (Research report). Chiang Rai: Faculty of Management Chiang Rai Rajabhat University. [in Thai]