ความคาดหวัง และความพึงพอใจของพนักงานที่มีต่อสื่อประชาสัมพันธ์ภายในองค์กร กรณีศึกษา: บริษัทไทยซัมมิท ฮารเนส จำกัด (มหาชน) และบริษัทในเครือ (Expectations and Satisfaction of Employees to Public Relations Media: Case Study of Thai Summit Hardness Public Com)

Main Article Content

ชนิดา อินสมบัติ Chanida Insombat

Abstract

บทคัดย่อ

                การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้  1) เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการเปิดรับสื่อประชาสัมพันธ์ภายในองค์กรจำแนกตามวัตถุประสงค์  2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการเปิดรับสื่อประชาสัมพันธ์ภายในองค์กร กับความคาดหวังของพนักงานที่มีต่อสื่อประชาสัมพันธ์ภายในองค์กร และ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการเปิดรับสื่อประชาสัมพันธ์ภายในองค์กรกับความพึงพอใจของพนักงานที่มีต่อสื่อประชาสัมพันธ์ภายในองค์กรกลุ่มตัวอย่างได้แก่ พนักงานของบริษัทไทยซัมมิท ฮารเนส จำกัด (มหาชน) และบริษัทในเครือ จำนวน 354 คน เป็นการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage sampling) เครื่องมือวิจัยคือแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติพรรณนาเพื่อหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานการวิเคราะห์สหสัมพันธ์ และวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อทดสอบสมมติฐาน โดยใช้การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวน

                ผลการวิจัยพบว่า

                1.  พนักงานเพศชายกับเพศหญิงมีพฤติกรรมการเปิดรับสื่อประชาสัมพันธ์แตกต่างกัน สำหรับพนักงานที่มีอายุ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ทำงาน และตำแหน่งการปฏิบัติงานแตกต่างกันมีพฤติกรรมการเปิดรับสื่อประชาสัมพันธ์ไม่แตกต่างกัน

                2.  พฤติกรรมการเปิดรับสื่อประชาสัมพันธ์ภายในองค์กรมีความสัมพันธ์ตามความคาดหวังของพนักงานที่มีต่อด้านคุณลักษณะและด้านเนื้อหาของสื่อประชาสัมพันธ์ภายในองค์กร

                3.            ความคาดหวังที่มีต่อสื่อประชาสัมพันธ์ภายในองค์กรมีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจของพนักงานที่มีต่อสื่อประชาสัมพันธ์ภายในองค์กร

Abstract

                This research aimed 1) to compare public relations media exposure behavior within the organization as classified by the variables of gender, age, educational level, work experience and position, 2) to study the correlation between public relation exposure behavior within the organization and expectations of employees towards public relations media within the organization, and 3) to study the correlation between public relations media exposure behavior within the organization and satisfaction of employees towards public relations media within the organization. The sample consisted of 354 employees of Thai summit hardness public company limited and subsidiaries selected by simple random sampling. The research instrument used was a rating scale questionnaires with a reliability coefficient of 954 data were analyzed through mean, standard deviation, correlation, analysis, t-test and ANOVA analysis.

                The results of the study are as follows:

                1.  Differences gender showed different public relations media exposure behavior. However, differences in age, educational level, work experience, and position revealed no differences in public relations media exposure behavior.

                2.  Public relations media exposure behavior within the organization correlated with expectations the employees towards the characteristics and content of the public relations media within the organization.

                3.             Expectations towards public relations media within the organization correlated with satisfaction of employees towards public relation media within the organization

Article Details

Section
Dissertations