ยุทธศาสตร์การสร้างเครือข่ายการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม ในพื้นที่จังหวัดภาคเหนือตอนล่าง (The Strategy for Networking Creation in Crime Prevention and Suppression in the Area of Lower Northern Provinces)

Main Article Content

สุพจณ์ พรมพิทักษ์ Supot Prompituck

Abstract

บทคัดย่อ

                การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสถานการณ์เกี่ยวกับเครือข่ายการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมในพื้นที่จังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 2) เพื่อศึกษาการบริหารจัดการเครือข่ายการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมในพื้นที่จังหวัดภาคเหนือตอนล่าง และ 3) เพื่อเสนอยุทธศาสตร์การสร้างเครือข่ายการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมในพื้นที่จังหวัดภาคเหนือตอนล่าง การวิจัยนี้เป็นการวิจัยผสานวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างเป็นประชาชนที่ขึ้นทะเบียนเป็นเครือข่ายป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม และตำรวจที่เป็นเครือข่ายในพื้นที่จังหวัดภาคเหนือตอนล่าง จำนวน 569 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย การวิจัยเชิงคุณภาพดำเนินการโดยสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญเกี่ยวข้องกับการบริหารงานการสร้างเครือข่ายประชาชน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับเครือข่ายในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม จำนวน 120 คน  และการสนทนากลุ่มผู้กำหนดนโยบาย ผู้บริหารงาน นักวิชาการ ผู้นำชุมชน และผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย จำนวน 18 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา

                ผลการวิจัยพบว่า

                1.  สถานการณ์เครือข่ายการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมในพื้นที่จังหวัดภาคเหนือตอนล่างมีการดำเนินการในระดับมาก 

                2.  การบริหารจัดการเครือข่ายป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมในพื้นที่จังหวัดภาคเหนือตอนล่าง  ประกอบด้วย 2 มาตรการ คือ 1) รูปแบบการดำเนินงานของเครือข่ายการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม ด้านการจัดการโครงการ  ด้านการกำกับดูแลโครงการป้องกันและด้านการวัดและประเมินผลโครงการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม และ 2) การบริหารงานของเครือข่ายโดยการพัฒนาบุคลากร กฎระเบียบ และการสนับสนุนงบประมาณและวัสดุอุปกรณ์

                3.             ยุทธศาสตร์การสร้างเครือข่ายการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมประกอบด้วยยุทธศาสตร์หลัก
3 ยุทธศาสตร์คือ  1) ยุทธศาสตร์การจัดตั้งโครงการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมภาคบังคับทุกสถานีตำรวจโดยอาศัยประชาชนเป็นแนวร่วม  2) ยุทธศาสตร์การวางระบบการติดต่อสื่อสารระหว่างประชาชนกับเจ้าหน้าที่ตำรวจโดยใช้ตำรวจชุมชนสัมพันธ์ และ 3) ยุทธศาสตร์การสร้างแรงจูงใจแก่ผู้เข้าร่วมโครงการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมในรูปแบบการให้ผลตอบแทน

Abstract

                        The objectives of this research were 1) to study the situation of networking creation in crime prevention and suppression in the area of lower northern provinces, 2) to study the networking management of crime prevention and suppression in the area of lower northern provinces and 3) to propose strategies for networking creation in crime prevention and suppression in the area of lower northern provinces. This study employed mixed methods research which combined both quantitative and qualitative approaches. The quantitative research was conducted by studying the sample of 569 respondents who were selected from the registered people in crime prevention and suppression network of 2533 persons and from polices of the same network in the area of 5 lower northern provinces. The questionnaire was used as the research tool and the data were analyzed by using descriptive statistics comprising by mean. The qualitative method was conducted by in-depth interviewing with 120 key informants who were selected purposively from the experts in networking management and people who were stakeholders of the network, combined with group discussion of 18 participants who were experts and purposively selected from policy formulators, administrators, academicians, experts in networking creation, community leaders and stakeholders. The data were analyzed by content analysis.

The research results were as follows:

                        1.   The network management of crime prevention and suppression in the area of lower northern prevention were at a high level.

                        2.   The network management of crime prevention and suppression in the area of lower northern prevention comprised two essential measures composing of 1) developing of operational model of crime prevention and suppression networking, and
2) developing the management of crime prevention and suppression network.

                        3.   The proposed strategies for crime prevention and suppression network creation consisted of 3 main strategies consisting of 1) the strategy for project establishment in crime prevention and suppression as compulsory implementations in all police offices by utilizing the people as network members, 2) the strategy for setting up the systematic communication networks between the people and community relation polices, and 3) strategy for incentive creations to all network participants by providing wages, rewards, uniforms, various forms of services including honor awards publicizing by using annual budgeting.

Article Details

Section
Dissertations