วัฒนธรรมชุมชนกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน

Main Article Content

ศิลาวัฒน์ ชัยวงศ์
ณัฐนนท์ จิรกิจนิมิต
มุกรวี ฉิมพะเนาว์

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอวัฒนธรรมชุมชนเพื่อสะท้อนให้เห็นบทบาทของมิติทางด้านวัฒนธรรมที่นำไปสู่การแก้ไขปัญหาการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยนำแนวคิดของวัฒนธรรมชุมชนมาเป็นกรอบในการอธิบาย ซึ่งแบ่งช่วงการเกิดวัฒนธรรมชุมชนได้ 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ยุคก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ระยะที่ 2 ยุคหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475-2500 ระยะที่ 3 ยุคการก่อรูปของแนวคิดวัฒนธรรมชุมชนทศวรรษที่ 2520-2540 และระยะที่ 4 ยุคแนวคิดเศรษฐกิจและวัฒนธรรมชุมชนในฐานะแนวคิดคู่ขนานของการทำให้ทันสมัย แนวคิดวัฒนธรรมชุมชนเป็นทรัพยากรอันมีค่าของสังคม รัฐควรลดบทบาทและปรับปรุงวัฒนธรรมพื้นบ้านโดยการเพิ่มบทบาทของศาสนาและนำวัฒนธรรมสากลเข้ามาผสม อันเป็นการพัฒนาที่สมบูรณ์ทั้งทางด้านจิตใจ ชีวิตชุมชนและความสมดุลของสิ่งแวดล้อม องค์ประกอบวัฒนธรรมชุมชน ได้แก่ การสร้างสรรค์เทคโนโลยีพื้นบ้าน ความเชื่อมั่นในศักยภาพและภูมิปัญญาชาวบ้าน ซึ่งทำให้ชาวบ้านอยู่อย่างมีความสุขและมีการพัฒนาอย่างยั่งยืน การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจแบบทุนนิยมเป็นหลักการพัฒนาที่ไม่ได้ตั้งอยู่บนพื้นฐานของการพึ่งตนเอง แต่ต้องพึ่งต่างประเทศเป็นหลัก รวมทั้งเป็นการพัฒนาที่ขาดการมีส่วนร่วมจากประชาชน ทำให้ประสบปัญหาการพัฒนาที่ไม่ยั่งยืนและไม่สมดุล ส่งผลกระทบทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม จึงมีการทบทวนแนวทางที่จะก่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 รวมถึงการพัฒนาตามแนวคิดวัฒนธรรมชุมชน การฟื้นฟูวิถีการผลิตแบบเศรษฐกิจพึ่งตนเอง อันจะทำให้ชุมชนดำรงอยู่อย่างอิสระและต้านทานอิทธิพลจากภายนอกที่จะเข้ามาครอบงำ รวมถึงต่อต้านต่อสู้อำนาจรัฐที่พยายามเข้ามาแทรกแซงหรือดึงทรัพยากรและผลผลิตไปจากชุมชน สิ่งเหล่านี้เป็นพลังสำคัญที่เสริมความเข้มแข็งในระดับชุมชนและระดับชาติ องค์ความรู้ใหม่ คือ ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ชุมชนเข้มแข็งได้ต้องอาศัยวัฒนธรรมในฐานะเป็นเครื่องมือสร้างความเข้มแข็งของชุมชน โดยใช้รูปแบบของหลักของความเอื้ออาทร การปฏิบัติตามขนบธรรมเนียมประเพณีและเรียนรู้ร่วมกันในภูมิปัญญาของคนในแต่ละชุมชน นำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดความเชื่อมั่นในศักยภาพของชุมชน ก่อให้เกิดความสุข พัฒนาอย่างยั่งยืน

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

โกวิทย์ พวงงาม. (2553). การจัดการตนเองของชุมชนและท้องถิ่น. กรุงเทพมหานคร: บพิธการพิมพ์.

ฉัตรทิพย์ นาถสุภา และพรพิไล เลิศวิชา. (2538). วัฒนธรรมหมู่บ้านไทย. กรุงเทพมหานคร: สร้างสรรค์.

ฉัตรทิพย์ นาถสุภา. (2547). ความเป็นมาและแนวคิดสำคัญของวัฒนธรรมชุมชน. กรุงเทพมหานคร: สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน.

ฉัตรทิพย์ นาถสุภา. (2548). แนวคิดเศรษฐกิจชุมชน: ข้อเสนอทางทฤษฎีในบริบทต่างสังคม. กรุงเทพมหานคร: สร้างสรรค์.

บำรุง บุญปัญญา. (2549). แนวคิดวัฒนธรรมชุมชนในการพัฒนา. ใน สนั่น ชูสกุล. (บรรณาธิการ). 3 ทศวรรษแนวคิดวัฒนธรรมชุมชน. (หน้า155-156). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์เดือนตุลา.

ประเวศ วะสี. (2530). พุทธเกษตรกับศานติสุขของสังคมไทย. กรุงเทพมหานคร: หมอชาวบ้าน.

ยุกติ มุกดาวิจิตร. (2538). การก่อตัวของกระแสวัฒนธรรมชุมชนในสังคมไทย: พ.ศ. 2520-2537. วิทยานิพนธ์ปริญญาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ยุกติ มุกดาวิจิตร. (2548). อ่าน “วัฒนธรรมชุมชน” วาทศิลป์และการเมืองของชาติพันธ์นิพนธ์แนววัฒนธรรมชุมชน. กรุงเทพมหานคร: ฟ้าเดียวกัน.

สุรเชษฐ เวชชพิทักษ์. (2533). รากฐานแห่งชีวิต: วัฒนธรรมชนบทกับการพัฒนา. กรุงเทพมหานคร: หมู่บ้าน.

สุรวุฒิ ปัดไธสง. (2545). วัฒนธรรมชุมชน: เงื่อนไขความเข้มแข็งของชุมชน/หมู่บ้าน. พฤติกรรมศาสตร์. 8 (1), 11-20.

อานันท์ กาญจนพันธุ์. (2543). พลวัตของชุมชนในการจัดการทรัพยากร: กระบวนทัศน์และนโยบาย. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

Murdock, P. G. (2012). Social Structure. Oxford: Macmillan Social Structure.

Selman, P. (2004). Community Participation in the Planning and Management of Cultural Landscapes. Journal of Environmental Planning and Management. 47 (3), 365-392.