สะท้อนคิดจากการเป็นที่ปรึกษาดุษฎีนิพนธ์เรื่องบทบาทพระสงฆ์กับการอนุรักษ์ประเพณีแข่งเรือยาวจังหวัดพิจิตร

Main Article Content

มัลลิกา ภูมะธน
พระปลัดระพิน พุทฺธิสาโร
ดิเรก ด้วงลอย

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงบทบาทพระสงฆ์กับการอนุรักษ์เรือยาวในเขตจังหวัดพิจิตร โดยใช้วิธีการศึกษาจากเอกสาร งานวิจัย การสัมภาษณ์ จากนั้น ได้เขียนในรูปแบบความเรียงแล้วนำเสนอผลการศึกษา โดยพบว่า 1) ในเขตจังหวัดพิจิตรยังมีบทบาทในการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม โดยเฉพาะการแข่งเรือยาวที่มีพระสงฆ์เป็นผู้นำ มีวัดเป็นศูนย์กลางในการทำกิจกรรม 2) รูปแบบหรือการส่งเสริมการอนุรักษ์เป็นไปในรูปแบบของการสนับสนุนทุน งบประมาณ สถานที่และการจัดการแข่งขัน โดยมีเป้าหมายเป็นการเป็นรักษา อนุรักษ์ ให้คงอยู่ เป็นเอกลักษณ์และอัตลักษณ์ของพื้นถิ่น องค์ความรู้ใหม่จากการศึกษาครั้งนี้พบว่า พระสงฆ์มีบทบาทต่อการอนุรักษ์ประเพณีแข่งเรือยาวในจังหวัดพิจิตรร่วมกับชุมชนและหน่วยงานภาครัฐ ตั้งแต่อดีตเนื่องกระทั่งปัจจุบัน

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กฤษณา รังสิโย. (2556). การจัดการเรือพื้นบ้านในฐานะทรัพยากรวัฒนธรรม จังหวัดอ่างทอง. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

นวมณฑ์ อุดมรัตน์. (2558). การศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์ประเพณีตักบาตรพระร้อยทางเรือ: กรณีศึกษาชุมชนเลียบคลองมอญ แขวงทับยาว เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 10 (2), 301-310.

พระครูพิจิตรวรเวท. (2563). เจ้าอาวาสวัดท่าฬ่อ จังหวัดพิจิตร. สัมภาษณ์. 4 เมษายน.

พระครูพิจิตรวรเวท. (2564). บทบาทพระสงฆ์กับการอนุรักษ์ประเพณีแข่งเรือยาว จังหวัดพิจิตร. ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระศรีรัชมงคลบัณฑิต. (2555). ลักษณะการอนุรักษ์ประเพณีการแข่งเรือยาวเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของประชาชน อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารสถาบันวิจัยญาณสังวร มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย. 3 (1), 1-10.

พระสมุห์ข้วน รกฺขิตวํโส และคณะ. (2561). บทบาทของพระสงฆ์ต่อการอนุรักษ์ประเพณีแข่งเรือยาววัดบางหยี อําเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา. วารสารสังคมศาสตร์และวัฒนธรรม. 2 (2), 21-25.

พระอธิการวิน ทีปธมฺโม (อิ่มใจ). (2556). บทบาทของพระสงฆ์ต่อการอนุรักษ์ประเพณีการแข่งเรือยาว วัดท่าหลวง อําเภอเมือง จังหวัดพิจิตร. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ภาณุพงศ์ อุดมศิลป์. (2557). ประเพณีส่วงเฮือชายฝั่งลุ่มน้ำโขง: บทบาทดั้งเดิมและการปรับเปลี่ยนตามนโยบายของรัฐชาติ. วารสารมนุษย์ศาสตร์วิชาการ คณะมนุษย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 21 (2), 77-94.

รัตนา จันทร์เทาว์. (2559). พลวัตของบทบาทหน้าที่ประเพณีการแข่งเรือยาวในภาคอีสาน. วารสารมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์. 33 (3), 115-134.

วรานิษฐ์ ลำใย และเชษฐ รัชดาพรรณาธิกุล. (2561). รูปแบบการแข่งเรือปลอดเหล้าในจังหวัดน่าน. วารสารคุณภาพชีวิตกับกฎหมาย. 14 (2), 66-76.

สุพรรณี เกลื่อนกลาด. (2556). โครงการศึกษาการพนันกับการแข่งเรือยาวประเพณี. วารสารบัณฑิตศึกษา มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์. 2 (2), 89-96.

สำราญ ท้าวเงิน และประยูร ลิ้มสุข. (2561). การจัดการความรู้ความหลากหลายทางภาษาและวัฒนธรรมของจังหวัดพิจิตร. วารสารบัณฑิตพัฒนสาร มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. 5 (1), 1-19.

อัจฉรา สุทธิสนธ์ และคณะ. (2561). การพัฒนาศิลปะการแสดงจากประเพณีการแข่งขันเรือยาวบ้านจานเตยตำบลทุ่งกุลา อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์. 20 (1), 135-146.

Bascom, W. R. (1965 ). Four Functions of Folklore. In Alan Dundes (ed.). The Study of Folklore. (pp. 279-298). Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice Hall, Inc.