แนวทางการแก้ปัญหาความถดถอยของการออมภาคครัวเรือนเกษตร ในเขตจังหวัดนครสวรรค์; Ways to Solve the Declining in Savings of Farmer Households in Nakhon Sawan

Main Article Content

ชุณษิตา นาคภพ Chunsita Nakabhop

Abstract

บทคัดย่อ

                การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาแนวทางการแก้ปัญหาความถดถอยของการออมภาคครัวเรือนเกษตร
ในเขตจังหวัดนครสวรรค์ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการออมของครัวเรือนเกษตร
2) หาแนวทางการแก้ปัญหาการออมที่เหมาะสมของครัวเรือนเกษตร โดยวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ด้วยวิธีแบบปกติ (Enter) และแบบขั้นตอน (Stepwise) ทำการเก็บข้อมูลจากแบบสอบถามครัวเรือนเกษตรในเขตจังหวัดนครสวรรค์จำนวน  400  ครัวเรือน  และนำผลที่ได้รับมากำหนดมาตรการระยะสั้น โดยเน้นการปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อศึกษาถึงการเปลี่ยนที่เกิดขึ้นของชุมชมเป้าหมาย  และเป็นต้นแบบในการกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาการออมถดถอยของภาคครัวเรือนเกษตร
ในเขตจังหวัดนครสวรรค์ต่อไป ผลการวิจัยปรากฏดังนี้

                จากการวิเคราะห์การออมของครัวเรือนเกษตรแบปกติ พบว่า ตัวแปรอิสระทั้งหมด 5 ตัว ได้แก่  อายุ (A)  จำนวนสมาชิกในวัยพึ่งพิง (N) รายได้รวมของครัวเรือนเกษตร (Y) รายจ่ายรวมของครัวเรือนเกษตร (C) และหนี้สินของครัวเรือนเกษตร (D)  ร่วมกันพยากรณ์การออมได้ร้อยละ 49.20 โดยตัวแปรที่ส่งผลการออมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ มีจำนวน 2 ตัว คือ รายได้รวม (Y) และ รายจ่ายรวม (C) การวิเคราะห์ด้วยวิธีแบบขั้นตอน พบว่า รายได้รวม (Y)  และ รายจ่ายรวม (C) ร่วมกันพยากรณ์การออมได้ร้อยละ 47.60  ผู้วิจัยใช้มาตรการระยะสั้นดำเนินโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ 2 โครงการ คือ 1) โครงการส่งเสริมอาชีพเสริม และ2) โครงการบัญชีครัวเรือน  ผลการติดตามผู้เข้าร่วมโครงการทั้ง 30 คน พบว่ามีรายได้จากอาชีพเสริมเพิ่มขึ้น ทำให้ครัวเรือนใช้เวลาว่างในระหว่างรอการเก็บเกี่ยวให้เป็นประโยชน์  และช่วยลดจำนวนผู้พึ่งพิงของครัวเรือน  การให้ความรู้แก่ครัวเรือนในเรื่องของบัญชีครัวเรือนเป็นเรื่องที่ควรได้รับการส่งเสริมอย่างต่อเนื่อง  เพราะเป็นการสะท้อนถึงค่าใช้จ่ายที่แท้จริงของครัวเรือนถึงรายจ่ายที่จำเป็นและไม่จำเป็น  เพื่อให้ครัวเรือนสามารถวางแผนการลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นทั้งรายจ่ายในภาคเกษตร และนอกภาคเกษตร  ซึ่งจะทำให้อัตราการออมของครัวเรือนเกษตรในอนาคตเพิ่มสูงขึ้น  และทำให้ฐานะความเป็นอยู่ของภาคเกษตรดีขึ้น  ลดการกู้ยืมหนี้สิน ส่งเสริมให้ครัวเรือนเกษตรสามารถพึ่งพาตนเองได้  ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการแก้ไขปัญหาภาคเกษตรอย่างแท้จริง

Abstract

                This research will addressed the ways to solving savings decline by Nakhon Sawan Farmer Households with following research objectives: 1) Studying factors that influenced farmer household savings. 2) Guidelines in order to address savings which appropriate to agricultural households. The methods use will be the Multiple Regression Analysis, the Enter Multiple Regression Analysis and the Stepwise Multiple Regression Analysis. By distributing questionnaires 400 groups Following the result from the model mentioned, data can then be used as template in solving the current household saving decline problems for each community. The research result found the following;

                The result between 5 variables for farming household which include age (A), reliable household members (N), total household income (Y), total household expenses (C), household debts (D) and household savings (S), the result forecasted savings was at 49.20%.  The independent variables result in significant savings at the statistical consisted of two major variables, the total household income (Y) and total household expenses (C). From then, the Stepwise Multiple Regression Analysis method.  It is found that there are two variations; total household income (Y) and total household expenses (C) which forecasted the savings to be at 47.60%. After the meeting between researchers in order to fulfill short term goal.  The researchers have come up with 2 main projects; 1) finding extra income and 2) the household accountings. The result of the participants 30 people found that there are some increased in the household income, the household can then use the free time before the cultivation to do something beneficial and lessen or reduce the dependency from needed labors.  In this case, the result can substantially increased the income for entire household aside from what was taught to each farming household in basic expenditure and income accounting know-how as this will lead them to be able to manage and control the costs of running the farm both in farming related and non-farming related expense categories better.  The knowledge enabled farming household to know what is necessary and unnecessary in expenditures and viable yearly budgetary planning which result in even greater savings for each individual household in the future.  Long term results will raise the standard of living for farming households, lessen or reduce debts and enable efficiency in self reliance which is the key to successfully fix this agricultural sector problem.  

Article Details

How to Cite
Chunsita Nakabhop ช. น. (2017). แนวทางการแก้ปัญหาความถดถอยของการออมภาคครัวเรือนเกษตร ในเขตจังหวัดนครสวรรค์; Ways to Solve the Declining in Savings of Farmer Households in Nakhon Sawan. SOCIAL SCIENCES RESEARCH AND ACADEMIC JOURNAL, 11(33), 47–58. https://doi.org/10.14456/jssra.2016.23
Section
Research Articles
Author Biography

ชุณษิตา นาคภพ Chunsita Nakabhop, Nakhon Sawan Rajabhat University

สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ  มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์