แนวทางการเรียนรู้โดยใช้ภาษาแม่เป็นฐาน: การใช้การแข่งขันเกมแบบเป็นกลุ่มร่วมกับสื่อการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ-ไตเพื่อพัฒนาการรับรู้ คำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์ไทใหญ่ Mother Tongue-Based Language Learning Approach: Implementation of TGT with English-Tai Teaching Aids to Develop English Vocabulary Recognition Skill among Ethnic Tai Students

Main Article Content

กัญญาภัทร ศุภสาร Kunyaphat Supasan
จารุณี ทิพยมณฑล Jarunee Dibyamandala
สิระ สมนาม Sira Somnam

Abstract

ภาษาแม่ (Mother Tongue or L) 1) เป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้ของผู้เรียนระดับประถมศึกษาเป็นอันมาก เพราะนอกจากจะส่งผลต่อด้านสติปัญญาแล้ว ภาษาแม่ยังมีผลต่อพัฒนาการ ด้านอารมณ์และจิตใจด้วย หากทักษะภาษาแม่ของผู้เรียนในวัยเยาว์ไม่สมบูรณ์ก็อาจส่งผลให้พัฒนาการในการเรียนภาษาที่สองช้าลงเช่นกัน ดังนั้นการให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ภาษาแม่จึงเป็นผลดีในการเรียนรู้ภาษาที่สอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่อาศัยอยู่ในท้องถิ่นที่มีการสัมผัสภาษา ดังเช่น ภาคเหนือของไทยตั้งอยู่ในภูมิภาคที่มีความหลากหลายทางภาษามากที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศ ประกอบด้วยหลากหลายกลุ่มชาติพันธุ์ รวมทั้งกลุ่มชาติพันธุ์ไทใหญ่ด้วย นับเป็นความท้าทายของครูสอนภาษาอังกฤษให้กับนักเรียนชาติพันธุ์ไทใหญ่ เพราะนักเรียนกลุ่มดังกล่าวมักเกิดปัญหาการเรียนคำศัพท์ช้า เนื่องจากความต่างระหว่างภาษาแม่ของผู้สอนและผู้เรียน วัตถุประสงค์ของบทความนี้เพื่อศึกษาและวิเคราะห์แนวทางการเรียนรู้โดยใช้ภาษาแม่เป็นฐาน และนำเสนอแนวทางการเรียนรู้โดยใช้การแข่งขันเกมแบบเป็นกลุ่ม (Team-Games-Tournament-TGT) บูรณาการกับสื่อการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ-ไต บนแนวทางการเรียนรู้โดยใช้ภาษาแม่เป็นฐาน เพื่อพัฒนาการรับรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษให้นักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์ไทใหญ่ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2


Mother tongue (Mother Tongue or L1) is essential for primary learners, not only for a part of intellectual ability but also in parts of emotional and mental development. Inadequate mother tongue language skills could delay learning ability in the second language learning ability of individuals. Giving priority on learning mother tongue is beneficial for second language learning ability, especially the learners living in the areas of language in contact. Northern region of Thailand is one of the most multilingual communities where the ethnic groups variously live, including the ethnic Tai. It was a challenge to teachers of English for engaging learning activities for ethnic Tai group because of the differences between mother tongues of teachers and learners. The objectives of this paper were to study and analyze about Mother tongue-based learning approach and offer guidelines of teaching method using Team-Games-Tournament (TGT) integrated with English-Tai teaching aids based on mother tongue-based learning approach to develop English vocabulary recognition skill among ethnic Tai students in grade 2.

Article Details

Section
Academic Articles

References

เตวิช เสวตไอยาราม. (2563). การใช้ความรู้และประสบการณ์เดิมในการอ่านเพื่อความเข้าใจ กรณีศึกษาผู้เรียนภาษาญี่ปุ่นชาวไทยที่มีความสามารถแตกต่างกัน.อักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 42(2), 253-278. สืบค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2564 จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jasu/article/view/247995/168484

ประเสริฐ ปัญญาวงค์, ครูโรงเรียนบ้านเวียงหวาย. (2564). สัมภาษณ์.

ยูนิเซฟประเทศไทย. (2559). ข่าวประชาสัมพันธ์การศึกษาโดยใช้ภาษาแม่เป็นฐานสร้างโอกาสที่เท่าเทียม ในการเรียนรู้ให้กับเด็กชาติพันธุ์. สืบค้นเมื่อ 2 มิถุนายน 2564, จากhttps://www. unicef.org/thailand/press-releases/mother-tongue-based-education-provides-ethnic-children-fair-chance-learn

ยูนิเซฟและมหาวิทยาลัยมหิดล สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย. (2559).สะพานเชื่อมโยงไปสู่อนาคตอันสดใส. สืบค้นเมื่อ 2 มิถุนายน 2564, จาก https://www.unicef. org/thailand/media/1296/file/รายงาน%20สะพานเชื่อมโยงไปสู่อนาคตอันสดใส%20(รายงานฉบับย่อ).pdf

ศิริลักษณ์ ใชสงคราม และ ศิริวรรณ วณิชวัฒนวรชัย. (2563). การพัฒนาความสามารถการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่จัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค TGT ร่วมกับบาร์โมเดล. การบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น, 6(6), 245-258. สืบค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2564 จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jsa-journal/article/ view/245529/168401

ศิริเพ็ญ อึ้งสิทธิพูนพร. (2555). การใช้ภาษาแม่เป็นสื่อในการสอนในประเทศไทย: มีผลกระทบอย่างไรกับพฤติกรรมของเด็กจีนยูนนาน.

ศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 4(8), 119-128. สืบค้นเมื่อ 2 พฤษภาคม 2564 จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/swurd/article/ view/32368/27625

สถาบันภาษาอังกฤษ สำนักงานคณะกรรมการขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2559). คำศัพท์ภาษาอังกฤษพื้นฐานระดับชั้นประถมศึกษา. สืบค้นเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2564, จาก https://drive.google.com/file/d/1ltUGCqyQb5-jcM_LbzWPR70FOY_55pZj/

view

สหรัฐ ลักษณะสุต. (2563). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคเกมกลุ่มแข่งขันเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ภาษาอังกฤษของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. นวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 4(3), 247-262. สืบค้นเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2564 จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/247718/167606

สิระ สมนาม. (2560). เขียนเพื่อเรียนรู้. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2561). (ร่าง) แผนยุทธศาสตร์ตามนโยบายภาษาแห่งชาติ (พ.ศ.2561-2564). สืบค้นเมื่อ 20 กรกฎาคม 2564, จาก http://legacy.orst.go.th/?p=21018

อภิรดี ไชยกาล วรวรรณ เหมชะญาติ และ สร้อยสน สกลรักษ์. (2561). การสอนภาษาไทยเป็นภาษาที่สองสำหรับเด็กชาติพันธุ์เขมรถิ่นไทย. สังคมลุ่มน้ำโขง, 14(1), 109-132. สืบค้นเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2564 จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/mekongjournal/article/download/119683/91476/

อรรถวิทย์ รอดเจริญ, อุบลวรรณ สวนมาลี และ ประเทือง ทินรัตน์. (2559). การศึกษาเชิงสำรวจ: การสัมผัสภาษาของผู้พูดภาษาไตหย่า อำเภอซินผิง มณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน. วิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 24(46), 331-347 สืบค้นเมื่อ 29 ตุลาคม 2563 จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/ husojournal/article/view/68668/55920

อัจฉรียา นันทศิริผล และ ปิยะดา มหามนตรี. (2562). การออกเสียงภาษาอังกฤษของนักเรียนไทยที่ได้รับอิทธิพลจากภาษาแม่. วิชาการสถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ, 5(2), 611-620. สืบค้นเมื่อ 8 พฤษภาคม 2564 จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/svittj/ article/view/231112/157635

Noormohamadi, R. (2008). Mother tongue, a necessary step to intellectual development. Journal of Pan-Pacific Association of Applied Linguistics, 12(2), 25-36. Retrieved May 13, 2021, from https://files.eric.ed.gov/fulltext/EJ921016.pdf

Perez, N. (2019). A comparative study of the MTB-MLE programs in Southeast Asian countries. American Journal of Humanities and Social Science Research, 6(3), 47-55. Retrieved May 18, 2021, from https://www.ajhssr.com/wp-content/uploads/2019/06/F19364755.pdf