การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนต้นแบบการเตรียมเยาวชนสู่ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน; The Development of a Learning Management Model in Prototype Schools to Prepare Youth for the ASEAN Socio-Cultural Community

Main Article Content

วิไลลักษณ์ ภู่ภักดี Wilailuk Poopakdee

Abstract

การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนต้นแบบการเตรียมเยาวชนสู่ประชาคมสังคม และวัฒนธรรมอาเซียน เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ  มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อศึกษาความเป็นมาและสภาพปัจจุบันด้านการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนต้นแบบการเตรียมเยาวชนสู่ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน  2) เพื่อศึกษาปัญหา แนวทางในการแก้ปัญหา และความต้องการด้านการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนต้นแบบการเตรียมเยาวชนสู่ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน และ 3) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนต้นแบบการเตรียมเยาวชนสู่ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน การวิจัยครั้งนี้มีพื้นที่ในการวิจัยเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาของจังหวัดในภาคกลาง  4  โรงเรียน กลุ่มตัวอย่างใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จากบุคลากรของโรงเรียนและผู้ที่มีส่วนร่วมในการพัฒนาการศึกษาในพื้นที่ที่โรงเรียนตั้งอยู่ จำนวน 87 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสำรวจ แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ ประเด็นในการสนทนากลุ่ม  และสาระในการประชุมเชิงปฏิบัติการ ผลการวิจัยพบว่า โรงเรียนทั้ง 4 แห่งเป็นโรงเรียนที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาต้นสังกัดเสนอชื่อให้เป็นโรงเรียนในกลุ่ม Sister School ของโครงการ Spirit of ASEAN  ทุกโรงเรียนดำเนินการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาที่เน้นอาเซียน ภาษาอังกฤษ เทคโนโลยี พหุวัฒนธรรมและภาษาเพื่อนบ้าน พบปัญหาเรื่องการจัดหลักสูตรของโรงเรียนที่ไม่เน้นวัฒนธรรมเท่าที่ควร ไม่เน้นอาชีพ ครูและผู้ปกครองไม่ค่อยเห็นด้วยกับการจัดกิจกรรมเพื่อสร้างประสบการณ์ให้กับนักเรียน นักเรียนไม่มีทักษะการพูดภาษาอังกฤษ ไม่มีทักษะการจัดการ ใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ไม่คุ้มค่า จากปัญหาดังกล่าวมีแนวทางในการแก้ปัญหาและความต้องการด้านการจัดการเรียนรู้ที่เป็นปัจจัยให้เกิดการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ขึ้น กำหนดเป็นองค์ประกอบของรูปแบบ 3 ส่วน กระบวนการจัดการเรียนรู้ของรูปแบบที่พัฒนาขึ้นมีขั้นตอนการเรียนรู้ 6 ขั้น ใช้อักษรย่อ “IMCASE” รูปแบบการเรียนรู้ของโรงเรียนต้นแบบการเตรียมเยาวชนสู่ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน มีการปรับปรุงพัฒนาโดยผ่านการตรวจสอบวิพากษ์ของผู้ทรงคุณวุฒิจากองค์กรต่าง ๆ รวมทั้งคำรับรองของผู้เชี่ยวชาญการสอนจากบุคลากรในโรงเรียน ช่วยให้องค์ประกอบของรูปแบบ การจัดการเรียนรู้มีความสมบูรณ์ สามารถนำไปใช้ได้ตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายของการพัฒนาเยาวชน


Abstract


                The purposes of this research were 1) to study the learning management background and situation of prototype schools that prepare young people for the ASEAN Socio-Cultural Community, 2) to study problems, solutions and needs of prototype schools in preparing young people for the ASEAN Socio-Cultural Community, and 3) to develop a model of learning management in prototype schools to prepare young people for the ASEAN Socio-Cultural Community. The research area was composed of secondary schools from four provinces in Central Thailand. The research sample consisted of 87 people, selected by purposive sampling from school personnel and those involved in educational development. The research instruments used were survey, observation, interview, focus group and workshop. The research findings revealed that the sample schools were all sister schools under the Spirit of ASEAN project. Each school had developed a school curriculum that focused on ASEAN, English language, technology, multiculturalism and neighboring languages. The problems of implementation were varied. The school curricula did not focus on culture and career, the teachers and parents disagreed with activities, the students did not have conversational English or management skills, and did not use technology for learning. The learning management model consisted of 3 parts: introduction, content and youth competency. Six steps of learning were developed, abbreviated as “IMCASE”. The learning management model can be applied for youth development.

Article Details

Section
Dissertations