การพัฒนาทักษะการกำหนดประเด็นปัญหาการวิจัย สำหรับนักศึกษาปริญญาตรี วิทยาลัยนาฏศิลปอ่างทอง The Development of Research Problem Determination Skills for Undergraduate students’ Ang Thong College of Dramatic Arts

Main Article Content

ณัฐนิรันดร์ ปอศิริ Nutnirun Porsiri

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพทักษะการกำหนดประเด็นปัญหาการวิจัยของนักศึกษาที่สามารถทำได้ด้วยตนเอง พัฒนารูปแบบการฝึกทักษะการกำหนดประเด็นปัญหาการวิจัยของนักศึกษา และศึกษาผลการใช้รูปแบบการฝึกทักษะการกำหนดประเด็นปัญหาการวิจัยของนักศึกษา ดำเนินการวิจัยโดยระเบียบวิธีวิจัยเชิงผสานวิธี (Mixed Methodology) กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักศึกษาระดับปริญญาตรี วิทยาลัยนาฏศิลปะอ่างทองที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นปีที่ 2 และ 3  จำนวน 78 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง 2) รูปแบบการพัฒนาทักษะการกำหนดประเด็นปัญหาการวิจัย และ 3) แบบวัดทักษะการกำหนดประเด็นปัญหาการวิจัย วิธีที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย วิธีทดสอบทีแบบกลุ่มไม่อิสระ, วิธีทดสอบทีแบบกลุ่มอิสระ และวิธีการวิเคราะห์เนื้อหาสำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า


1.สภาพทักษะการกำหนดประเด็นปัญหาการวิจัยของนักศึกษาที่สามารถทำได้ด้วยตนเอง พบว่านักศึกษามีความเข้าใจในกระบวนการกำหนดประเด็นปัญหาการวิจัย แต่ยังไม่มีความมั่นในใจการดำเนินการด้วยตนเอง และไม่ค่อยเห็นความสำคัญของการวิจัย คิดว่าการทำวิจัยเป็นเรื่องไกลตัว 


2.รูปแบบการฝึกทักษะการกำหนดประเด็นปัญหาการวิจัยของนักศึกษา ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ทฤษฎี/หลักการ/แนวคิดของรูปแบบ 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 3) กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบ และ 4) ผลที่ผู้เรียนจะได้รับจากการเรียนตามรูปแบบ มีความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบอยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅ = 4.58 และ 4.75 ตามลำดับ) 


3.ผลการใช้รูปแบบการฝึกทักษะการกำหนดประเด็นปัญหาการวิจัยของนักศึกษา มีดังนี้


   3.1 ทักษะการกำหนดประเด็นปัญหาการวิจัยของนักศึกษากลุ่มทดลอง หลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


   3.2 ทักษะการกำหนดประเด็นปัญหาการวิจัยของกลุ่มทดลอง สูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


   3.3 นักศึกษากลุ่มทดลอง มีความเข้าใจและมั่นใจในการปฏิบัติด้วยตนเอง และตระหนักถึงความสำคัญของการวิจัย เข้าใจว่าการวิจัยเป็นเรื่องใกล้ตัวที่สามารถเอาไปใช้ได้ในชีวิตประจำวัน มากกว่านักศึกษากลุ่มควบคุม


             The purposes of this research were 1) to study students’ research problem determination skills that can be done by them, 2) to develop model for practicing skills in research problem determination students, and 3) to study the results of using the model of practicing skills in research problem determination of students. The sample groups were 78 undergraduate students from the third year students (Control Group) and the second year students (Experiment Group) academic year 2020 at Ang Thong College of Dramatic Arts. The instruments were 1) 8 interview questions, 2) the model for practicing skills in research problem determination students, and 3) measurement paper of research questions skills. The dependent - samples t-test, Independent - samples t-test and Content Analysis were used for statistical analysis. The results of this research showed that; 


1.The students’ research problem determination skills that can be done by them showed that the students understanding of the process in research problem determination, but they unconvinced to be done by them and opine the importance of research.


2.The model for practicing skills in research problem determination students consists of 4 components; 1) Theory of the model, 2) The purpose of the model, 3) The process of teaching followed three step of direct instruction model (DI), and 4) The results that students will receive 4.58 average score for practicability and 4.75 average score for feasibility’s model.


3.The results of the model for practicing skills in research problem determination students were;


    3.1 Students of experiment group have showed his/her post-test score higher than pre-test score with statistically significant at .05 levels.


    3.2 The model of practicing skills in research problem determination of students in experiment group higher than control group with statistically significant at .05 levels.


     3.3 An experiment group convinced to be done by them and opine that researching was important more than control group.

Article Details

How to Cite
Nutnirun Porsiri ณ. . ป. (2022). การพัฒนาทักษะการกำหนดประเด็นปัญหาการวิจัย สำหรับนักศึกษาปริญญาตรี วิทยาลัยนาฏศิลปอ่างทอง: The Development of Research Problem Determination Skills for Undergraduate students’ Ang Thong College of Dramatic Arts. SOCIAL SCIENCES RESEARCH AND ACADEMIC JOURNAL, 17(2), 47–62. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/JSSRA/article/view/254031
Section
Research Articles

References

กิติพงษ์ ลือนาม. (2559). การพัฒนาผลการเรียนรู้และทักษะกระบวนการวิจัยจากการจัดการเรียนรู้ โดยประยุกต์ใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับปฏิบัติการวิจัยของนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต. วารสารราชพฤกษ์, 14(2), 36-45.

ชลธิชา ดีเลิศ และศิริพงษ์ เพียศิริ. (2561). การพัฒนาหลักสูตรการเป่าขลุ่ยเพียงออ โดยใช้รูปแบบการสอนทางตรง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 12(3), 55 – 64.

ณัฐนันท์ สีดาแก้ว, ศักดิ์สิทธิ์ ฤทธิลัน, สุวรรณวัฒน์ เทียนยุทธกุล และสุริยาวุธ สุวรรณบุบผา. (2560). การพัฒนาทักษะการสืบค้นข้อมูลเพื่อการตั้งโจทย์วิจัยในกระบวนการพัฒนาทักษะการวิจัยของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์. วารสารวิชาการแพรวากาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์, 4(3), 518 – 534.

ณิชชา ชินธนามั่น, ภาวิณี เดชเทศ, อัศวพร แสงอรุณเลิศ, ภัทรศญา พ้วยกิ และสุรีย์พร เพ็งเลีย. (2560). ผลการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อจับใจความสำคัญจากสื่อในชีวิตประจำวัน. วารสารครุพิบูล, 5(1), 1-13. สืบคืนเมื่อ 4 ตุลาคม 2563, สืบค้นจาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/edupsru/article/view/81097/89898

สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์. วิทยาลัยนาฏศิลปอ่างทอง. (2558). หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานาฏศิลป์ไทยศึกษา (5 ปี) หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2558. อ่างทอง: วิทยาลัยนาฏศิลปอ่างทอง.

สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์. วิทยาลัยนาฏศิลปอ่างทอง. (2558). หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาดนตรีไทยศึกษา (5 ปี) หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2558. อ่างทอง: วิทยาลัยนาฏศิลปอ่างทอง.

สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์. วิทยาลัยนาฏศิลปอ่างทอง. (2562). หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานาฏศิลป์ศึกษา (4 ปี) หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2562. อ่างทอง: วิทยาลัยนาฏศิลปอ่างทอง. สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์. วิทยาลัยนาฏศิลปอ่างทอง.

สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์. วิทยาลัยนาฏศิลปอ่างทอง. (2562). หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาดนตรีศึกษา (4 ปี) หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2562. อ่างทอง: วิทยาลัยนาฏศิลปอ่างทอง.

ศักดิ์สิทธิ์ ฤทธิลัน, ณัฐนันท์ สีดาแก้ว, สุริยาวุธ สุวรรณบุบผา และสุวรรณ เทียนยุธ. (2558). การวิจัย กระบวนการพัฒนาทักษะการตั้งโจทย์วิจัยในกระบวนการพัฒนาทักษะการวิจัยของนักศึกษาสาขาวิชาคณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์. รายงานการวิจัย. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาแห่งชาติ. สืบคืนเมื่อ 4 ตุลาคม 2563, จากฐานข้อมูล ThaiLIS.

Joyce, B., Weil, M., & Calhoun, E. (2000). Models of teaching. (6th ed.). Boston: Allyn & Bacon.