ปัจจัยของการดำเนินงานที่ส่งผลต่อความสำเร็จของนวัตกรรมผลิตภัณฑ์วิสาหกิจชุมชนของอำเภอหว้านใหญ่ จังหวัดมุกดาหาร Factors in operations effecting the success on innovation of Community Enterprise of Wanyai District, Mukdahan Province
Main Article Content
Abstract
การศึกษาวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ของการศึกษาเพื่อ 1) ศึกษาความสำคัญของขั้นตอนในการดำเนินงานของผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนที่ทำให้ผลิตภัณฑ์ประสบความสำเร็จ 2) เพื่อศึกษาคุณลักษณะของนวัตกรรมผลิตภัณฑ์วิสาหกิจชุมชนที่ประสบความสำเร็จ และ 3) วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและอุปสรรคอันนำไปสู่การพัฒนาผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน กลุ่มตัวอย่างได้มาโดยวิธีเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จากผู้ประกอบการวิสาหกิจชุนชน อำเภอหว้านใหญ่ จังหวัดมุกดาหาร รวมทั้งสิ้น 5 ตำบล 3 กลุ่มผลิตภัณฑ์ จำนวน 35 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมคือแบบสอบถามและสถิติที่ใช้ในการวิจัยคือ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติการทดสอบค่าที (t-test) และสถิติการทดสอบค่าเอฟ (F-test) ผลการวิจัยพบว่า
1.ขั้นตอนในการดำเนินงานจนผลิตภัณฑ์วิสาหกิจชุมชนประสบความสำเร็จทั้งหมด 7 ขั้นตอน โดยรวมผู้ประกอบการเห็นด้วยและให้ความสำคัญอยู่ในระดับมาก เรียงตามลำดับได้ดังนี้ การส่งเสริมการตลาด การสนับสนุนจากภาครัฐ การออกแบบ การคัดเลือกผลิตภัณฑ์ การสร้างเรื่องราวและคุณค่าของสินค้า การหาตลาดเพื่อจำหน่าย และการขอรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์
2.ความคิดเห็นต่อคุณลักษณะของนวัตกรรมผลิตภัณฑ์วิสาหกิจชุมชน โดยรวมผู้ประกอบการเห็นด้วยอยู่ในระดับมาก ซึ่งสามารถพิจารณาคุณลักษณะของสินค้าและผลิตภัณฑ์ที่ประสบความสำเร็จเรียงตามรายข้อได้ดังนี้ สินค้าและผลิตภัณฑ์มีความทันสมัย มีฉลาก โลโก้ ที่สวยงาม โดดเด่น มีคุณประโยชน์ใช้สอย มีรูปทรงที่ตรงกับความต้องการของผู้บริโภค เช่นการใช้งานและขนส่งได้ง่าย มีสีสันและลวดลายสวยงาม มีความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
3.ปัจจัยของการดำเนินงานมีความสัมพันธ์ต่อนวัตกรรมผลิตภัณฑ์วิสาหกิจชุมชนที่ระดับนัยสำคัญ .05 โดยขั้นตอนการหาตลาดเพื่อจำหน่ายสามารถทำนายความสำเร็จของนวัตกรรมผลิตภัณฑ์วิสาหกิจชุมชนได้ดีที่สุด
These paper objectives were (1) to explore the important operation steps that leading product success in perceptions of community entrepreneur classified by personal factor (2) to study the desirable innovation dimensions of product (3) to conduct the SWOT analysis due to develop community entrepreneurs. The quantitative approach was employed to testify the relationship and the influence of steps from production to distribution as the cause and effect to the local product innovation, while qualitative technique was used to complete the study. Thirty-five (35) community entrepreneurs from 5 sub districts and 3 group of products were respondents.
The statistic results revealed that
1.Seven steps affected the success of operations that are all agree in the same direction as “agree or importantly valued, highest mean score was Government Support, followed by Product Design, Product Selection, Brand Storytelling, Product Promotion, Marketing channel and Product Certification respectively.
2.The perception of the preferable innovation can be reported consecutively; Modern, Outstanding Logo, Multifunction, Practical Design, Colorful and Pattern, and Environmental Friendly Product
3.All step in operation is positively influence the success of innovation of Community Enterprise’s at the 0.05 level, which the step of finding a market is the most factor that best influence on product
Article Details
References
กฤษณะ ดาราเรือง. (2559). การพัฒนากลยุทธ์การแข่งขันของผลิตภัณฑ์ OTOP หมูฝอยกรอบโกเนียรตำบลหนองกระโดน อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์. วารสารการ จัดการสมัยใหม่, 14(2), 67-78.
คณิดา ไกรสันติ และรัสมนต์ คำศรี. (2559). แนวทางการพัฒนาศักยภาพกลุ่มวิสาหกิจชุมชนสุขาวดีตำบลปริกอำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา. ในการประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติครั้งที่ 7 วันที่ 23 มิถุนายน 2559: 554-566. สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
งามนิจ แสนนำพล. (2564). ศักยภาพของสินค้า Otop ห้าดาวเด่น กับแหล่งท่องเที่ยวและร้านอาหารชุมชนใกล้เคียง จังหวัดเชียงราย. 359 - 368 ในรายงานการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 7. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ลำพูน.
ชูศิริ เสนจันทร์ฒิไชย. (2560). แนวทางการพัฒนาตลาดวิสาหกิจชุมชน กลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหารอำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 5(2), 19-34.
ดิเรก ปัทมสิริวัฒน์. (2559). การคลังท้องถิ่น: การขยายฐานรายได้และมาตรการลดความเหลื่อมล้ำ. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.
ณัฐวุฒิ วิเศษ. (2555). ปัจจัยในการดําเนินธุรกิจของการเป็นผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)จังหวัดนนทบุรี. คณะบริหารธุรกิจ วิทยาลัยราชพฤกษ์.
ทิชากร เกสรบัว. (2558). กลยุทธ์การเพิ่มศักยภาพแข่งขันทางการตลาดสำหรับผู้ประกอบการรายใหม่(ประเภทเครื่องจักรสาน) ในตลาดอาเซียน กรณีศึกษา วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรกรทำนาข้าวบ้านบางพลวง อำเภอบ้านสร้าง ปราจีนบุรี. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 23(41), 225-247.
นครินทร์ ศรีเลิศ. (2564). ส่อง 'แผนพัฒนาฯ ฉบับที่13' ความหวังพลิกโฉมเศรษฐกิจประเทศ, สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2564, จาก https://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/652303.
นิภาภรณ์ จงวุฒิเวศย์, รังสรรค์ สิงหเลิศ และสมสงวน ปัสสาโก. (2553). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการดำเนินงานของธุรกิจชุมชนในเขตอำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด, วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 4 (2), 103-111.
บุญชม ศรีสะอาด. (2547). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาสน์.
ปกรณ์ ปรียากร. (2538). ทฤษฎีและแนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาในการบริหารการพัฒนา. กรุงเทพฯ: สามเจริญพานิช.
ปุณฑริกา สุคนธสิงห์. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของกลุ่มอาชีพ: กรณีศึกษากลุ่มอาชีพผลิตภัณฑ์จากผ้าในเขตจังหวัดเพชรบูรณ์. รายงานการศึกษา สาขาวิชาการจัดการ: คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.
ปรารถนา รุกขชาติ. (2559). ภาพลักษณ์ตราสินค้า OTOP และการสร้างตราสินค้าน้ำพริกกุ้งกรอบ ที่มีอิทธิพลต่อปัจจัยทางการตลาดของผู้ประกอบการในจังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.
พระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน. (2548). ราชกิจจานุเบกษา.
ไพศาล มุ่งสมัคร, ถนอมศักดิ์ สุวรรณน้อย, สรชัย พิศาลบุตร และศิวะศิษย์ ช่ำชอง. (2556). รูปแบบการจัดการที่ประสบผลสำเร็จของกลุ่มเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน ผลิตภัณฑ์สมุนไพร กลุ่มจังหวัดนครชัยบุรินทร์. วารสารสมาคมนักวิจัย, 18 (3), 115-123.
ยุวัฒน์ วุฒิเมธี. (2526). หลักการพัฒนาชุมชนและการพัฒนาชนบท. กรุงเทพฯ: ไทยอนุเคราะห์.
รัชฎาพร เกตานนท์ แนวแห่งธรรม. (2560). แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในจังหวัดนครปฐม. Veridian E-Journal, SilpakornUniversity, 10 (1), 994-1013.
รัฐวิชญ์ ชัยศิริพานิช. (2562). การศึกษา 5 เสน่ห์วิถีชุมชนที่มีผลต่อความจงรักภักดีของนักท่องเที่ยว ตลาดหัวปลี ศูนย์โอทอป (OTOP) คอมเพล็กซ์ พุแค ตำบลพุแค อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสระบุรี. วิทยานิพนธ์หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพฯ.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2538). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ:ราชบัณฑิตยสถานวราภรณ์ ศรีบุญ. (2552). ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการดำเนินงานของผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่น(OTOP) ในจังหวัดสงขลา. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา.
วิไลลักษณ์ แสนจันทร์. นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ. สัมภาษณ์: 15 กรกฎาคม 2563.
สนธยา พลศรี. (2547). ทฤษฎีและหลักการพัฒนาชุมชน. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
สมเกียรติ สุทธินรากร, ยุวรี ญานปรีชาเศรษฐ, ไชยยศ ไพวิทยศิริธรรมและนรินทร์ สังข์รักษา. (2019). การสร้างสรรค์มูลค่าของผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมการบริหารจัดการของวิสาหกิจชุมชน. วารสารDusit Thani College Journal, 13(1), 270-283.
สมชัย จิตสุชน. (2563). ความเหลื่อมล้ำ 2020: เรารู้อะไร เราควรรู้อะไร. สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2564, จาก https://tdri.or.th/2020/01/what-we-dont-know-about-thai-disparity/
สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2557). โอกาสและผลกระทบของOTOP กับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2564, จาก www. sme.go.th/Lists/EditorInput/DispForm.aspx?I
สุพาพร ลอยวัฒนกุล, อรวรรณ กมล, พยอม ตอบประโคน และมานพ ทองไทย. (2559). ปัจจัยแห่งความสำเร็จจของวิสาหกิจชุมชน. วารสารราชนครินทร์, 13(29), 251-258.
สุภัทณี เปี่ยมสุวรรณกิจและสุทธิพร เปี่ยมสุวรรณกิจ. (2562). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อการท่องเที่ยวตำบลนางแล อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย. การประชุมวิชาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ระดับชาติ ครั้งที่ 2 วันที่ 5-6 สิงหาคม พ.ศ. 2562.1059-1068.
ฮัมเดีย มูดอและจารียา อรรถอนุชิต. (2021). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาการสื่อสารการตลาดผ่านสื่อสังคมออนไลน์ของผู้ประกอบการโอทอปในพื้นที่เปราะบางกรณีศึกษาจังหวัดปัตตานี. Suranaree Journal of Social Science, 15(2), 1-17.
Best, J., & Kahn, J. V. (1993). Research in Fducation. (7th ed.). Boston: Allyn and Bacon.
ThaiPR.net. (2559). นายกรัฐมนตรีพบเกษตรกร วิสาหกิจชุมชนรายย่อย กลุ่มบริหารจัดการน้ำชุมชน กลุ่มประชารัฐรักสามัคคี เพื่อใช้ วทน. ลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน แก่เศรษฐกิจฐานราก. สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2564, จาก
https://www.ryt9 .com/s/prg/2948077
Wronka, M. (2013). Analyzing the success of social enterprises-critical success factors Perspective. Retrived from http://www.toknowpress.net/ISBN/978-961-6914-02-4/papers/ML13-296.pdf