อิทธิพลของการจัดการทรัพยากรมนุษย์และสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงานที่มีต่อความผูกพันองค์การของบุคลากรในองค์การรัฐวิสาหกิจ อิทธิพลของการจัดการทรัพยากรมนุษย์และสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงานที่มีต่อความผูกพันองค์การของบุคลากรในองค์การรัฐวิสาหกิจ

Main Article Content

วัศยา หวังพลายเจริญสุข Wassaya Wangplaicharoensuk

บทคัดย่อ

         การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความผูกพันองค์การ และ 2) ศึกษาอิทธิพลของการจัดการทรัพยากรมนุษย์และสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงานที่มีต่อความผูกพันองค์การของบุคลากรในองค์การรัฐวิสาหกิจ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ บุคลากรผู้ปฏิบัติงานอยู่ในองค์การรัฐวิสาหกิจ จำนวน 273 คน  เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน


        ผลการศึกษา พบว่า 1) ระดับความผูกพันองค์การของบุคลากรในองค์การรัฐวิสาหกิจ อยู่ในระดับสูง ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.04 (gif.latex?\bar{x}= 4.04, S.D. = 0.48) และ 2) อิทธิพลของการจัดการทรัพยากรมนุษย์และสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงานที่มีต่อความผูกพันองค์การของบุคลากรในองค์การรัฐวิสาหกิจ พบว่า ปัจจัยด้านการจัดการทรัพยากรมนุษย์ และปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงาน สามารถร่วมกันพยากรณ์ความผูกพันองค์การได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยสามารถร่วมกันพยากรณ์ความผูกพันองค์การได้ร้อยละ 75.00 (R2 = 0.75, F = 411.80)

Article Details

How to Cite
Wassaya Wangplaicharoensuk ว. ห. (2023). อิทธิพลของการจัดการทรัพยากรมนุษย์และสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงานที่มีต่อความผูกพันองค์การของบุคลากรในองค์การรัฐวิสาหกิจ: อิทธิพลของการจัดการทรัพยากรมนุษย์และสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงานที่มีต่อความผูกพันองค์การของบุคลากรในองค์การรัฐวิสาหกิจ. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์, 18(3), 137–152. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/JSSRA/article/view/265741
บท
บทความวิจัย

References

กนกพร กระจ่างแสง และ วิโรจน์ เจษฎาลักษณ์. (2560). อิทธิพลของแรงจูงใจในการทํางานและการสนับสนุนจากองค์กรที่สงผลต่อคุณภาพในการปฏิบัติงานผ่านความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรโรงพยาบาลนครธน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี, 11(26), 116 – 129.

กนกอร รัตนพันธุ์. (2560). การศึกษาอิทธิพลของปัจจัยการจัดการทรัพยากรมนุษย์ที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการกรมปศุสัตว์ที่ปฏิบัติงานในพื้นที่สำนักงานปศุกสัตว์ เขต 3. ภาคนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (สาขาบริหารธุรกิจ). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา: นครราชสีมา.

กาญจนา พันธ์ศรีทุม และ จารุวรรณ สกุลคู. (2560). อิทธิพลของปัจจัยด้านความยึดมั่นผูกพันในงาน ความผูกพันต่อองค์การ และความพึงพอใจในงานที่ส่งผลต่อความตั้งใจลาออกของพนักงานรัฐวิสาหกิจแห่งหนึ่ง. ศรีปทุมปริทัศน์ ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 17(1), 16 – 22.

ชยาภรณ์ แสงเฟื่อง. (2560). อิทธิพลของผลตอบแทนขององค์การต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การความผูกพันกับองค์การและผลการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารพาณิชย์ไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต (สาขาบริหารธุรกิจ). มหาวิทยาลัยรามคำแหง: กรุงเทพฯ.

ชลิตพันธ์ บุญมีสุวรรณ. (2563). ความผูกพันของพนักงานต่อองค์การ: แนวทางสู่ความสำเร็จ. วารสารธุรกิจปริทัศน์, 12(1) 197 – 207.

ทรงศักดิ์ ภูสีอ่อน. (2551). การประยุกต์ใช้ SPSS วิเคราะห์ข้อมูลงานวิจัย. กาฬสินธุ์ : ประสานการพิมพ์.

นฤมล กิมภากรณ์ และคณะ. (2551). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันของพนักงานต่อองค์การ : กรณีองค์การสื่อสารโทรคมนาคม. Veridian E – Journal, 1 (1), 36-47.

นฤมล จิตเอื้อ. (2561). การรับรู้บรรยากาศองค์การ ความผูกพันต่อองค์การ และพฤติกรรมการทำงานเชิงสร้างสรรค์ของบุคลากรสายวิชาการมหาวิทยาลัยของรัฐ. วารสารบริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ, 9(1), 67 – 86.

บุษกร คำโฮม และ ธวมินทร์ เครือโสม. (2565). อิทธิพลของการบริหารผลการปฏิบัติงานและความยุติธรรมในองค์กรต่อความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรโรงพยาบาลเอกชน. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์, 17(2), 121 – 136.

เรือนขวัญ อยู่สบาย และ กัญชพร ศรมณี. (2561). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยสร้างความผูกพัน ระดับความผูกพัน และผลงานของพนักงาน: กรณีศึกษา บริษัท NMO จำกัด. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 10(1), 121 – 133.

วนิดา พลเดช. (2560). อิทธิพลของบรรยากาศแห่งความสุขและความอัศจรรย์ภายในองค์การที่มีต่อความรู้สึกพึงพอใจและความรู้สึกผูกพันของบุคลากร: กรณีศึกษารัฐวิสาหกิจแห่งหนึ่ง. สุทธิปริทัศน์, 31(98), 233 – 244.

วรเดช เพลิดพริ้ง และ นิลุบล ศิวบวรวัฒนา. (2564). ศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุของการจัดการทรัพยากรมนุษย์ที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันในองค์การและความได้เปรียบในการแข่งขันในบริบทของระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกแห่งประเทศไทย. วารสารวิชาการสถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 7(3), 441 – 456.

วิสิทธิ์ มะณี และ บุญอนันต์ พินัยทรัพย์. (2564). ผลของระบบการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่มีต่อการปฏิบัติงาน ของพนักงานรัฐวิสาหกิจไทย. วารสารการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การ, 13(1), 1 - 22.

ศักดิพันธ์ ตันวิมลรัตน์. (2557). การบริหารทรัพยากรมนุษย์ทางการศึกษา แนวคิด ทฤษฎีและบทบัญญัติทางกฎหมายที่เกี่ยวข้อง. Veridian E – Journal, 7 (3), 845 – 862.

ศุภลักษณ์ พรมศร. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมในการทำงาน การรับรู้รูปแบบภาวะผู้นำของพนักงาน ความผูกพันในงานกับความพึงพอใจในงาน. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์กร). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์: กรุงเทพฯ.

สมจัย นามวงษา, นภาวรรณ เนตรประดิษฐ์ และ เนตร์พัณณา ยาวิราช. (2563). อิทธิพลของภาวะผู้นำ การพัฒนารัพยากรมนุษย์ และความผูกพันของพนักงานที่ส่งผลต่อความตั้งใจทางานของพนักงานกลุ่มอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธนบุรี, 14(2), 131 – 143.

สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ. (2562). คำจำกัดความรัฐวิสาหกิจ. สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2566, จาก https://www.sepo.go.th/content/12

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2563). รัฐวิสาหกิจไทยแหล่งรายได้รัฐบาลหรือภาระงบประมาณของแผ่นดิน. กรุงเทพฯ: สำนักงบประมาณของรัฐสภา.

สำนักแรงงานสัมพันธ์. (2564). จำนวนพนักงานและลูกจ้างของรัฐวิสาหกิจ. สืบค้นเมื่อ 30 มกราคม 2566, จาก https://relation.labour.go.th/attachments/category/80/71-15202021-003.pdf

สิรินทิพย์ จันทรนิมะ และ บุญอนันต์ พินัยทรัพย์. (2560). ปัจจัยแรงจูงใจที่มีความสัมพันธ์กับความผูกพันองค์การ: กรณีศึกษา ธนาคารออมสิน. วารสารการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน, 27(1), 5 – 25.

Aaker, D., Kumar, V., & Day, G. (2001). Marketing Research. NY: John Wiley & Sons.

Ahmad, A. (2018). The relationship among job characteristics organizational commitment and employee turnover intentions. Journal of Work-Applied Management, 10(1), 74-92.

Allen, N. J. & Meyer, J. P. (1990). The measurement and antecedents of affective continuance and normative to the organizations commitment to the organizations. Journal of Occupational Psychology, 6(3), 1 – 18.

Buchanan, B. (1994). Building organization commitment: The socialization of managers in work organization. Administrative Science Quarterly, 5(2), 352 - 358.

Marques, T., Galende, J., Cruz, P., & Ferreira, M. P. (2014). Surviving downsizing and innovative behaviors: A matter of organizational commitment. International Journal of Manpower, 35(7), 930-955.

Mathis, R.L., & Jackson, J.H. (2008). Human Resource management. South-Western: Thomson.

McKim, S. J. (2003). Healthy work environments. NurseLeader, 15(3), 15-22.

Nunnally, J. (1978). Psychometric theory. New York: McGraw Hill.

Scheible, A. C. F., & Bastos, A. V. B. (2013). An examination of human resource managementpractices' influence on Organizational Commitment and Entrenchment. BAR Brazilian Administration Review, 10(1), 57-76.

Susan E. Jackson, Randall S. Schuler, and Steve Werner. (2017). Managing human resources. Mason, OH : South - Western / Cengage Learning.

Ulrich, D. (1997). Human Resource Champions. Boston, MA: Harvard Business School Press.

Yamane, T. (1967). Statistics, An Introductory Analysis. New York: Harper and Row.