การวิจัยปฏิบัติการเพื่อพัฒนามโนทัศน์ เรื่อง พันธุศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้การโต้แย้งเชิงวิทยาศาสตร์ในประเด็นทางสังคมที่เกี่ยวเนื่องกับวิทยาศาสตร์; ; An Action Research for Enhancing Genetics Conception of Grade 1

Main Article Content

วิภา อาสิงสมานันท์ Wipa Arsingsamanan

Abstract

การวิจัยปฏิบัติการนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการเรียนรู้โดยใช้การโต้แย้งในประเด็นทางสังคมที่เกี่ยวเนื่องกับวิทยาศาสตร์และ 2) เพื่อศึกษาผลของการจัดการเรียนรู้ต่อการพัฒนามโนทัศน์ เรื่อง พันธุศาสตร์ ประกอบด้วย  การจำลองดีเอ็นเอ การถอดรหัส รหัสพันธุกรรม การแปลรหัส มิวเทชัน เทคโนโลยีชีวภาพ และพันธุวิศวกรรม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ในหลักสูตรโรงเรียนวิทยาศาสตร์ภูมิภาค ปีการศึกษา 2558 จำนวนผู้เข้าร่วมวิจัย 24 คน ดำเนินการเก็บข้อมูลเพื่อสะท้อนแนวทางการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนามโนทัศน์จากแบบสะท้อนผลการจัดการเรียนรู้และแบบสะท้อนคิด โดยนำมาวิเคราะห์เนื้อหาและเก็บข้อมูลผลการจัดการเรียนรู้ระหว่างเรียนด้วยบันทึกการเรียนรู้และหลังเรียนด้วยแบบวัดมโนทัศน์ชนิดคำถามปลายเปิด จำนวน 20 ข้อ นำมาจัดกลุ่มความเข้าใจมโนทัศน์ของนักเรียนและหาค่าร้อยละของจำนวนนักเรียนที่แสดงระดับความเข้าใจมโนทัศน์ 


                ผลการวิจัยพบว่า 1) แนวทางการจัดการเรียนรู้โดยใช้การโต้แย้งในประเด็นทางสังคมที่เกี่ยวเนื่องกับวิทยาศาสตร์ มีลักษณะดังนี้ ขั้นนำเข้าสู่บทเรียนโดยใช้ประเด็นทางสังคมที่เกี่ยวเนื่องกับวิทยาศาสตร์ การเลือกใช้ประเด็นทางสังคมที่เกี่ยวเนื่องกับวิทยาศาสตร์ต้องสอดคล้องกับมโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ ใกล้ตัวนักเรียน และเป็นปัจจุบัน นอกจากนี้สื่อการเรียนรู้ต้องเหมาะสมกับลักษณะของประเด็นทางสังคมที่เกี่ยวเนื่องกับวิทยาศาสตร์และนำเสนอข้อมูลทั้งด้านบวกและลบ ขั้นสำรวจความรู้ตามประเด็นทางสังคมที่เกี่ยวเนื่องกับวิทยาศาสตร์ ควรให้นักเรียนได้สืบค้นข้อมูลจากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายและเชื่อถือได้ ขั้นโต้แย้งในประเด็นทางสังคมที่เกี่ยวเนื่องกับวิทยาศาสตร์ ครูต้องเปลี่ยนบทบาทเป็นผู้ให้คำแนะนำ และใช้คำถามที่นักเรียนได้แสดงความเข้าใจและเหตุผล และขั้นสรุปการโต้แย้งในประเด็นทางสังคมที่เกี่ยวเนื่องกับวิทยาศาสตร์ ควรเปิดโอกาสให้นักเรียนมีส่วนร่วมและเขียนสรุปมโนทัศน์หลังจบกิจกรรม  2) มโนทัศน์ที่นักเรียนพัฒนาได้มากที่สุด คือ การถอดรหัส และมโนทัศน์ที่นักเรียนมีความเข้าใจสมบูรณ์มากที่สุด คือ เทคโนโลยีชีวภาพ (ร้อยละ 85.42) ส่วนมโนทัศน์ที่นักเรียนมีความเข้าใจคลาดเคลื่อนมากที่สุด คือ การแปลรหัส (ร้อยละ 11.11) 


Abstract


                This action research aims 1) to study the learning management by using scientific argumentation in socioscientific issues (SSI) and 2) to study the effect of learning management for enhancing genetic concepts comprising of  DNA replication, transcription, genetic code, translation, mutation, biotechnology and genetic engineering of grade 10 students. There are 24 participants who are high school curriculum in second semester of the year 2015. The collecting data analysed through reflective learning management and reflective diary enable to examine the perception of developing learning management. Furthermore, the collecting data related to the effect of learning management is gathered by student learning logs during studying and the test of 20 open-ended questions after completing the lesson. In addition, the concept understanding of students is segmented into groups and calculated the percentage.


                   The results of this research indicate that 1) the 4 steps of learning management by using scientific argumentation in SSI as follows: the first step is introduction to lesson study by using SSI. Teachers choose SSI which refers to scientific concept closing to students’ lives at present and Learning Medias applied in teaching technique might be appropriate for SSI in both positive and negative. Secondly, teachers explore students’ knowledge by using SSI; therefore, students might investigate various reliable resources in both positive and negative ways. Thirdly, teachers might discuss with students about SSI by providing them pieces of advice and asking them questions; thus, students enable to express their opinions and point-of-views. Finally, it is the conclusion step. Students might participate in discussion about SSI and summarise the concepts of its after completing the lesson, 2) the transcription is considered to be the most developing genetics concept among students. Moreover, students are able to completely understand biotechnology of the genetics concept as 85.42 percent and translation is considered to be the most misconception genetics concepts as 11.11 percent.

Article Details

How to Cite
Wipa Arsingsamanan ว. . อ. (2017). การวิจัยปฏิบัติการเพื่อพัฒนามโนทัศน์ เรื่อง พันธุศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้การโต้แย้งเชิงวิทยาศาสตร์ในประเด็นทางสังคมที่เกี่ยวเนื่องกับวิทยาศาสตร์; ; An Action Research for Enhancing Genetics Conception of Grade 1. SOCIAL SCIENCES RESEARCH AND ACADEMIC JOURNAL, 12(35), 87–100. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/JSSRA/article/view/56991
Section
Dissertations