การบริหารงานบุคคลในโรงเรียนตามหลักสังคหวัตถุ 4
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้กล่าวถึงการบริหารงานบุคคลตามหลักวิชาการทางตะวันตกที่บูรณาการเข้ากับหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาในเรื่องหลักสังคหวัตถุ 4 ในทางตะวันตกการบริหารงานบุคคลแผนใหม่มี 12 ประการ และการบริหารงานบุคคลในโรงเรียนปัจจุบันมี 5 แนวคิด เมื่อนำแนวทางการบริหารงานบุคคลเหล่านี้มาประยุกต์ใช้กับหลักสังคหวัตถุ 4 พบว่า หลักการบริหารงานบุคคลทางตะวันตกมีลักษณะสอดคล้องกับกรอบแนวคิดหลักสังคหวัตถุ 4 ที่ทำให้เกิดรูปแบบการบริหารงานบุคคลที่เป็นองค์ความรู้ใหม่ที่เรียกว่า SPS Model ซึ่งมีความหมาย ดังนี้ 1) S หมายถึง Sangahavatthu (S1) หรือหลักสังคหวัตถุ 4 เป็นหลักธรรมยึดเหนี่ยวน้ำใจของกันและกัน 2) P หมายถึง Personnel Administration หรือการบริหารงานบุคคลในโรงเรียนปัจจุบันทั้ง 5 แนวคิด และ 3) S หมายถึง School Administration (S2) หรือหลักการบริหารโรงเรียน ในที่นี้เน้นเฉพาะการบริหารงานบุคคลตามแผนใหม่ 12 ประการ ความสัมพันธ์กันระหว่าง SPS Model มีดังนี้ 1) ทาน (S1) หมายถึง การให้โอกาสแก่ทุกฝ่ายในการแสดงความรู้ความสามารถอย่างยุติธรรม สอดคล้องกับการวางแผนอัตรากำลังและการกำหนดตำแหน่ง และการสรรหาและการบรรจุแต่งตั้ง (P) และสอดคล้องกับหลักความเสมอภาค หลักแห่งความเหมาะสม หลักความยุติธรรม (S2) 2) ปิยวาจา (S1) หมายถึง การสร้างมนุษยสัมพันธ์ด้วยการเจรจา สอดคล้องกับการเสริมสร้างประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ (P) และสอดคล้องกับหลักมนุษยสัมพันธ์ (S2) 3) อัตถจริยา (S1) หมายถึง การเสริมสร้างประโยชน์ของโรงเรียนเพื่อให้เกิดการพัฒนาคุณภาพในทุก ๆ ด้าน สอดคล้องกับการเสริมสร้างประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ และการออกจากราชการ (P) และสอดคล้องกับหลักสวัสดิการในการทำงาน หลักความสามารถ หลักการศึกษาวิจัย และหลักการพัฒนาองค์การ (S2) และ 4) สมานัตตตา (S1) หมายถึง การรักษาและบังคับใช้กฎ ระเบียบ ข้อบังคับอย่างเท่าเทียมกัน สอดคล้องกับวินัยและการรักษาวินัย และการออกจากราชการ (P) และสอดคล้องกับหลักแห่งความมั่นคง หลักเสริมสร้างและหลักประสิทธิภาพในการทำงาน (S2)
Article Details
References
กรมวิชาการ. (2545). แนวทางปฏิรูปการศึกษา พ.ศ. 2545. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภา.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). คู่มือการบริหารโรงเรียนขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคล. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2547). พระราชบัญญัติข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 สำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภา.
บรรยงค์ โตจินดา. (2546). การบริหารงานบุคคล, พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: อมรการพิมพ์.
พยอม วงศ์สารศรี. (2552). การบริหารงานบุคคล. กรุงเทพมหานคร: พรานนกการพิมพ์.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2548). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม, พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาบุญมี มาลาวชิโร. (2551). ธรรมใจ. กรุงเทพมหานคร: ดีเอ็มจี.
เพ็ญศรี วายวานนท์. (2554). ประมวลคำจำกัดความของคำว่าการบริหารงานบุคคล. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สำนักทำเนียบนายกรัฐมนตรี.
ภิญโญ สาธร. (2552). หลักการบริหารการศึกษา, พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม 11. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลกรณราชวิทยาลัย.
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2540). การบริหารงานบุคคลในโรงเรียน. นนทบุรี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2546). เอกสารการเรียนการสอนชุดวิชาการบริหารงานบุคคล. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สมพงษ์ เกษมสิน. (2546). การบริหาร, พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช.
สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ. (2541). แนวทางการดำเนินการของผู้บริหารในโรงเรียนประถมศึกษา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2547). เอกสารประกอบการศึกษาด้วยตนเอง หลักสูตรผู้ช่วยผู้บริหารสถานศึกษาและผู้บริหารสถานศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. (2548). พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
Flippo, E. B. (1991). Principles of Personnel Management, 3rd ed. Tokyo: McGraw-Hill.