ศักยภาพของชุมชนท้องถิ่นในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในเขตวัดติโลกอาราม อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพของชุมชนท้องถิ่นในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในเขตวัดติโลกอารามกว๊านพะเยา อำเภอเมืองพะเยา เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชนในเขตจังหวัดพะเยาและนักท่องเที่ยวทั่วไปตั้งแต่อายุ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 384 คน โดยกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างตามตารางของเครจซีและมอร์แกน รวมถึงผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 8 รูป/คน การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา คือ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานสำหรับวิธีวิจัยเชิงปริมาณ และการวิเคราะห์เนื้อหา รวมถึงการจำแนกชนิดข้อมูลโดยการจัดระเบียบข้อมูล ตีความและสรุปผลการศึกษาสำหรับวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ
ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามเป็นเพศชาย 195 คน อายุ 21-30 ปี 127 คน สถานภาพโสด 182 คน การศึกษาระดับปริญญาตรี 116 คน นักเรียน/นักศึกษา 83 คน รายได้ต่ำกว่า 10,000 บาท 170 คน ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในภาคเหนือ 295 คน การศึกษาศักยภาพของชุมชนท้องถิ่นในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในเขตวัดติโลกอาราม มีความคิดเห็นทั้งสามด้าน อยู่ในระดับปานกลาง (=3.08) ถ้าพิจารณารายด้าน พบว่า 1) ด้านคุณค่า อยู่ในระดับปานกลาง (=3.27) 2) ด้านแหล่งท่องเที่ยวและการเข้าถึง อยู่ในระดับปานกลาง (=3.07) 3) ศักยภาพที่ชุมชนท้องถิ่นได้รับความช่วยเหลือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อยู่ในระดับปานกลาง (=2.91) องค์ความรู้จากการวิจัย คือ 1) ด้านพื้นฐานของนักท่องเที่ยวที่มีความหวงแหนและต้องการรักษาสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติของวัดติโลกอารามและรู้สึกพึงพอใจในด้านการเดินทางและสถานที่พักอาศัย 2) ด้านการรองรับ บริเวณวัดติโลกอารามมีกิจกรรมล่องเรือเวียนเทียนกลางน้ำในวันสำคัญทางศาสนา หน่วยงานต่าง ๆ อุดหนุนงบประมาณในการจัดกิจกรรม 3) ด้านปัจจัยสนับสนุน ควรติดต่อหน่วยงานทุกภาคส่วนให้ร่วมมือจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ 4) ด้านการส่งเสริม ควรจัดแสดงศิลปะพื้นบ้านบริเวณแหล่งท่องเที่ยววัดติโลกอาราม ซึ่งเหมาะแก่การประกอบกิจกรรมและการออกกำลังกาย
Article Details
References
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ. (2540). วิถีไทย: การท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม. กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์ พริ้นดิ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
ธีราภรณ์ นกแก้ว. (2556). การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ กรณีศึกษาตลาดน้ำวัดไทร กรุงเทพมหานคร. กรุงเทพมหานคร: วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2548). การพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน. กรุงเทพมหานคร: เพรส แอนด์ ดีไซน์.
พระครูพิศาลสรกิจ (สุทิน สุทิโน) และคณะ. (2563). การส่งเสริมและพัฒนาชุมชนรอบพื้นที่ป่าโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในลุ่มน้ำอิงตามแนวทางพระพุทธศาสนา. วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ. 5 (1), 70-84.
พระธรรมวิมลโมลี (ปวง ธมฺมปญฺญมหาเถร). (2542). ประวัติกว๊านพะเยา. เชียงราย: เชียงรายไพศาลการพิมพ์.
พัลลภ กฤตยานวัช. (2554). การอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม ที่อยู่อาศัย และย่านชุมชนที่มีคุณค่าทางศิลปะ สถาปัตยกรรมและประวัติศาสตร์ของชาติ. ธนาคารอาคารสงเคราะห์. 17 (66), 5-7.
พิฑูรย์ ทองฉิม และคณะ. (2556). ความต้องการการตลาดต้นแบบการท่องเที่ยวฟื้นประวัติศาสตร์ตามรอยพระพุทธเจ้าหลวงในจังหวัดสงขลา. การประชุมหาดใหญ่วิชาการ ครั้งที่ 4 เรื่องการวิจัยเพื่อพัฒนาสังคมไทย. มหาวิทยาลัยหาดใหญ่และสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. 10 พฤษภาคม. หน้า 59-64.
สุรเชษฎ์ เชษฐมาศ. (2539). การบริหารจัดการพื้นที่อนุรักษ์และการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ. กรุงเทพมหานคร: ม.ป.ท.
สุรศักดิ์ ศิลาวรรณา. (2552). การท่องเที่ยวและการเผยแพร่พระพุทธศาสนา บทบาทของวัดในเขตกรุงเทพมหานคร กรณีศึกษา วัดบวรนิเวศวิหารและวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม. สารนิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล