หลักสูตรโรงเรียนผู้สูงอายุเทศบาลเมืองเขลางค์นคร อ.เมืองลำปาง จ.ลำปาง The Curriculum of Muang Kelang Nakhon Municipality Elderly School, Mueang Lampang District, Lampang Province

Main Article Content

ปริญญภาษ สีทอง Parinyapast Seethong
ปณิสรา จันทร์ปาละ Panisara Chanpala

Abstract

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างหลักสูตรโรงเรียนผู้สูงอายุเทศบาลเมืองเขลางค์นคร อ.เมืองลำปาง จ.ลำปาง เพื่อศึกษาผลการใช้หลักสูตรโรงเรียนผู้สูงอายุ และเพื่อประเมินหลักสูตรโรงเรียนผู้สูงอายุ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลเมืองเขลางค์นคร อ.เมืองลำปาง จ.ลำปาง จำนวน 43 คน ได้มาจากผู้สูงอายุที่สนใจและเต็มใจสมัครเรียนในหลักสูตรและเป็นผู้ที่ช่วยเหลือตนเองได้ เครื่องมือที่ใช้
ในการวิจัยได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างสำหรับผู้เชี่ยวชาญด้านหลักสูตรและการสอน การจัดสนทนากลุ่ม หลักสูตรโรงเรียนผู้สูงอายุเทศบาลเมืองเขลางค์นคร คู่มือการใช้หลักสูตร แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบประเมินหลักสูตรโรงเรียนผู้สูงอายุเทศบาลเมือง เขลางค์นคร วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์เนื้อหา สถิติทดสอบ t-test แบบ One Sample  ผลการวิจัยพบว่า 


1. หลักสูตรโรงเรียนผู้สูงอายุเทศบาลเมืองเขลางค์นคร อ.เมืองลำปาง จ.ลำปาง มี 11 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ปัญหาและความจำเป็น 2) วิสัยทัศน์ของหลักสูตร 3) หลักการของหลักสูตร 4) จุดมุ่งหมายของหลักสูตร 5) คุณสมบัติของผู้เรียน 6) ระยะเวลาในการศึกษา 7) โครงสร้างและเนื้อหาหลักสูตร 8) กิจกรรมการเรียนการสอน 9) ข้อกำหนดการเรียน 10) สื่อ ทรัพยากรและแหล่งเรียนรู้ 11) การวัดและประเมินผล ผลการตรวจสอบคุณภาพหลักสูตรโดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า หลักสูตรโรงเรียนผู้สูงอายุเทศบาลเมืองเขลางค์นคร อ.เมืองลำปาง จ.ลำปาง มีความเหมาะสมและความสอดคล้องในภาพรวมอยู่ในระดับมาก


2. ผลการทดลองใช้หลักสูตรที่พัฒนาขึ้น พบว่า


2.1 ผู้สูงอายุที่เรียนด้วยหลักสูตรโรงเรียนผู้สูงอายุเทศบาลเมืองเขลางค์นคร อ.เมืองลำปาง จ.ลำปาง
มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยเท่ากับ 26.44 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 88.14   


2.2 ผู้สูงอายุที่เรียนด้วยหลักสูตรโรงเรียนผู้สูงอายุเทศบาลเมืองเขลางค์นคร อ.เมืองลำปาง จ.ลำปาง
มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01


3. ผู้สอนและผู้เรียนมีความคิดเห็นต่อหลักสูตรโรงเรียนผู้สูงอายุเทศบาลเมืองเขลางค์นคร อ.เมืองลำปาง ด้านบริบท ด้านปัจจัยตัวป้อน ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต ภาพรวมอยู่ในระดับมาก  


           The purpose of this research were 1) to develop the curriculum of Muang Kelang Nakhon Municipality Elderly School, Mueang Lampang District, Lampang Province. 2) to implement the curriculum of Muang Kelang Nakhon Municipality Elderly School. and 3) to assess the quality of the curriculum of Muang Kelang Nakhon Municipality Elderly School. The population used for the experiment were 43 elderly who live in Muang Kelang Nakhon Municipality, Mueang Lampang District, Lampang Province. The research tools consisted of the structured interview, focus group, the curriculum of Muang Kelang Nakhon Municipality Elderly School, the text use in the curriculum, an achievement test and the assessment curriculum of Muang Kelang Nakhon Municipality Elderly School. The obtained data were analyzed into means, standard deviations, content analysis and one sample t-test.   The results of the research were as follows:   


1. The curriculum of Muang Kelang Nakhon Municipality Elderly School consisted of 11 elements ; Problem statement, Vision, Principle of curriculum, Aims of curriculum, Qualification, Period of time, Content structures, Activity, Requirement of learning, Materials Resources and Learning sources, Measurement and evaluation. The curriculum of Muang Kelang Nakhon Municipality Elderly School was then verified by experts found that the curriculum was the high level. 


2. The results of implement the developed curriculum were: 


2.1 The elderly studied with the curriculum of Muang Kelang Nakhon Municipality Elderly School had average achievement scores of 26.44 accounted for 88.14 %


2.2  The elderly studied with the curriculum of Muang Kelang Nakhon Municipality Elderly School had achievement after taking learning the curriculum higher than criteria 70% at a statistically significance difference at the .01 level.


3. The teacher and students thought that the curriculum of Muang Kelang Nakhon Municipality Elderly School appropriate for input, process and product totally at the high level.

Article Details

Section
Research Articles

References

เกศกาญจน์ ทันประภัสสร. (2563). การพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ กรณีศึกษาเทศบาลนครพิษณุโลก. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 22 (2), 74-83.

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

พระครูโสภณพุทธิศาสตร์ และคณะ. (2562). โรงเรียนผู้สูงอายุ : การจัดการสุขภาวะและสวัสดิการผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 6(2), 960-972.

สลิลนา ภูมิพาณิชย์. (2560). การพัฒนาหลักสูตรเสริมสมรรถนะการออกแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการชี้แนะและการเป็นพี่เลี้ยงสำหรับครูในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น.

วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 21 (1), 261-276.

สิทธิพล อาจอินทร์. (2563). การพัฒนาหลักสูตร. (พิมพ์ครั้งที่ 5). ขอนแก่น: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย. (2554). ก้าวย่างต่อไปของ กศน. กรุงเทพฯ: ชุมพรพรินท์ แอนด์ ดีไซน์.

สำนักนโยบายและแผนสาธารณสุขแห่งชาติ. (2556). การสาธารณสุขไทย. กรุงเทพฯ: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2558). ทิศทางของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สุปาณี จินาสวัสดิ์. (2559). พฤติกรรมสุขภาพผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลวังเหนือ อำเภอวังเหนือจังหวัดลำปาง. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรบัณฑิต. มหาวิทยาลัยพะเยา, พะเยา.

Knowles, M. S. (1978). The Adult Learner: A Neglected Species. (2nded.). Houston: Gulf.

Stufflebeam, Daniel L., and others. (1971). Educational evaluation and Decision Making. Iilinois: F. E. Peacock Publishing.

Tyler Ralph W. (1949). Basic Principia of Curriculum and Instruction. Chicago: the University of Chicago press.