การจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบบูรณาการเชิงเนื้อหาเพื่อส่งเสริมการรู้คณิตศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4; Content Integrated Learning Mathematics Activities for Enhancing Mathematical Literacy and Mathematics Achieveme

Main Article Content

กาญจนา จิตกังวัน Kanjana Jitkangwan

Abstract

บทคัดย่อ


                การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบบูรณาการเชิงเนื้อหา กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง จำนวนจริง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ตามเกณฑ์ 75/75  2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์และการรู้คณิตศาสตร์  กับเกณฑ์ร้อยละ 75 และ 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์และการรู้คณิตศาสตร์ระหว่างห้องเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการเชิงเนื้อหากับห้องเรียนที่เรียนแบบ สสวท. กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม  จำนวน 2 ห้อง 100 คนได้มาโดย การสุ่มแบบกลุ่ม  (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ คือ แผนการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ 2 รูปแบบ จำนวน 15 แผน แผนละ 50 นาทีแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจำนวน 30 ข้อมีค่าอำนาจจำแนกรายข้อ (B) ตั้งแต่ 0.23 -0.57 ค่าความยาก ตั้งแต่ 0.24 – 0.78 และมีความเที่ยงทั้งฉบับเท่ากับ 0.79 แบบทดสอบวัดการรู้คณิตศาสตร์จำนวน 15 ข้อมีค่าความยาก (P) ตั้งแต่ 0.30 - 0.80 และค่าอำนาจจำแนก (r) ตั้งแต่ 0.20 - 0.40 ค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.71 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและใช้ t-test และHotelling’s T2 (Dependent Samples)ในการทดสอบสมมุติฐาน


                ผลการวิจัยพบว่า  1) ผลการพัฒนากิจกรรมประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ 1. ขั้นนำ ผู้วิจัยตั้งโจทย์หรือประเด็นปัญหาให้นักเรียนได้ศึกษาค้นคว้าหาคำตอบ 2. ขั้นปฏิบัติ เป็นกิจกรรมกลุ่มที่ให้นักเรียนร่วมกันวางแผนศึกษาและค้นหาคำตอบเพื่อตอบโจทย์ที่ผู้วิจัยกำหนดให้ เป็นกิจกรรมที่ให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติ 3. ขั้นกิจกรรมสรุป เป็นขั้นนำเสนอผลงานกลุ่มแลกเปลี่ยนกับเพื่อนในห้องเรียนเป็นกิจกรรมที่ผู้วิจัยและนักเรียนร่วมกันสรุปว่าคำตอบที่ได้ถูกต้องหรือไม่นักเรียนจะได้ความคิดรวบยอดในขั้นตอนนี้ และ 4. ขั้นประเมินผล วัดผลการจัดการเรียนรู้ รายกลุ่มหรือรายบุคคล 
2) ประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบบูรณาการเชิงเนื้อหา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีค่าเท่ากับ 79.97/80.26  3) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบบูรณาการเชิงเนื้อหา มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด  4) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบบูรณาการเชิงเนื้อหา มีการรู้คณิตศาสตร์ ต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด  5) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบบูรณาการเชิงเนื้อหา มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการรู้คณิตศาสตร์สูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสสวท. อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


Abstract


                   The purposes of this research were to: 1) develop the content integrated learning Mathematics activities for tenth grade students with the 75/75 efficiency index, 2) to compare the content integrated learning achievement and mathematical literacy with 75 percentage and 3) to compare learning achievement between the content integrated learning and the IPST learning. The research sample are 100 students of tenth grade students who are studying in Wapipathum School, Mahasarakham. The instruments used in the research were 15 plans on the Real number between the integrated learning and the IPST learning, a 30-item 4-choice achievement test and the Mathematics literacy test. The statistics used for data analysis were percentage, mean and standard deviation. And dependent samples was employed for testing hypothesis.


                   The results of the research were as follows: 1. The integrated learning Mathematics activities for tenth grade students had efficiencies of 79.97/80.26  2. The students who using Content integrated learning mathematics activities had average rate of achievement is higher than a certain threshold.  3. The students who using Content integrated learning mathematics activities had average math score of mathematical literacy is below a certain threshold at the .01 level of significance.    4. The students who using Content integrated learning mathematics activities showed gains in learning achievement from before learning at the .01 level of significance.

Article Details

Section
Research Articles
Author Biography

กาญจนา จิตกังวัน Kanjana Jitkangwan, Mahasarakham University

หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม