ผ้าทอนาหมื่นศรีและผ้าทอเกาะยอ: การประยุกต์ใช้แนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน; Nameunsi and Koh Yor woven fabric: The application of creative economy concepts to develop products for the development of community economy

Main Article Content

กงแก้ว ศรีสุข Kongkaeo Srisuk

Abstract

บทคัดย่อ

                งานวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายดังนี้ 1) เพื่อศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นเกี่ยวกับการผลิตผ้าทอนาหมื่นศรีและผ้าทอเกาะยอ 2) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางการจัดการการตลาดผ้าทอนาหมื่นศรีและผ้าทอเกาะยอ และ
3) เพื่อศึกษาหารูปแบบการประยุกต์ใช้แนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าทอนาหมื่นศรีและผ้าทอเกาะยอเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน ผลการวิจัยพบว่า ผ้าทอนาหมื่นศรีและผ้าทอเกาะยอ เป็นภูมิปัญญา และความสามารถที่ถ่ายทอดสืบต่อกันมา ผ้าทอนาหมื่นศรีมีลวดลายผ้าต่างๆ กว่า 30 ลาย และผ้าทอเกาะยอมีลวดลายผ้าต่างๆ กว่า 40 ลาย วัตถุดิบที่ใช้ในปัจจุบันคือ ฝ้ายสังเคราะห์ ที่สั่งซื้อจากกรุงเทพมหานคร สภาพปัญหาและแนวทางการจัดการการตลาดผ้าทอนาหมื่นศรีและผ้าทอเกาะยอ ทั้ง 2 กลุ่มมีสภาพปัญหาและแนวทางการจัดการการตลาดที่เหมือนหรือคล้ายคลึงกัน รูปแบบการประยุกต์ใช้แนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าทอนาหมื่นศรีและผ้าทอเกาะยอเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน มีขั้นตอนเริ่มแรกคือ สำรวจความต้องการของผู้บริโภค หลังจากสำรวจความต้องการของผู้บริโภคแล้ว ผู้วิจัยได้ทำการปรึกษากับนักเขียนแบบ เพื่อให้เขียนแบบผลิตภัณฑ์ตัวอย่าง ซึ่งนักเขียนแบบได้เขียนแบบผลิตภัณฑ์ 5 ประเภท ประกอบด้วย ชุดทำงาน กระเป๋าวัยทำงาน ชุดเคหภัณฑ์ ชุดราตรียาว และชุดกระเป๋าวัยรุ่น จากนั้นผู้วิจัยจึงได้ดำเนินการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการที่ตำบลนาหมื่นศรี  เพื่อให้ที่ประชุมแสดงความคิดเห็น การพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน ได้มีการออกแบบโดยคำนึงถึงผลิตภัณฑ์ที่ตรงกับความต้องการของผู้บริโภค ผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย มีความทันสมัย มีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น และอยู่บนฐานของเศรษฐกิจสร้างสรรค์ การออกแบบหรือพัฒนาผลิตภัณฑ์ตามความต้องการ
โดยประยุกต์ใช้แนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าทอเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีการสร้างสรรค์ ตรงกับความต้องการของตลาด มีเอกลักษณ์โดดเด่น

Abstract

                   This qualitative research aims to study: 1) local knowledge of Namuensri and Koh Yor woven fabric production; 2) problems, conditions and guidelines for marketing management of Namuensri and Koh Yor woven fabric; and 3) application of creative economic concepts to develop Namuensri and Koh Yor woven fabric for community economic development. Research results found that Namuensri and Koh Yor woven fabrics are heritages of intellect and ability. There are more than 40 Namuensri and Koh Yor woven fabric patterns. Synthetic cotton is used as a raw material, ordered from Bangkok. There are five concerning aspects with both Namuensri and Koh Yor woven fabric products. The application of creative economic concepts was begun by surveying consumer demands and consulting with designers. Subsequently, the designers drew five products: a working dress, a working-age bag, household products, an evening dress and a bag for teenagers. The researchers then held workshops to allow respondents to comment on suitability of the creative economic concepts for product development. The product developments are based on customer demands, product variety, modernization, local identity and the creative economy. The product designs develop existing woven fabrics products to be creative products following market demand. They retain an outstanding identity and add value to the woven fabrics. Consequently, they can help increase product distribution, community revenue and development of the community economy.

Article Details

How to Cite
Kongkaeo Srisuk ก. ศ. (2017). ผ้าทอนาหมื่นศรีและผ้าทอเกาะยอ: การประยุกต์ใช้แนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน; Nameunsi and Koh Yor woven fabric: The application of creative economy concepts to develop products for the development of community economy. SOCIAL SCIENCES RESEARCH AND ACADEMIC JOURNAL, 11(33), 87–100. https://doi.org/10.14456/jssra.2016.26
Section
Research Articles
Author Biography

กงแก้ว ศรีสุข Kongkaeo Srisuk, Faculty of Cultural Science, Mahasarakham University

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวัฒนธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม