ผลการจัดการเรียนรู้ด้วยโมเดลซิปปาร่วมกับผังกราฟิกที่มีต่อความสามารถ ในการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ผลการจัดการเรียนรู้ด้วยโมเดลซิปปาร่วมกับผังกราฟิกที่มีต่อความสามารถ ในการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

Main Article Content

แก้วตา อินทรจักร Kaewta Intalachak
พรสิริ เอี่ยมแก้ว Pornsiri Eiamguaw

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยโมเดลซิปปาร่วมกับผังกราฟิกกับเกณฑ์ร้อยละ 75 ของคะแนนเต็ม 20 คะแนน 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ด้วยโมเดลซิปปาร่วมกับผังกราฟิก และ 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยโมเดลซิปปาร่วมกับผังกราฟิกกับเกณฑ์ร้อยละ 75 ของคะแนนเต็ม 30 คะแนน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 โรงเรียนบ้านไร่วิทยา จำนวน 39 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ โดยมีความเหมาะสมของแผนฯ มากที่สุด (gif.latex?\bar{x}=4.51,S.D.=0.58) 2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ เป็นแบบปรนัย จำนวน 20 ข้อ โดยมีค่าความยากอยู่ระหว่าง 0.28-0.69  ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.22-0.78 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.89 และ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นแบบปรนัย จำนวน 30 ข้อ โดยมีค่าความยากอยู่ระหว่าง 0.31-0.78 ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.28-0.72 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.92 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การทดสอบแบบที กรณีกลุ่มตัวอย่างไม่อิสระจากกัน และกลุ่มตัวอย่างกลุ่มเดียว


ผลการวิจัยพบว่า


  1. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ฯ มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์คิดเป็นร้อยละ 80.15 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 ของคะแนนเต็ม 20 คะแนน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

  2. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ฯ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน(gif.latex?\bar{x}=24.26&space;,S.D.=3.70) สูงกว่าก่อนเรียน (gif.latex?\bar{x}=11.64&space;,S.D.=3.18) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

  3. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ฯ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคิดเป็นร้อยละ 80.87 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 ของคะแนนเต็ม 30 คะแนน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

How to Cite
Kaewta Intalachak แ. . อ., & Pornsiri Eiamguaw พ. . เ. (2023). ผลการจัดการเรียนรู้ด้วยโมเดลซิปปาร่วมกับผังกราฟิกที่มีต่อความสามารถ ในการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3: ผลการจัดการเรียนรู้ด้วยโมเดลซิปปาร่วมกับผังกราฟิกที่มีต่อความสามารถ ในการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์, 18(1), 223–236. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/JSSRA/article/view/260077
บท
บทความวิทยานิพนธ์

References

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2559). 80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. (พิมพ์ครั้งที่ 7). นนทบุรี: พี บาลานซ์ดีไซด์แอนปริ้นติ้ง.

ชลวษา ปิยะนฤพัทธ. (2551). การศึกษาผลการเรียนรู้และความสามารถในการคิดวิเคราะห์ เรื่อง เศรษฐศาสตร์ในชีวิตประจำวันของนักเรียนเตรียมทหารชันปีที่ 2 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้หลักการซิปปา. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต (การสอนสังคมศึกษา). มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพฯ.

ณัฐ สิมะธัมนันท์. (2551). การพัฒนาความสามารถในการเรียนรู้ด้วยการจัดการเรียนการสอนโดยใช้เทคนิคแผนผังกราฟิก เรื่อง การเมืองการปกครองของนักเรียนเตรียมทหารชั้นปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (การสอนสังคมศึกษา). มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพฯ.

ทิศนา แขมมณี. (2552). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ.(พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทิศนา แขมมณี. (2560). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 21). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธิดารัตน์ ศักดิ์สุจริต. (2555). ผลการใช้แผนการจัดการเรียนรู้แบบซิปปาร่วมกับเทคนิคผังกราฟิกที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความสามารถในการวิเคราะห์และความพึงพอใจต่อการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรและการสอน). มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, สกลนคร.

วรารัตน์ กมลคุณากร. (2555). การพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม สาระภูมิศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้รูปแบบซิปปา (CIPPA Model). วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรและการสอน). มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.

วิภาพรรณ พินลา. (2561). การจัดการเรียนรู้สังคมศึกษาในยุคศตวรรษที่ 21. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศักดา ด้วงทอง. (2555). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบซิปปา เรื่อง ศาสนพิธี ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรและการสอน). มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, เชียงราย.

สถิต นาคนาม. (2553). การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคผังกราฟิกเพื่อเสริมสร้างทักษะการอ่านภาษาไทยเชิงวิเคราะห์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, สกลนคร.

เสงี่ยม โตรัตน์. (2546). การสอนเพื่อสร้างเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยศิลปากร, 67(82), 28.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42. (2562). รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา ปีการศึกษา 2562. สืบค้นเมื่อ 27 มีนาคม 2563, จาก http://www.secondary42.obec.go.th.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตร.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). แนวทางการพัฒนา การวัดและประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา. (2562). รายงานผลการประเมินคุณภาพภายนอกของสถานศึกษา. สืบค้นเมื่อ 27 มีนาคม 2563, จาก http://www.onesqa.or.th.

Ausubel, D.P. (1969). Ego deveiopment and the personality. (3rd). New York: Grune and Stration.

Bloom, Benjamin. (1956). Taxonomy of Education Objectives Handbook I: Cognitive Domain. New York: David McKay Company.