รูปแบบการประเมินเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอนของครูวิทยาศาสตร์ที่ส่งเสริมความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน ของนักเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน; Evaluation Model for Developing Instruction Management of Science Teachers in Reading, Critical Thinking,

Main Article Content

สุนันทา รักพงษ์ Sununta Rakpong

Abstract

บทคัดย่อ

                การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพและ ความรู้ความเข้าใจในการจัดการเรียนการสอน และความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนฯ 2) สร้างและหาคุณภาพของรูปแบบการประเมินฯ 3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการประเมินฯ การดำเนินงานวิจัยแบ่งเป็น 3 ขั้นตอน คือ  1) การศึกษาสภาพและความรู้ความเข้าใจในการจัดการเรียนการสอนและความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอน เก็บข้อมูลโดยแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่าและแบบทดสอบแบบถูกผิด จากครูวิทยาศาสตร์กลุ่มตัวอย่างจำนวน 741 คนเขตภาคเหนือตอนล่างได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน จากนั้นวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความถี่และร้อยละและเรียงลำดับความต้องการจำเป็นโดยใช้สูตร PNI เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปใช้เป็นส่วนหนึ่งในการสร้างรูปแบบการประเมินฯ2) การสร้างรูปแบบการประเมินฯและรูปแบบการประเมินฯที่ได้นั้นได้รับการประเมินความสอดคล้องโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 11 ท่าน 3) การศึกษาผลการใช้รูปแบบการประเมินฯ กับครูวิทยาศาสตร์กลุ่มตัวอย่างที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการ จำนวน 30 คน จากโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 1 เก็บข้อมูลด้วยแบบประเมินความสามารถในการจัดการเรียนการสอนฯ จากนั้นวิเคราะห์ข้อมูลผลการใช้รูปแบบการประเมินฯโดย การหาค่าความถี่และร้อยละ ค่าสถิติ t- test ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

                ผลการวิจัยมีผลดังนี้ 1) ครูวิทยาศาสตร์มีการปฏิบัติการจัดการเรียนการสอนฯอยู่ในระดับปานกลางมีความรู้ความเข้าใจในการจัดการเรียนการสอนฯอยู่ในระดับปานกลางและมีความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนฯใกล้เคียงกันทุกรายการ2) รูปแบบการประเมินฯมีคุณภาพด้านความเหมาะสม ความเป็นไปได้ ความชัดเจน และความง่ายต่อการนำไปใช้อยู่ในระดับมากที่สุด 3)ครูวิทยาศาสตร์ผ่านเกณฑ์การประเมินความสามารถในการจัดการเรียนการสอนฯทุกคนหลังจากได้รับการพัฒนาตามรูปแบบการประเมินฯโดย สูงกว่าก่อนได้รับการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01 และมีทัศนคติที่ดีต่อการจัดการเรียนการสอนฯอยู่ในระดับมากที่สุด

Abstract

                The purpose of this study were (1) to study the condition of teaching and learning management, the knowledge and understanding of teaching and learning and the essential need for the teaching and learning managerial development (2) to build and calculate the quality of the evaluation model (3) to study the results of using the evaluation model. The research study was conducted through three stages ,to study of the conditional and the understanding knowledge of teaching and learning management and the essential need of the teaching and learning managerial development such as the used sample groups by the 741 science teachers of the below north part area got from the many steps-stylistic random. The data-collected used instruments such as questionnaires and wrong – right test , the data analysis by finding the frequency, percentage ,mean, standard deviation and the essential need order by using the modified priority need index in order to the data-collected used to build  the assessable model. To build the assessable model and  model evaluation from were the 11 experts. The model studied used sample groups were the 30 science teachers of the schools under the office of Uttaradit Primary Educational Areal.  The data-collected used instruments such as the ability evaluation of teaching and learning that were build from factor analysis, the data analyzed questionnaires by finding the frequency, percentage, mean, standard deviation and t-test.

                The results of this study were : the science teachers who were the practical condition as the teaching and learning managerial process were at the most medial group, learning management the knowledge and understanding of the teaching and learning were at the most medial group and were the essential need of the development as in every program of the teaching and learning management. The Evaluation Model  that the researcher built found that the quality of suitability, possibility, clarification, facilitation for taking them to use were at the most level ,every science teachers were pass evaluation and the results of ability assessment from the later teaching and learning management were higher than the present and the opinions toward teaching and learning management were at the most level. 

Article Details

How to Cite
Sununta Rakpong ส. ร. (2017). รูปแบบการประเมินเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอนของครูวิทยาศาสตร์ที่ส่งเสริมความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน ของนักเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน; Evaluation Model for Developing Instruction Management of Science Teachers in Reading, Critical Thinking,. SOCIAL SCIENCES RESEARCH AND ACADEMIC JOURNAL, 11(33), 115–130. https://doi.org/10.14456/jssra.2016.28
Section
Research Articles
Author Biography

สุนันทา รักพงษ์ Sununta Rakpong

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิจัยและพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่