ชุมชนโคกพระ: พัฒนาการค้าหม้อดินเผาและการสูญหายของภูมิปัญญาท้องถิ่นในช่วงทศวรรษที่ 2480-2560

Main Article Content

กชกร อ่อนท้าว
ผาติรัตน์ สานสืบพันธุ์
ธนธรณ์ เทศไธสง

บทคัดย่อ

บทความนี้ต้องการศึกษาพัฒนาการการค้าหม้อของคนในชุมชนโคกพระและปัจจัยที่ส่งผลให้ชุมชนโคกพระเลิกผลิตหม้อดินเผา การศึกษาใช้วิธีการศึกษาแบบประวัติศาสตร์บอกจากคำเล่าเป็นหลักในการศึกษา ผลของการศึกษาพบว่า ช่วงทศวรรษที่ 2480-2500 คนในชุมชนผลิตหม้อขายเป็นกิจกรรมรองหลังจากแล้วเสร็จการทำเกษตรกรรม โดยใช้เกวียนเป็นพาหนะในการค้าเร่ ต่อมาช่วงทศวรรษที่ 2501-2530 คนในชุมชนได้ใช้รถล้อเป็นพาหนะก่อนปรับเปลี่ยนเป็นรถจักรยานยนต์ ส่งผลให้ต้นทุนสูงขึ้นและผลิตมากขึ้นตามต้นทุนที่สูง เป็นช่วงของการผลิตที่มีความเข้มข้นสูง และช่วงทศวรรษที่ 2531-2560 คนในชุนชนออกไปขายแรงงานมากขึ้น ส่งผลให้ขาดแรงงานในชุมชน ประกอบกับแหล่งวัตถุดิบเลิกขายดินให้ปั้นหม้อ ในที่สุดการปั้นหม้อดินของชุมชนโคกพระจึงทยอยเลิกผลิตหม้อและหม้อดินก็ถูกแทนที่ด้วยหม้อสแตนเลส องค์ความรู้ใหม่ คือ คนในชุมชนมีความพยายามในการปรับตัวเข้าสู่ยุคสมัยที่มีความเปลี่ยนแปลง โดยแบ่งออกเป็น 3 ช่วง ได้แก่ 1. ยุคที่หนึ่ง ทศวรรษที่ 2480-2500 ชุมชนปรับตัวมาค้าเร่ผ่านเกวียน 2. ยุคที่สอง ทศวรรษที่ 2501-2530 คนในชุมชนปรับจากใช้เกวียนมาใช้รถล้อ ก่อนจะปรับเป็นรถจักยานยนต์ 3. ยุคที่สาม ทศวรรษที่ 2531-2560 การขาดแคลนแรงงาน และการเข้ามาของกลุ่มทุนจากภายนอกที่เข้ามาทำบ่อเกลือ คนในชุมชนจึงเปลี่ยนไปรับจ้างต้มเกลือเพื่อหารายได้ทดแทนการขายหม้อ

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

ทองจันทร์ เหล่าเคน. (2564). ชาวบ้านคุ้มหนองแวง ตำบลโคกพระ อำเภอกันทรวิชัย มหาสารคาม. สัมภาษณ์. 7 สิงหาคม.

ทองมาก เหล่าจันทร์. (2564). ชาวบ้านคุ้มหนองแวง ตำบลโคกพระ อำเภอกันทรวิชัย มหาสารคาม. สัมภาษณ์. 25 สิงหาคม.

ใบ บุญถม. (2564). ชาวบ้านคุ้มหนองแวง ตำบลโคกพระ อำเภอกันทรวิชัย มหาสารคาม. สัมภาษณ์. 20 สิงหาคม.

ปั่น บำรุง. (2564). ชาวบ้านคุ้มหนองแวง ตำบลโคกพระ อำเภอกันทรวิชัย มหาสารคาม. สัมภาษณ์. 20 สิงหาคม.

ผาติรัตน์ สานสืบพันธุ์. (2564). ข้อมูลภาคสนาม. 20 สิงหาคม.

พิกุล เหล่าเมือง. (2564). ชาวบ้านคุ้มหนองแวง ตำบลโคกพระ อำเภอกันทรวิชัย มหาสารคาม. สัมภาษณ์. 11 สิงหาคม.

พิเนตร ดาวเรือง. (2552). กระบวนการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นอย่างมีส่วนร่วมเพื่อจัดการพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดพุทธมงคล ตำบลคันธารราษฏร์ อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

มนตรี โคตรคันทา (2). (16 สิงหาคม 2563). ภาพเก่าเล่าเรื่อง "มหาสารคาม". สืบค้นเมื่อ 12 กันยายน 2564, จาก https://www.isangate.com/new/oldies-images/778-oldies-mahasarakam-2.html

ยศพร บรรเทิงสุข. (2556). การวิจัยแนวทางการอนุรักษ์ภูมิปัญญาเครื่องปั้นดินเผาแบบดั้งเดิม โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่นที่ชุมชนบ้านหม้อ ตำบลเขวา อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

อัจฉรี จันทมูล และบุญชู ศรีเวียงยา. (2550). การศึกษาสภาพและรูปแบบการพัฒนากรรมวิธีในการผลิตขนมจีน: กรณีศึกษาบ้านโคกพระ อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม. รายงานการวิจัย. สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.