ศักยภาพและตัวบ่งชี้ทักษะการออกแบบการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มของครูโรงเรียนบนพื้นที่สูงจังหวัดเชียงราย The Potential and Indicators of STEM Learning Design Skill for Highland School Teachers in Chiang Rai Province
Main Article Content
Abstract
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพ ศักยภาพและพัฒนาตัวบ่งชี้ทักษะการออกแบบการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มของครูโรงเรียนบนพื้นที่สูงจังหวัดเชียงราย และวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับสองตัวบ่งชี้ทักษะการออกแบบการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มของครูโรงเรียนบนพื้นที่สูง ประชากร ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียน ครู ศึกษานิเทศก์ และนักวิชาการ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูโรงเรียนบนพื้นที่สูงในพื้นที่จังหวัดเชียงรายทั้ง 4 เขต จำนวน 1,000 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบบันทึกการสนทนากลุ่มย่อย และแบบสอบถามตัวบ่งชี้ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐานและสถิติอ้างอิง ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มของครูบนพื้นที่สูง บางคนเคยได้รับการอบรมสะเต็มหรือการศึกษาดูงานโรงเรียนต้นแบบ และเคยจัดการเรียนการสอนโดยยึดตัวอย่างจากอบรมหรือดูงาน แต่ยังขาดความเข้าใจเกี่ยวกับสะเต็มศึกษาอย่างแท้จริง ผู้บริหารไม่สามารถสนับสนุนได้เต็มที่เนื่องจากครูย้ายบ่อย สำหรับศักยภาพและตัวบ่งชี้การออกแบบการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็ม จากการสนทนา ครั้งที่ 1 ประกอบด้วย ศักยภาพ 9 รายการ และ 6 ตัวบ่งชี้หลัก ครั้งที่สอง ประกอบด้วย ศักยภาพ 12 รายการ และ 5 ตัวบ่งชี้หลัก 30 ตัวบ่งชี้ย่อย
2. การสังเคราะห์ศักยภาพและการพัฒนาตัวบ่งชี้ทักษะการออกแบบการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มการสนทนากลุ่มประกอบด้วยศักยภาพ 10 รายการ และตัวบ่งชี้หลัก 5 องค์ประกอบ ตัวบ่งชี้ย่อย 33 ตัวบ่งชี้
3. การสำรวจศักยภาพและวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของตัวบ่งชี้ พบว่า ศักยภาพการออกแบบการเรียนรู้แบบสะเต็มของครู ภาพรวมอยู่ระดับปานกลาง รายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับชุมชน รายการที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ทักษะการสื่อสารกับนักเรียนบนพื้นที่สูง และ ผลการทดสอบความสอดคล้องของโมเดลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับสองของตัวบ่งชี้ พิจารณาจากค่าสถิติโดยมีค่า = 153.15 (P-Value = 0.252) GFI = 0.94 AGFI = 0.98 และ RMSEA = 0.02
This research aims to study condition potential and developing indicators of STEM learning design skill of highland schoolteachers in Chiang Rai province as well as analyzing the components of indicators of STEM learning design skill of highland schoolteachers. Populations include school directors, teachers, educational supervisors, and academics. The sample consisted of a thousand teachers in highland schools in four districts of Chiang Rai. The instruments were conversation recording, indicator questionnaire, and the data was analyzed by using basic and reference statistics.
1) The conditions of STEM learning management of highland schoolteacher s, some schoolteachers have received STEM training model or visited the school’s seminar and applied the STEM teaching method based on examples from training. However, these teachers were not deeply understanding on the STEM education because some of teacher offenly look for school transferring. Thus, school’s administrators could not be fully supported and promoted for STEM. On the information of potential and indicators as follows: the first discussion consisted of 9 potentials and 6 key indicators. The second part consisted of 12 potentials and 5 key indicators and 30 sub-indicators.
2) The potential and develop the indicators were synthesized by using the data and information from the first stage achieved 10 potential and 5 main indicators with 33 sub-indicators. 3). The potential synthesis and consistency testing of model with the empirical data found that the potential of STEM learning design of highland schoolteachers revealed that the overall average was moderate level. The highest mean was knowledge and understanding on the community while the communication skills with tribal students in class was lowest mean and the results of consistency testing of skill indicator model by the second order confirmation factor analysis as the statistics = 153.15 (P-Value = 0.252) GFI = 0.94 AGFI = 0.98 and RMSEA = 0.02
Article Details
References
เจือจันทร์ จงสถิตอยู่, และแสวง ปิ่นมณี. (2533). การวางแผนพัฒนาการศึกษาระดับจังหวัด. กรุงเทพฯ: กองแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการ.
พิจารณ์ พานิช. (2556). PLC การรวมกลุ่มจัดการความรู้ของครู. จาก https://www.gotoknow.org/posts/519546.
มานิตย์ แก้วกันธะ, อินทร์ จันทร์เจริญ, จำนง แจ่มจันทรวงษ์, และพรภวิษย์ มนตร์วัชรินทร์. (2558). การบริหารสถานศึกษาบนพื้นที่สูงที่มีนักเรียนหลายชนเผ่าเรียนรวมกันสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดเชียงราย. วารสารศึกษาศาสตร์, 9(2), 106-114.
วิธีสอนสะเต็มศึกษา. (2561). จาก http://www.kids.ru.ac.th/KM/STEM_T.Somchai-unkeaw.pdf.
วิโรจน์ สารรัตนะ. (2558). การวิจัยทางการบริหารการศึกษา: แนวคิดและแนวปฏิบัติ. (พิมพ์ครั้งที่ 4) กรุงเทพฯ: ทิพย์วิสุทธิ.
วรกันยา แก้วกลม, พินิจ ขำวงษ์, และจรรยา ดาสา. (2561). สภาพปัจจุบันปัญหาและความต้องการในการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษาของครูวิทยาศาสตร์ระดับประถมศึกษา. มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์.
ศิริพร ศรีจันทะ, พีรภัฏ รุ่งสัทธรรม, และประดิษฐ์ วิชัย. (2562). สะเต็มศึกษากับการจัดการเรียนรู้. วารสารวิชาการแพรวา, 6(1), 168.
สสวท. รู้จักสะเต็ม. (2561). สืบค้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2562 จาก http://www.stemedthailand.org/? page_id=23.
สะเต็มศึกษาประเทศไทย. (2561). สืบค้นเมื่อ 25 มิถุนายน 2562 จาก http://www.stemedthailand.org/?page_id=23.
สุบัน พรเวียง. (2558). รูปแบบการจัดการศึกษานอกระบบในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานบนพื้นที่สูงและชายแดนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. วารสารศึกษาศาสตร์, 17(3), 52-59.
แสงระวี ณ ลำพูน. (2562). หลักสูตรการออกแบบการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มของครู. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
STEM Education. (2019). Retrieved May, 2020, from https://wiki.anton-paar.com/th/stem-education/
Elaine J. Hom. (2014). What is STEM Education. Retrieved June, 2019, from https://www.livescience.com/43296-what-is-stem-education.html