การวิจัยและพัฒนาแบบวัดคุณลักษณะการเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาในศตวรรษที่ 21; The Research and Development of the Learning Person Characteristics in the 21st Century Scale for Secondary Students

Main Article Content

ปกรณ์ ประจันบาน Pakon Pajanbang

Abstract

การวิจัยนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาแบบวัดคุณลักษณะการเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาในศตวรรษที่ 21  กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับมัธยมศึกษาในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 39 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559  จำนวน 1,100 คน ซึ่งได้มาโดยใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน  เก็บรวบรวมข้อมูลโดยแบบวัดคุณลักษณะการเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาในศตวรรษที่ 21 จำนวน 1 ฉบับ  มีลักษณะเป็นแบบมาตรประมาณค่า  5 ระดับ จำนวน 97 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาความตรงเชิงเนื้อหาด้วยสูตร IOC ค่าอำนาจจำแนกด้วยสูตร Item Total Correlation
ค่าความเที่ยงด้วยสูตรสัมประสิทธิ์แอลฟา ความตรงเชิงโครงสร้างด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันแบบพหุระดับ (MCFA) และความตรงเชิงโครงสร้างและความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดลการวัดด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันแบบพหุระดับและพหุกลุ่ม (MMCFA) ผลการวิจัยพบว่า


                แบบวัดคุณลักษณะการเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาในศตวรรษที่ 21  ที่ได้จากการพัฒนามีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) จำแนกเป็น 4 องค์ประกอบ ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 ทักษะการเรียนรู้และการพัฒนาตนเอง  ประกอบด้วย 4 ตัวชี้วัด 17 พฤติกรรมบ่งชี้  และรายการวัดและประเมิน 29 ข้อ องค์ประกอบที่ 2 ทักษะการคิดและการแก้ปัญหา  ประกอบด้วย 3 ตัวชี้วัด 18 พฤติกรรมบ่งชี้  และรายการวัดและประเมิน 32 ข้อ องค์ประกอบที่ 3 ทักษะการสื่อสาร สื่อ และเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้  ประกอบด้วย 3 ตัวชี้วัด 15 พฤติกรรมบ่งชี้  และรายการวัดและประเมิน 18 ข้อ และองค์ประกอบที่ 4 ทักษะชีวิตและคุณลักษณะเพื่อการเรียนรู้ที่ยั่งยืน  ประกอบด้วย 2 ตัวชี้วัด 12 พฤติกรรมบ่งชี้  และรายการวัดและประเมิน 18 ข้อ แบบวัดได้ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน  5 คน มีความตรงเชิงเนื้อหาทุกข้อ (IOC ระหว่าง 0.6 - 1.0)  ผ่านการทดลองใช้กับนักเรียนเพื่อหาค่าอำนาจจำแนก ความตรงเชิงโครงสร้าง ความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดล และความเที่ยง พบว่า แบบวัดมีค่าอำนาจจำแนกตามเกณฑ์ทุกข้อ มีค่าระหว่าง .259 - .773 มีความตรงเชิงโครงสร้างทุกข้อ โมเดลการวัดไม่แปรเปลี่ยนระหว่างโรงเรียน 2 จังหวัด และแบบวัดแต่ละองค์ประกอบมีค่าความเที่ยงในระดับสูง มีค่าระหว่าง .935 ถึง .964


Abstract


This research study was to develop a 21st century learning person characteristic scale for secondary students. The 1,100 secondary students from the schools under the Secondary Educational Service Area Office 39 in semester 1, of 2016 academic year, were obtained as samples by multistage random sampling method. The developed test has 97 items of five levels rating scale. This test was developed and checked its quality through content validity, discrimination, reliability, the constructed validity and the invariance of the model were measured and analyzed by using IOC formula, Item total correlation formula, alpha coefficient formula, multilevel confirmatory factor analysis and multi-group multilevel confirmatory factor analysis, respectively.


                As a result, the developed 21st century learning person characteristic test was obtained. The developed test has five level rating scales of 4 elements, 12 indicators, 62 behavior indicators and 97 items in total. The content validity was approved by five experts, IOC 0.6 - 1.0. All the constructed validity was tested by students for discrimination, 0.259 - 0.773, construct validity, invariance of the model and reliability, showing that all the test items have validity. The invariance of the model between two provinces was identity. The components of instrument are shown the high reliability of 0.935 - 0.964

Article Details

How to Cite
Pakon Pajanbang ป. . ป. (2017). การวิจัยและพัฒนาแบบวัดคุณลักษณะการเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาในศตวรรษที่ 21; The Research and Development of the Learning Person Characteristics in the 21st Century Scale for Secondary Students. SOCIAL SCIENCES RESEARCH AND ACADEMIC JOURNAL, 12(35), 1–16. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/JSSRA/article/view/67810
Section
Research Articles