ผลการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสังคม ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ และความสามารถ ในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 (The Effect of Teaching Science Based on Science, Technology and Society on Science Ach)

Main Article Content

ทัชยา อุดมรักษ์ Thouchaya Udomrak

Abstract

บทคัดย่อ

                การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ก่อนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการสอนตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสังคม  2) เพื่อศึกษาจำนวนนักเรียนที่ได้รับการสอนตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสังคมที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม  3) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาก่อนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการสอนตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสังคม กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555 โรงเรียนบางลายพิทยาคม อำเภอบึงนาราง จังหวัดพิจิตร จำนวน
36 คน ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่  1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสังคม วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง ทรัพยากรธรณี จำนวน 5 แผน  2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ  มีค่าความยากง่ายตั้งแต่ 0.31 – 0.60
มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.43 – 0.76  และมีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.91 และ  3) แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหามีลักษณะเป็นแบบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าความยากง่ายตั้งแต่ 0.21 - 0.83  ค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.24 – 0.67  และมีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.79

                ผลการวิจัยพบว่า

                1.  นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสังคม
มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 

                2.  นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสังคม จำนวนร้อยละ 88.89  ของจำนวนนักเรียนทั้งหมดมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ผ่านเกณฑ์คะแนนร้อยละ  70  ของคะแนนเต็ม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

                3.  นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสังคม
มีความสามารถในการแก้ปัญหาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Abstract

                The purposes of this research were  1) to compare the achievement before and after studying science of Mathayom II students being taught using science based on science, technology and society,  2) to find out
the percentage of the students whose scores are 70% or above, and  3) to compare the student’s problem solving abilities in science of Mathayom II students being taught using science based on science, technology and society. The samples were from thirty-six Mathayom II students in the first semester of academic year 2012 at Banglai Pitthayakhom school in Bung Narang District, Phichit Province. The samples were selected by cluster random sampling. The instruments used in the research were  1) lesson plans using science based on science, technology and society 2) the science achievement test with 30 items, 4 multiple choices, with degree of difficulty from  0.30 - 0.60, the discrimination power from 0.43 - 0.76, and reliability coefficient of 0.91, and 3) the problem solving abilities test with 30 items, 4 multiple choices, with degree of difficulty from  0.21 - 0.83, the discrimination power from 0.24 - 0.67, and  reliability coefficient  of 0.79.

                The research findings were as follows:

                1.  Students being taught science by using  science based on science, technology and society achieved  a  higher  score  in the  posttest  at  the .05  level of  significance.

                2.  70 percent of students being taught science by using science based on science, technology and society obtained scores significantly at 70% or above at the .05  level.

                3.             Student’s problem solving abilities in science through the use of science based on science, technology and society after being taught was higher than those before being taught at the .05 level of  significance.

Article Details

Section
Dissertations