การใช้ยุทธวิธีเมตาคอกนิชันในการสอนอ่านภาษาไทย (Using Metacognition Strategies in Thai Reading Instructional)

Main Article Content

ฤทัยรัตน์ ลอยเจริญ Ruthairat Loicharern

Abstract

บทคัดย่อ

                ยุทธวิธีเมตาคอกนิชัน (Metacognition Strategies)ในการสอนอ่านภาษาไทย เป็นวิธีการนำความรู้และกระบวนการทางความคิด  มาใช้เพื่อให้ผู้อ่านเกิดการตระหนักรู้ในตนเอง  รวมถึงการจัดการตนเองเกี่ยวกับการวางแผนการอ่าน  การเลือกวิธีการหรือยุทธวิธีที่เหมาะสมในการอ่าน  การควบคุมตรวจสอบความเข้าใจในการอ่าน และการประเมินผลในการอ่านของผู้อ่าน  อีกทั้งต้องคำนึงถึงความสามารถทางการเรียนรู้ด้านการอ่านของผู้อ่านควบคู่ไปด้วย  ซึ่งองค์ประกอบเหล่านี้จะช่วยให้ผู้อ่านสามารถแก้ปัญหาการอ่านและพัฒนาการอ่านของตนได้เป็นอย่างดีและมีประสิทธิภาพ โดยมีแนวคิดมาจากทฤษฎีการเรียนรู้พุทธินิยม (Cognitive theory) ที่เน้นการเปลี่ยนแปลง การเรียนรู้จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อผู้อ่านสามารถเพิ่มเติมมโนมติและความคิดของตนเอง  และทฤษฎีโครงสร้างความรู้ (Schema theory) ที่เน้นกระบวนการของการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้อ่านกับบทอ่าน  มีการวางแผนเพื่อช่วยกำหนดแนวทางในการอ่าน  มีการประเมินการอ่านของตนเองเป็นระยะ เพื่อตรวจสอบการอ่านของตน ซึ่งการใช้ยุทธวิธีเมตาคอกนิชันในการสอนอ่านนั้นจะมีประสิทธิภาพตามจุดมุ่งหมายในการอ่านก็ต่อเมื่อมีการปฏิบัติตามองค์ประกอบของการสอนอ่านเป็นสำคัญ

Abstract

            Metacognition strategies in Thai reading instructional is the application of knowledge and thinking process to make the reader have self-awareness as well as self-management in making a reading plan, selecting suitable ways or strategies, controlling and checking comprehension and evaluating, together with taking into account the learning ability in reading of the reader. These components will enable the reader to solve the reading problems and to improve one’s own reading effectively basing on Cognitive theory which emphasizes change since learning will not take place unless the reader can develop one’s own conceptual ideas. Schema theory also comes into play as interactive process between the reader and what is being read is an emphasis by making a plan to determine ways to read, and evaluating periodically to check one’s own reading. Whether using Metacognition strategies in teaching reading will be effective according to the reading purpose or not, following what to practice according to each component of teaching reading is of importance. 

Article Details

Section
Academic Articles