การพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูระดับชั้นมัธยมศึกษา โดยใช้เทคโนโลยี Google Apps เพื่อพัฒนาผลการเรียนรู้ Development of Secondary School Teacher’s Learning Management Competency Using Google Apps Technology to Enhance Learning Achievement

Main Article Content

อิศราพร ชัยงาม Itsaraporn Chaingam

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครู 2) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจของนักเรียน 3) ศึกษาปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะในการจัดการเรียนรู้ของครูโดยใช้เทคโนโลยี Google Apps รายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ปีการศึกษา 2562 กลุ่มตัวอย่าง เป็นครูผู้สอนในรายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเพชรบูรณ์ ปีการศึกษา 2562 เลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย จำนวน 5 คน และนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนกับครูที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 150 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) เครื่องมือจัดกระทำ คือ หลักสูตรฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การใช้เทคโนโลยี Google Apps เพื่อพัฒนาผลการเรียนรู้ 2) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้  แบบประเมินการจัดการเรียนรู้  แบบการศึกษาชั้นเรียน (Lesson Study)  แบบประเมินแผนการจัดการเรียนรู้  แบบประเมินสื่อและประเมินความสามารถการใช้ Technology ของครู แบบบันทึกข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ แบบประเมินตนเอง เรื่อง การจัดการเรียนรู้แบบการศึกษาชั้นเรียน (Lesson Study) แบบประเมินตนเอง เรื่องสื่อและความสามารถใช้ Technology ของครู แบบบันทึกผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ของครู เครื่องมือแต่ละชนิดนำไปให้ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน ตรวจความตรงเชิงเนื้อหาโดยใช้ ค่า IOC พบว่า มีค่า IOC อยู่ระหว่าง 0.80 - 1.00 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ สังเคราะห์เนื้อหาและ t-test (t-test Dependent)


          ผลการวิจัยพบว่า  1. สมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูโดยใช้เทคโนโลยี Google Apps รายวิชา เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในระดับชั้นมัธยมศึกษาหลังได้รับการพัฒนาสูงกว่าก่อนการพัฒนา  2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่ได้รับจากการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยี Google Apps รายวิชา เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4  หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่
ระดับ .01 และนักเรียนมีความพึงพอใจ ต่อการจัดการเรียนรู้ของครูอยู่ในระดับมาก (= 4.06 , S.D. = .459)  3.ปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะในการจัดการเรียนรู้ของครู พบว่า มีปัญหาด้านเวลาที่ใช้ในการจัดการเรียนรู้ และอุปกรณ์ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ โปรแกรม และระบบอินเตอร์เน็ต ข้อเสนอแนะ คือ นำสื่อที่ใช้ประกอบการสอนลงในเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อให้นักเรียนสามารถศึกษาได้ทุกเวลา เป็นการเตรียมความพร้อมสำหรับนักเรียน และมีระบบอินเทอร์เน็ตที่รองรับต่อการจัดการศึกษา

Article Details

How to Cite
Itsaraporn Chaingam อ. . ช. (2023). การพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูระดับชั้นมัธยมศึกษา โดยใช้เทคโนโลยี Google Apps เพื่อพัฒนาผลการเรียนรู้: Development of Secondary School Teacher’s Learning Management Competency Using Google Apps Technology to Enhance Learning Achievement. SOCIAL SCIENCES RESEARCH AND ACADEMIC JOURNAL, 18(1), 107–120. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/JSSRA/article/view/258271
Section
Research Articles

References

กนกวรรณ ณ สงขลา. (2553). การใช้นวัตกรรมการเรียนการสอนภาษาอังกฤษของครูในโรงเรียนระดับมัธยม. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (เทคโนโลยีทางการศึกษา). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

กิ่งแก้ว มิตรวิจารณ์. (2551). การพัฒนาบุคลากรโครงการโรงเรียนสองภาษาด้านการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โรงเรียนมุกดาหาร อำเภอเมืองมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต (บริหารการศึกษา), มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.

จิตเอก โคตรพิศ. (2555). มโนมติทางวิทยาศาสตร์เรื่องการสืบพันธุ์และการเจริญเติบโตของสัตว์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยการสอนแบบเปรียบเทียบภายใต้บริบทการศึกษาชั้นเรียน. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (วิทยาศาสตร์ศึกษา). มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.

เจนสมุทร แสงพันธ์. (2555). รายงานการวิจัยเรื่องการศึกษาการให้เหตุผลทางเรขาคณิตในการแก้ปัญหาปลายเปิด : เน้นการแก้ปัญหาในกลุ่มย่อย. เชียงใหม่: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

เดชา เดชะวัฒนไพศาล. (2543). Competency – Based Human Resources Management. กรุงเทพฯ: HR Magazine.

นภาพร วรเนตรสุดาทิพย์และคณะ. (2552). การศึกษาชั้นเรียน (Lesson study) และวิธีการแบบเปิด (Open approach): กรณีศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น (ศึกษาศาสตร์) ระดับประถม. วารสารการศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น, 32(4), 76-80.

นัฏฐิกา สุนทรธนผล. (2560). รายงานการวิจัยเรื่องการศึกษาความพึงพอใจของนิสิตต่อการจัดการเรียนการสอนผ่านกูเกิลคลาสรูม รายวิชาประวัติดนตรีตะวันตก. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ภาสกร เรืองรอง. (2558). การใช้เทคโนโลยี Google Apps ในการพัฒนานวัตกรรมการเรียน การสอน (The use of Google Apps in the development of innovative Teaching). ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร.

รันดา วีระพันธ์. (2553). การพัฒนาบทเรียนร่วมกันของครู (Lesson Study) เรื่อง ตัวประกอบของจํานวนนับ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน. การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต (หลักสูตรและการสอน). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.

วิลาวัลย์ โพธิ์ทอง. (2561). พื้นฐานนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา. กรุงเทพฯ: บีพีเค พริ้นติ้ง จำกัด.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่3) พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.

อาริตา สาวดี. (2553). สภาพปัญหาและความต้องการการเรียนการสอนภาษาอังกฤษระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรและการสอนภาษาอังกฤษ). มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์, อุตรดิตถ์.

Inprasitha. N. (2009). Lesson Study: Innovation for Developing Teacher and Students. Thesis for Doctor of Education, Graduate School, Khon Kaen University.

Yoshida. M. (2006). An overview of Lesson Study. In Building our understanding of lesson study. Philadelphia: Research for better school.