มองความเปลี่ยนแปลงของสังคมและเศรษฐกิจผ่านท่าข้าม บ้านท่าขอนยาง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม ในช่วงปี พ.ศ. 2388-2536
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มุ่งสนใจศึกษาความเป็นมาและความสำคัญของท่าข้ามโดยใช้วิธีศึกษาจากคำสัมภาษณ์และเอกสารเป็นประวัติศาสตร์จากคำบอกเล่า รวมทั้งอิทธิพลที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงสังคมชุมชนบ้านท่าขอนยาง จากผลการศึกษาพบว่า ท่าข้ามในบ้านท่าขอนยางเกิดขึ้นเอง เป็นร่องลึกตามธรรมชาติ เริ่มใช้มาราวปี พ.ศ. 2388 ภายหลังการอพยพมาตั้งถิ่นฐานของชาวญ้อที่นำมาโดยพระคำก้อน จากเมืองคำเกิด แขวงเมืองหลวงพระบางและได้ตั้งบ้านเรือนที่บ้านท่าขอนยาง โดยขึ้นต่อเมืองกาฬสินธุ์ เป็นท่าที่ใช้ข้ามแม่น้ำชีโดยการใช้เรือแพข้ามฟากในอดีต ก่อนที่จะมีสะพานในเวลาต่อมา การบริการของเรือแพจะมีอยู่มากซึ่งเป็นกิจการของนายฮ้อยคำที่พาคนหรือบรรทุกสัมภาระข้ามฟาก ท่าข้ามมีความสำคัญ ดังนี้ 1) ในฐานะเป็นท่าเศรษฐกิจการค้าข้าว 2) เป็นสถานที่ข้ามน้ำเพียงแห่งเดียวในพื้นที่ที่ผู้คนใช้ข้ามลำน้ำชี 3) ท่าข้ามก่อให้เกิดอาชีพในชุมชนทำให้ผู้คนในที่ใช้ชีวิตอยู่กับท่าข้ามให้มีรายได้ 4) ท่าข้ามทำให้ผู้คนสามารถข้ามไปมาติดต่อค้าขายหรือเยี่ยมเยือนกันได้ องค์ความรู้ใหม่จากการศึกษาพบว่า 1) ด้านเศรษฐกิจ เป็นท่าค้าขายข้าวในอดีตในแถบแม่ลำน้ำชี 2) ด้านอาชีพ การก่อเกิดอาชีพในชุมชนและการสร้างรายได้ของชุมชนสมัยดั้งเดิม 3) ด้านสังคมชุมชนและวิถีชีวิต เป็นท่าที่มีอิทธิพลต่อสภาพสังคมในชุมชนบ้านท่าขอนยางในการดำเนินชีวิตด้วยการสัญจรทางเรือเป็นหลัก
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
จินดา เนื่องวรรณะ. (2564). บ้านท่าขอนยาง ตำบลท่าขอนยาง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม. สัมภาษณ์. 28 กรกฎาคม.
ฉวีวรรณ พวงศรี. (2564). บ้านท่าขอนยาง ตำบลท่าขอนยาง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม. สัมภาษณ์. 28 กรกฎาคม.
ณรงค์ฤทธิ์ สุมาลี. (2548). ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจและสังคมของชุมชนท้องถิ่นลุ่มน้ำชีตอนกลาง: เศรษฐกิจภาคข้าวการค้าข้าวเรือและสังคมชาวนาในกระแสการเปลี่ยนแปลง. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ดำเนิน เนื่องวรรณะ. (2564). บ้านท่าขอนยาง ตำบลท่าขอนยาง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม. สัมภาษณ์. 12 สิงหาคม.
ถาวร สุวรรณภักดี. (2564). บ้านท่าขอนยาง ตำบลท่าขอนยาง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม. สัมภาษณ์. 28 กรกฏาคม.
บุญยงค์ เกศเทศ. (2534). วัฒนธรรมชาวไทยย้อ ศึกษากรณีบ้านท่าขอนยาง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัด มหาสารคาม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม.
ประตูสู่อีสาน. (16 สิงหาคม 2563). ภาพเก่าเล่าเรื่อง "มหาสารคามในอดีต". สืบค้นเมื่อ 9 กันยายน 2564, จาก https://www.isangate.com/new/oldies-images/721-oldiemahasarakam.html
มูลนิธิโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ. (2559). สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 39. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ.